แค่การรับฟัง ก็เป็นการเยียวยาที่ดี


 "แค่ฟังก็เป็น dose ที่พอเหมาะ"


 เป็นคำสอนของท่านอาจารย์หมอท่านหนึ่ง ที่ท่านสอนผม  ในการเยียวยาผู้ป่วย  ที่เขามาตรวจ

 หลายครั้งในเวชปฏิบัติ  คนไข้เกินครึ่งมักเดินมาตรวจด้วยอาการทางกาย  อันเป็นอาการที่ไม่มาก

 และไม่จำเพาะเจาะจง  บางครั้งก็เป็นซ้ำๆ  จนอาจจะทำให้เรารู้สึกอึดอัดที่จะรักษาเขา หากมองแค่ว่ากายปกติ

         จากที่ได้มีประสบการณ์ในการทำงานมาสักระยะ  หลังการเรียนกับอาจารย์ในหลักสูตรสั้นๆ

 ด้วยความที่ท่านสอนได้ประทับใจ  การเรียนเน้นที่ผู้ป่วยจริง เรื่องเล่า และเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ท่านจริงๆ

 ทำให้ผู้เรียนได้มองเห็นภาพที่ชัดเจน  รวมทั้งการเอาประสบการณ์ผู้ป่วยที่ตนเองทำงานมาแบ่งปัน ทำให้ได้เข้าใจ

 ประเด็น ปัญหา ช่องว่าง  ที่เกิดขึ้น ระหว่างการดูแลแค่กาย แตะเข้าไปที่ใจนิดๆ

      แต่เมื่อเรียนรู้หลักการ แนวคิดที่อาจารย์สอน  เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมแล้ว   ทำให้่ผู้เรียน ทั้ง หมอ พยาบาล  เจ้าหน้าที่อนามัย  เกิดความเข้าใจว่าที่เราดูแลมานั้น  มันยังไม่ครบถ้วนดี  เรามองเขาไม่ลึกซึ้ง  มองคนไข้เค่เพียงกายของเขา  ยังไม่มีความรู้ ในการที่จะมองและถามให้ลึกซึ้ง ไม่รู้เครื่องมือ ประเด็นในการดูแลแบบครอบครัว


            เมื่อได้นำหลักการเวช.ครอบครัวมาใช้ช่วงแรกๆนั้น อาจจะดูเคอะเขิน  ไม่คล่อง เพราะเป็นสิ่งที่เราเองไม่ค่อยคุ้นชิน  เวลาที่พูดคุยกับเขาอาจจะไม่ไหลลื่น  และทักษะของเรานั้นกำลังเริ่มฝึก  แม้ว่าจริงๆเหมือนเราจะฟังเขามากพอแล้ว  แต่เมื่อไปเรียนกับอาจารย์  สิ่งที่เราทำนั้น แค่เพียง20-30 %  ของสิ่งที่ควรทำเท่านั้นเอง  โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เขา อาจจะมีปัญญาซ่อนอยู่ลึกๆในใจ

         กลุ่มผู้ป่วยที่พบมาก และต้องการการดูแลแบบองค์รวม คือ

          - มาด้วยปวดหัว นอนไม่หลับ         - เวียนหัว           - ใจสั่น         - แน่นอก หายใจแน่นๆ

         - เจ็บชายโครง    เจ็บอก                - ปวดหลังเรื้อรัง          - กลุ่ม multiple complaint

         - อาการกลัวว่าจะเป็นโรคนั้นโรคนี้


  ในเวชปฏิบัติทั่วไป  หากคนไข้ไม่มาก การที่ได้พบคนไข้กลุ่มนี้  หากไม่ได้ให้เวลาเขาในการที่จะทำความเข้าใจ

 ชีวิต ปัญหา เขาและครอบครัว  โดยการฟังอย่างลึกซึ้ง  ฟังด้วยความเห็นใจ  เข้าใจในสภาพ สภาวะทุกข์ของเขา

 โดยที่เราอาจจะยังไม่ไต้องไปสอนและแนะนำอะไรเขามากๆ   ผ่านหลักการ ทักษะแบบ เวช.ครอบครัว

   โดยการนำเครื่องมือ  ทางเวชศาสตร์ครอบครัวมาใช้   เช่น การสื่อสาร   genogram  เป็นต้น  

   อีกประเด็นสำคัญคือ ความเข้าใจ  ความรู้ในประเด็นสุขภาพ  ช่วงต่างๆของวัย  และกลุ่มโรค  เช่น สุขภาพวัยต่างๆ

   สุขภาพของกลุ่มผู้ป่วย จิตเวช  ผู้พิการ  ผู้สูงอายุ  ผู้ป่วยเรื้อรัง เ็ป็นต้น


                          หลายๆครั้งในการพบคนไข้กลุ่มนี้ครั้งแรก  เมื่อเราตรวจร่ายกายละเอียดและวินิจฉัยแยกโรคทางกายไปแล้ว  ก็จะค่อยๆฟังผู้ป่วย  บ่อยครั้งที่เขาอาจจะบอกเราเองตรงๆ  แต่เกินครึ่งที่อาจจะไม่ได้บอกเรา  หรือว่าเขาเองอาจจะไม่ร฿ู้ตัวด้วยซ้ำ  ว่าตนเองกำลังทุกข์จากเรื่องอะไร

     จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปความทุกข์ของคนไข้ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของเขาและครอบครัว

         1. ครอบครัว สามีที่ติดสุรา

         2. ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเรื้อรัง  ผู้พิการ  เด็กป่วย

         3. ครอบครัว ที่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ในครอบครัว  พ่อลูก  สามีภรรยา  พี่น้อง

         4.ครอบครัวที่มีปัญหาทางรายได้ การเงิน ฐานะ

         5. ครอบครัวที่สูญเสียคนรัก คนในครอบครัว

 เมื่อได้เรียนรู้ที่จะรับฟัง  เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจกับปัญหาองค์รวม และปัญหาที่สำคัญของเขา

 และได้ติดตาม ประเมิน ก็พบว่า  เกือบครึ่งของผู้ป่วยที่ปัญหาของเขาได้รับความเข้าใจ และการเยียวยา

ผ่านกระบวนการดูแลแบบองค์รวม  ทั้งการเยี่ยมบ้าน  การทำครอบครัวบำบัด  การให้คำปรึกษา และจิตบำบัด


              แบ่งปันเรื่องราวเล็กๆ ในการดูแลคนไข้ครับ....

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 510705เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2012 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

ใช่แล้วค่ะ .... แค่ฟัง....อย่างตั้งใจ   คือ การเยียวยา  ที่ดีอย่างหนึ่่ง นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท