รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


เผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจใฝ่เรียนใฝ่รู้

รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง....ของครูอ้อย แซ่เฮ

บทนำ

รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้  ข้าพเจ้าได้ศึกษากรอบหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ  และได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา เอกสาร บทความ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในหน่วยการเรียนรู้ ตามแนวทางของหลักสูตรพัฒนาโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูเชี่ยวชาญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน 

1. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินหลักสูตร
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้4. เทคนิคการให้คำปรึกษาทางวิชาการ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ

1. การพัฒนาภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. การสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 
3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 

ส่วนที่ 2 การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูเชี่ยวชาญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 

1. การพัฒนาจิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรม ที่สร้างเสริมความเป็นครูต้นแบบ2. วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 

1. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้
2. กลยุทธ์การวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน3. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูเชี่ยวชาญ 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
1. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินหลักสูตร
                     การวิเคราะห์หลักสูตร หมายถึง Analysis เป็นการแยกแยะองค์ประกอบย่อยของหลักสูตร เพื่อให้มีความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมการเรียนรู้  ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของหลักสูตรในแต่ละวิชา เป็นการเชื่อมโยงจุดประสงค์รายวิชากับเนื้อหาวิชา มีการกำหนดสัดส่วนน้ำหนักความสำคัญของเนื้อหาและพฤติกรรมอันพึงประสงค์ในการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระนั้น ครูต้องนำมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่นของเขตพื้นที่ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้  รวมทั้งหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ได้เพิ่มสาระการเรียนรู้  หลักสูตร Mini English Program พร้อมทั้งการบริหารวิชาการที่เพิ่มห้องเรียนศักยภาพ  รายละเอียดย่อยๆจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
                    การสังเคราะห์หลักสูตร  หมายถึง  Synthesis เป็นการรวบรวมรายละเอียดของหลักสูตร ในส่วนที่เหมือนกัน  หรือระบบเดียวกัน  สิ่งที่นำมาจัดการได้แก่  องค์ประกอบต่างๆของหลักสูตร  เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาและพฤติกรรม  พฤติกรรมอันพึงประสงค์ มาตรฐาน ตัวชี้วัด  สาระแกนกลาง กรอบสาระท้องถิ่น  สมรรถนะที่สำคัญ  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  นำมาสังเคราะห์ตามรูปแบบขั้นตอนมีดังนี้ 1. กำหนดประเด็น 2.  ตรวจสอบหาข้อมูล 3. จำแนกประเด็น  4.  จำแนกและสังเคราะห์กิจกรรมตามประเด็นที่กำหนด 
5. สรุปข้อความรู้ สะท้อนความคิดและนำมาเขียนรายงาน
                   การประเมินหลักสูตร หมายถึง  Evaluation เป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพของหลักสูตร การประเมินหลักสูตรจะทำให้รู้คุณภาพของหลักสูตร  สามารถนำไปใช้ได้ดี  ผลที่ได้จากการใช้หลักสูตร  ข้อมูลที่ได้จาการประเมินหลักสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพสูงขึ้น  อันจะเป็นผลในการนำหลักสูตรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
  ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้น ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการจัดการศึกษาที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ คือผู้เรียนจะต้องเกิด
กระบวนการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นการทำวิจัยในชั้นเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนมีความจำเป็นจะต้องบูรณาการการวิจัยเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนพร้อมนำระเบียบวิธีวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้  อีกทั้งนำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแก้ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย 

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ได้กำหนดให้นำการวิจัยมาใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งให้ผู้สอนสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ วางแผนแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ พัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่นำไปสู่คุณภาพการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถนำกระบวนการวิจัยมาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ ด้วยการใช้เทคนิควิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนจากการวิเคราะห์ปัญหา สร้างแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดำเนินการตามแนวทางที่เลือก และสรุปผลการแก้ไขปัญหาอันเป็นการฝึกทักษะ ฝึกกระบวนการคิด ฝึกการจัดการจากการเผชิญสภาพการณ์จริง และปรับประยุกต์มวลประสบการณ์มาใช้แก้ไขปัญหาการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นการวิจัยในชั้นเรียนที่ผลของการวิจัยเป็นรูปธรรม ใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาและพัฒนางานได้ เรียกว่า การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ 1) กำหนดปัญหา 2) วิเคราะห์ปัญหา 3) กำหนดแนวทางแก้ปัญหา 4) ดำเนินการพัฒนานวัตกรรม 5) ทดลองใช้นวัตกรรม และ 6) ปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยผลจากการทดลองใช้นวัตกรรม 
3. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้
  หลักการสำคัญในการออกแบบการเรียนการสอนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้  มีแนวทางในการจัดเรียนการสอนหลายรูปแบบซึ่งสำนักปฏิรูปการศึกษา (2543:24-27)  กล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษาไว้ว่า “ การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และปฏิรูปการจัดการศึกษาซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของครูผู้สอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและรู้จักหาวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง”  และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ว่าด้วยการจัดการศึกษาไว้ว่า “ ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  ซึ่งกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ”  มาตรา 24 ว่าด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ ข้อ 1 และ ข้อ  5  กล่าวถึงการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมไว้ว่า “ ต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ  ฉะนั้นครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้
ต่างๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แก่ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน”  ซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ข้อ 3 และข้อ 4 กล่าวถึง มาตรฐานด้านผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะ  มีความรู้อันเป็นสากลรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ  มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี  ปรับวิธีการคิด  วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์  มีทักษะและกระบวนการ  โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ทักษะการคิดการแก้ปัญหาและทักษะในการดำเนินชีวิต  ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานประกอบ  ด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ  ได้แก่ 
1.กิจกรรมสู่การเรียน (Introduction Activities) เป็นกิจกรรมที่ใช้กระตุ้นผู้เรียนเกิดความสนใจ  กระตือรือร้นอยากเรียนอยากรู้   
2. กิจกรรมพัฒนา (Enabling Activities) เป็นกิจกรรมที่ใช้พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้  กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมทั้งมีทักษะเพียงพอต่อการทำกิจกรรมรวบยอด 
3.  กิจกรรมรวบยอด  (Culmination Activities)  เป็นกิจกรรมที่แสดงว่าผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาถึงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีที่เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้  การใช้รูปแบบทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory)  ทฤษฎีการสอน (Instructional Theory)  วิธีการสอน  กระบวนการจัดการเรียนรู้  เทคนิคการสอน เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                ผู้สอนควรวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  กำหนดเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งความรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เลือกใช้สื่อเหมาะสมและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา  และระดับพัฒนาการของผู้เรียน    ส่วนการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม  สื่อการสอน รวมทั้งการอำนวย  ความสะดวกให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้  จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการกระทำของตนเอง  การจัดกิจกรรม  การเรียนมีหลายลักษณะ  การตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบ ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันหรือระหว่างนักเรียนกับครู  ให้เรียนจากตัวอย่างแล้วลงมือทำ การทดสอบ การให้นักเรียนสร้างชิ้นงาน
                 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียน  มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  สอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยม  เน้นความสนใจของนักเรียน  นำเนื้อหาสาระการเรียนรู้เป็นเรื่องใกล้ตัวในชุมชนหรือในชีวิตประจำวัน  นำภูมิปัญญาท้องถิ่น  มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  มีการบูรณาการคุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม  กิจกรรมการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ  กิจกรรมเน้นกระบวนการคิด  ใช้เทคนิควิธีการอย่างหลากหลาย  มีสื่ออุปกรณ์ประกอบ  ลงมือปฏิบัติเน้นการปฏิบัติจริง  นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  มีส่วนร่วม  มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู นักเรียนกับวัตถุสิ่งของที่เป็นสื่อการเรียนรู้  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสภาพแวดล้อม  มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียนระหว่างครูกับผู้ปกครอง มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร  เช่นชุมนุม  ชมรม  กิจกรรมจิตอาสาในโอกาสต่างๆ นอกเหนือจากชั่วโมงเรียน
                 การวัดและประเมินผลเป็นสิ่งที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน  มีการประเมินผล ครบทุกด้าน (ความรู้  กระบวนการ คุณลักษณะ) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตร  มีการวัดประเมินผล ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคล  กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีการที่หลากหลายรูปแบบและประเมินตามสภาพจริง โดยใช้วิธีการ ซักถาม ถามสอบ การจัดทำรายงาน แฟ้มสะสมงาน  สังเกต โครงงาน  การทดสอบย่อย การสอบปลายภาค หรือวิธีการอื่น ๆ วัดผลสัมฤทธิ์แบบอิงเกณฑ์  มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานและรายงานให้ผู้ปกครองทราบ ดังนั้นการออกแบบการจัดการเรียนรู้จะพัฒนาคุณภาพของนักเรียนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอนถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายแล้วนักเรียนสามารถค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเองหรือไม่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของวิชานั่นเอง4. เทคนิคการให้คำปรึกษาทางวิชาการ
                 การให้คำปรึกษาเป็นการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับคำปรึกษา โดยการให้คำปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้รู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม  การให้คำปรึกษาในโรงเรียนก็เช่นกัน ครูที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่สำคัญ ที่สามารถให้คำปรึกษาแก่นักเรียน เพราะเป็นบุคคลที่นักเรียนให้ความไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดกันมากที่สุด ดังนั้น ก่อนที่ครูที่ปรึกษาจะหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนั้น ครูที่ปรึกษาควรทราบถึง ความมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน 
                  เทคนิคการให้คำปรึกษา เป็นกระบวนการช่วยเหลือให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง สภาพแวดล้อม ปัญหาที่เผชิญอยู่ และสามารถใช้ความเข้าใจดังกล่าวมาแก้ปัญหา หรือตัดสินใจเลือกเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นการให้คำปรึกษาทางวิชาการ ครูจะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับหลักสูตร และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนได้ถูกต้องและมีความมั่นใจ ควรจัดทำแฟ้มประวัตินักเรียน ตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกสภาพนักเรียน วิเคราะห์ผลการเรียน ประสานข้อมูลกับผู้ปกครอง และตรวจสอบการจบการศึกษาในแต่ละช่วงชั้น ประสานงานกับฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนวการศึกษาของสถานศึกษา นำข้อมูลมาจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดูแลกิจกรรมก่อนเข้าเรียน ให้คำปรึกษา เสนอแนะ อบรมตักเตือน ควบคุมและติดตามผลการเรียนให้ปฏิบัติอยู่ในระเบียบของโรงเรียน ดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอนามัย จิตใจ และอื่น ๆ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนในชั้นเรียนได้รับสวัสดิการที่ดี 

แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
  ครูผู้สอนใช้หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินหลักสูตร การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการให้คำปรึกษาทางวิชาการ  ทำให้การออกแบบการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  คือ  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีปัญญา  มีความสุข  มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  นำผลการสอนมาศึกษาถึงสภาพปัญหา  ทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน  และให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ
1.  การพัฒนาภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางวิชาการ
  ผู้นำทางวิชาการ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี ปรัชญาของหลักสูตรต่างๆที่ใช้ในสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในวิธีสอนแบบต่างๆ ใช้นวัตกรรมการสอนเป็นแบบอย่างที่ดีในเชิงวิชาการ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียน จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การจะก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางวิชาการได้นั้น จำเป็นจะต้องเรียนรู้ และปฏิบัติภารกิจในบทบาทต่าง ๆอย่างหลากหลายทั้งนี้เพราะผู้นำทางวิชาการย่อมจะต้องเปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถ และความเท่าทันในองค์ความรู้ต่าง ๆ กล่าวคือ  

                             1. ผู้นำทางวิชาการจะต้องเป็นครูมืออาชีพนั่นคือ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการจัดการเรียนรู้  ประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดผลดีต่อผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ มีความรอบรู้ด้านวิชาการ หลักสูตร ปรัชญาการศึกษา หลักจิตวิทยาด้านต่างๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ มีทักษะในการครองตน ครองคน และครองงาน ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้
ความเข้าใจ
                             2. ผู้นำทางวิชาการจะต้องมีความสามารถในการบริหารความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ สร้างความตระหนักจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลง  สร้างทีมงานและแนวร่วมที่มีความสามารถ  กำหนดวิสัยทัศน์ ชี้นำความพยายามในการปรับเปลี่ยน สื่อสาร สร้างความเข้าใจ ยึดมั่นในวิสัยทัศน์และกลยุทธ์  ผลักดันเพิ่มอำนาจให้ผู้อื่นในการตัดสินใจ เพื่อให้วิสัยทัศน์บรรลุผล  วางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อบรรลุความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น รวบรวมผลสำเร็จจากการปรับปรุง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ปลูกฝังแนวทางใหม่ ๆ ของความสำเร็จเข้าสู่ระบบการทำงานขององค์กร
                             3. ผู้นำทางวิชาการจะต้องเป็นครูนักพัฒนาหลักสูตร โดยในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น มีเป้าหมายหรือมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนกำหนดไว้ชัดเจนและยืดหยุ่นในการปฏิบัติ มีการพัฒนาหลักสูตรต้องทันต่อความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีแก่ผู้เรียน สิ่งที่กำหนดในการเรียนการสอนต้องช่วยเตรียมผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกไร้พรมแดน หลักสูตรต้องส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนในองค์รวม สิ่งที่กำหนดในหลักสูตรควรเชื่อมโยงและสอดคล้องกับชีวิตจริง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้นำทางวิชาการจำเป็นต้องมีทิศทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน นั่นคือ วิสัยทัศน์ แรงบัลดาลใจสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการสนับสนุนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
2.  การสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 
  บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการเริ่มจากห้องเรียนที่มีการส่งเสริมทักษะใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้แก่ผู้เรียน  เต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน  อันจะเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในห้องเรียน  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส  สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย  มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีป้ายนิเทศ สื่อการเรียนรู้  มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนกระตือรือร้นในการเรียน และมีความสุขในการเรียน  คุณภาพของการจัดการเรียนการสอนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนถูกต้องเป็นปัจจุบัน  มีการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ  ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุขเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

3. การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
  การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนการสร้าง คือ วิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงสร้างของนวัตกรรมการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างและขั้นตอนที่กำหนด นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ
                     การสร้างนวัตกรรมมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
                    1. ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และจะแก้อย่างไร ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก เพราะเราต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงก่อนลงมือแก้ปัญหาจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ
                    2. นำปัญหาที่พบมาวาดเป็นภาพ โดยลงข้อมูลที่สำคัญ ๆก่อนไปที่ละภาพ
                    3. นำภาพที่ได้มาวิเคราะห์ หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไรและจะแก้ไขได้อย่างไร วิเคราะห์ต่อไปว่าการแก้ไขนั้น ๆเรารู้อะไรบ้างและเราไม่รู้อะไร ทำอย่างไรจึงจะรู้ นำมากำหนดเป็นแผนภูมิ เช่นการสอนให้เด็กจำได้ เรารู้ว่าการท่องมากทำให้จำได้นานมีอะไรอีกที่เราไม่รู้
แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
  ครูเป็นผู้นำทางวิชาการ  มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้  ที่เริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตร  วิเคราะห์ผู้เรียน  ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  สร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้  นักเรียนเกิดทักษะมีความสามารถตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์  

ส่วนที่2 การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูเชี่ยวชาญหน่วยการเรียนรู้ที่3 ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
1. การพัฒนาจิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรม ที่สร้างเสริมความเป็นครูต้นแบบ

  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์  เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ  นอกจากนี้หลักสูตรยังได้กำหนดให้สถานศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญ คือ  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ  จิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรมที่เสริมสร้างความเป็นครูต้นแบบ  ต้องรู้จักและปฏิบัติการสอนด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทุกขั้นตอนในกิจกรรมการเรียนรู้
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  มีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่มุ่งหวังให้นักเรียนมีความรู้  พฤติกรรมการเรียนรู้ คุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ และการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีความรู้  ตระหนักรู้คุณค่าของตนเองและผู้อื่น  วิเคราะห์สังเคราะห์ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์  จัดการกับความเครียดได้ดีและมีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

2. วินัยและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
  ด้านวินัย  ครูที่ดีต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ  สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ  มีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ และต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติหน้าที
ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง ไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะ หรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท วางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคลหรือพรรคการเมืองใด รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
                    ครูที่มีจิตวิญญาณ คุณธรรม จริยธรรม ที่สร้างเสริมความเป็นครูต้นแบบ ควรทำการสอน อบรมนักเรียนปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และนโยบายของทางราชการ เอาใจใส่ในการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สม่ำเสมอ ส่งเสริมและเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อบรมสั่งสอนและเผยแพร่ความรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ไทย ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ครูและนักเรียน เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้งหน้าที่การงาน ช่วยเหลือกิจการของโรงเรียนและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ศึกษาหาความรู้ วิธีการสอน วิธีประเมินผล การใช้หนังสือเรียนและคู่มือการเรียนการสอนตามหลักสูตร
  ด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ  วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อ การพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น ดำรงอยู่

หมายเลขบันทึก: 510305เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

 

 

 

 

 

 

 

ภาพจากสายบริหารงาสื่อสารองค์กร SCB

สวัสดีครับ มาให้กำลังใจและศึกษษข้อมูล เป็นตัวอย่าง

 

ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแส
โลกาภิวัตน์  ความเปลี่ยนแปลงมีหลักพิจารณา ดังนี้
  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะการปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย นำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา โดยเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
        1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
       2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
       3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
           เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

           1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
           2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน
ทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา  ภารกิจและความรับผิดชอบต่อสังคมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของวิชาชีพครู ด้วยสำนึกและจิตวิญญาณ  งานหลักของครู คือ การพัฒนาผู้เรียนด้วยความเข้าใจและเอาใจใส่ทั้งด้านวิชาการ การอบรมบ่มนิสัย เพื่อให้เยาวชนเป็นคนที่เข้าใจชีวิต และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง ครูที่มีวินัย ปฏิบัติตนโดยมีจรรยาบรรณวิชาชีพครู ทำให้เป็นที่เคารพนับถือของบุคลากรในโรงเรียน นักเรียน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอน หรือการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔  กลยุทธ์การวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. การวิเคราะห์การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้
                       การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะสำเร็จได้ก็ด้วยความเอาใจใส่ของผู้จัดการเรียนรู้อย่างจริงจัง โดยต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้พร้อม ๆ กับการเสริมสร้างคุณลักษณะสมรรถนะ ทักษะต่างๆที่จำเป็นและเหมาะสมให้กับผู้เรียน โดยนำแนวคิดนี้ไปสู่เพื่อนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ ด้วยการนิเทศการสอน  แลกเปลี่ยนรู้ด้วยการสังเกตการสอนกันและกัน โดยการสร้างความตระหนักในความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ร่วมกันวางแผนปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
2. กลยุทธ์วางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 
                        การวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หมายถึง การกำหนดทิศทาง ภารกิจ การดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้ชัดเจน
                       ขั้นตอนการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
                          1. วิเคราะห์บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของครูผู้สอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                          2. วิเคราะห์สภาพปัญหาและสาเหตุของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เช่น การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
                          3. กำหนดทิศทาง ภารกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานตัวชี้วัดความสำเร็จตามสภาพปัญหาและสาเหตุของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชั้นเรียน
                         4. จัดทำแผนกลยุทธ์การจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
                                4.1 ชื่อโครงการ/กิจกรรม   4.2 วัตถุประสงค์   4.3 เป้าหมาย   4.4 กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

3.  การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
                        การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  คือ การวิจัยที่จัดทำโดยครูผู้สอนในชั้นเรียน  เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้หรือส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น เป็นการวิจัยที่ต้องทำอย่างรวดเร็วนำผลไปใช้ทันทีและมีการสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆกับกลุ่มเพื่อนร่วมงานในโรงเรียนวิพากษ์ อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแนวทางที่ได้ปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทั้งครูและผู้เรียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสามารถทำได้ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

  • สวัสดีค่ะ ครูIco48 อ้อย  แซ่เฮ
  • มาให้กำลังใจในการทำวิจัยค่ะ
  • รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง....ของครูอ้อย แซ่เฮ

ป้าด ละเอียด ดีครับ

ขอบคุณมากค่ะ ครูทิพย์ Ico48

หวังว่า จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครูผู้รักความก้าวหน้า ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์ เจเจ ที่เคารพ Ico48

อาจรีย์ ถนอมดำรงศักดิ์

ขอบคุณนะคะครูอ้อย เอกสารของคุณเป็นประโยชน์ต่อดิฉันมากค่ะ


จุฑารัตน์ คงวุฒิ ขอบคุณครูอ้อยมากนะคะที่เป็นตัวอย่างการรายงานค่ะ เพราะคิดไม่ออก พอเห็นตัวอย่างแล้วทำให้ค้นคว้าทำรายงานได้ค่ะขอบคุณมากค่ะ

การอบรมครั้งนี้เพื่อการพัฒนาตนเองจริงๆค่ะและผลการพัฒนาคือเด็กนักเรียนนั่นเอง

ขออนุญาตเข้ามาศึกษาครับ เป็นแบบอย่างในการทำรายงานการศึกษาครับ ขอบคุณเป็นอย่างสูงมาณที่นี้ครับ

ขออนุญาตเข้ามาศึกษานะคะ เป็นแบบอย่างในการทำรายงานการศึกษาค้นค้วาด้วยตนเองคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคะ

ขออนุญาต นำข้อมูลไปศึกษาและเป็นแบบอย่างในการทำรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง นะคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

ขออนุญาตศึกษาข้อมูล และนำไปแบบอย่างเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ขออนุญาตนำข้อมูลไปปรับพัฒนาตนเองนะคะ มีประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีมากขอขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท