สมัชาสุขภาพ (Health Assembly)


จัดสมัชชาแบบเจ๊ก จากเล็กไปหาใหญ่ ไม่จัดแบบไทยจัดจากใหญ่ไปหาเล็ก

       

 อาจารย์ ชัยพร จันทร์หอม (คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ส่ง email มาให้ ชวนเข้าร่วมเวที"ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พศ. 2550  กลุ่มพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 

       " ซึ่งเจ้าภาพคือ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคใต้  นักสานพลัง และอนุกรรมการสนับสนุนการพัฒนาวิชาการภาคใต้"

      เมื่อวันวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา  ณ.โรง วีแอล หาดใหญ่ สงขลา ตอบตกลงทันที...

     นักสร้างสุข เมื่อถูกเชิญให้ไปร่วม"สานพลัง สร้างสุข" ย่อมต้องไป  ไปถึงหลายจังหวัดยังมาไม่ถึง หลายจังถึงมาก่อนนอนพักหนึ่งคืนแล้ว หลายคนคุ้นชิ้นจากหลาย เวที  คุณ ทวีชัย จากกระบี นี้ก็พบกันในทีมสื่อ คุณมาเรียม จากยะลา เครือข่ายสื่อและเยาวชนก็คนคุ้นชิน คุณ เบญ จากชุมพร 



นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์  ประธานอนุกรรมการฯ

      เวทีแลกเปลี่ยนพัฒนา นโยบายมาเป็นครั้งแรกในระดับภาค  ตามแผนการเคลื่อนไหว (หมายกำหนดการ)  คุณหมอ ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ ประธานอนุกรรมการก็ทำการเล่าเรื่องบอกกล่าว เป้าหมาย สิ่งที่ต้องการได้จากการประชุม คือการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมผ่านเครื่องมือต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน จังหวัดตนเอง แบบไตรภาคีมีสามขาหรือสี่ขาในบางที่ ร่วมเดิน คือ รัฐ วิชาการ ท้องถิ่น และภาคประชาสังคมเครือข่ายนักสร้างสุข ชวนคุย ร่วมคิด ค้นทุน เรียนรู้นำสู่ประเด็นสาธารณะ มีเวทีกลาง มีกลไกกระบวนการ เรียนรู้พัฒนา นำไปสู่ ตำบลสุขภาวะ จัดการตนเอง บอกต่อสังคมพี่น้องคนในจังหวัดด้วยการจัดสมัชชาขภาพจังหวัด ให้ทุกภาคส่วนได้เข้าใจตระหนักรู้ 



      "นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในความหมายที่"แสดงความห่วงใยอย่างชัดเจนในเรื่องสุขภาพ พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายนั้น ขณะเดียวกัน ก็เป็นนโยบายมุ่งสร้างเสริมสิ่งแวดล้อม ทั้งทางสังคม และกายภาพ  ที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และมุ่งให้ประชาชนมีทางเลือก  และสามารถเข้าถึงทางเลือกที่ก่อให้เกิดสุขภาพดีได้"ในความหมายตามคู่มือ"จัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพอย่างไร Guideline การจัดกระบวนการ (ในหน้า สาม) 



กลุ่มจังหวัด พัทลุง ตรัง สตูล ค้นทุน(รื้อเชี่ยนหมาก)มีคุณ ปิติพร  จันทรทัต ณ.อยุธยา มา ถาม  เติม ให้

      ช่วงบ่ายเปิดให้กลุ่มจังหวัดไปค้นทุนตัวเอง และทุนกลุ่มจังหวัด  พัทลุง มากัน สามขา คุณสุนทร คงทองสังข์ รองนพ.สาธารณสุขพัทลุง ที่ขับเคลื่อนเรื่องสมัชชามาตั้งแต่แรกเริ่ม อาจารย์ ไพทูรย์  ทองสม นักสานพลังสร้างสุข และผู้เขียนนักสร้างสุขชุมชน เรามากันสามขา หากได้ขาท้องถิ่นมาคุยด้วย คงเห็นภาพ เจ้าภาพร่วมในการจัดการตนเองทางด้านสุขภาพ ซึ่งในพัทลุงก็มีตัวตนคนท้องถิ่นที่หนุนกระบวนการนี้อยู่ สามขาของพัทลุงเราได้ข้อสรุปร่วมตามโจทย์ ตามเป้าที่ทางผู้จัดวางไว้ว่า

     "จัดสมัชชาสุขภาพแบบเจ๊ก ทำจากเล็กไปหาใหญ่ ไม่ทำแบบไทย ทำจากใหญ่ไปหาเล็ก"(สุนทร) ในความหมายเรื่องกลไกการจัดการโครงสร้าง เราตั้งวงเล็กๆคุยกัน หาคนที่อาดที่เอิด*มาเป็นคนทำงาน สานพลังไปถึงวงใหญ่ แต่งตั้งกลไกคนทำงานไม่ยาก แต่ยากที่ตั้งแล้วคนไม่ทำงาน ในประเด็นสาธารณะทางด้านสุขภาพ พัทลุง จัดมหกรรมแผนแม่บทชุมชน คน73 ตำบลมีแผนรวมในเรื่องสุขภาพอยู่ มีร่องรอย มีคนทำงาน มีหน่วยสนับสนุน มีทุนทางสังคม เราจะขับเคลื่อนกันไปอย่างนี้ สุขของคนเมืองลุง เมืองลุงสร้างสุข คือสร้างสุขตัวเอง สุขครอบครัว สุขชุมชน เป็นสุขจากล่างขึ้นบน ตามแผนงานโครงสร้างเสริมคุณภาพชีวิต วิถีคนเมืองลุง


" สุขมีข้าวกิน  สุขมีดินอยู่ สุขมีรูแทง สุขมีแรงทำ."..






ตวแทนกลุ่มจังหวัด สี่กลุ่ม นำเสนอทุนของกลุ่มจังหวัด




*.อาดที่เอิด= คนที่อยากที่มีพลัง

  

 อักษรไทยที่เป็นได้ทั้งนั่งและยืน (อักษรย่อ) 

ในเรื่องสมัชชาสุขภาพ เวทีนี้ 


* สช.      = สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ  

*คสช.    =คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

* คจสช. = คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  

*คพส.   = คณะกรรมการพัฒนาระบบกลไกสมัชชาสุขภาพ สนับสนุนการจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ เฉพาะประเด็น  

*คมส.    =คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 

*นลส.     =.หน่วยเลขานุการกิจสมัชชาสุขภาพจังหวัด 

* คจสจ.  =คณะกรรมการจักสมัชชาสุขภาพจังหวัด 

หมายเลขบันทึก: 510293เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะ

            "นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ"  

             ทำให้ประชาชนมีความสุข

          " สุขมีข้าวกิน  สุขมีดินอยู่ สุขมีรูแทง สุขมีแรงทำ."..

                    

ขอบคุณคะที่นำมาแบ่งปันจะได้นำไปใช้

  • ขอบพระคุณมากค่ะ ที่นำมาเล่าเรื่อง ความเคลื่อนไหว ให้ได้ทราบ
  • ขอชื่นชม คณะทำงาน ที่สรุปได้ว่า "สร้างสุขตัวเอง สุขครอบครัว สุขชุมชน" มีคุณค่า เหลือคณานับ ค่ะ

บังหีมเขียนแซงหน้าไปแล้ว ได้คำคม "คิดแบบเจ็ก ทำจากเล็กไปหาใหญ่ คิดแบบไทยทำจากใหญ่ไปหาเล็ก" เดี๋ยวจะเขียนมาแลกเปลี่ยนครับ

เรียบง่าย แต่ชัดเจนมากครับ นับถือมากครับ พี่วอญ่า

-สวัสดีครับ..

-สุขมีข้าวกิน..สุขมีดินอยู่........

-ขอบคุณครับ..

 

สวัสดีครับครูดาหลา... ขอบคุณวันลอยกระทง ที่นำภาพนพมาศน้อยมาฝาก สมัชชาสุขภาพของแต่ละจังหวัดจะมีภาคส่วนวิชาการ อาจารย์ มาเป็นหุ้นส่วนหลักในการขับเคลื่อน คาดว่าปี 56คงมีหลายจังหวัดมีกลไกคณะทำงาน คจสจ.

สวัสดีครับคุณไก่...

นโยบาย สาธารณะด้านสุขภาพ  ภาคประชาชน ทำงานเชิงวิชาการมีการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ มีการวางแผนป้องกัน มองสุขภาพของชุมชนตามแต่ละพื้นที่ เห็นพ้องต้องกันจึงออกเป็นกติกาชุมชน

 

สวัสดีครับอาจารย์ จอย....

สช..นี้พวกผมภาคประชาคน ขับเคลื่อน ทั้งพื้นที่และเชิงประเด็น

แล้วมาเป็น พรบ. สช.แห่งชาติ

ขณะนี้มีมติออกมาแล้ว 40 กว่ามติ

ในมติเกี่ยวกับเด็ดและเยาวชนก็ออกมาหลายมติ

น้อง เ๙ รออ่านมุมมองของน้องเช ในฐานะคร่ำหวอดในวงการ สช.

ขอบคุณท่าอาจารย์ ภิญโญ ......กำลังใจและสื่งดีๆ เปิดพื้นที่จิตใจ ให้มีความคิดดีๆ

คุณเพชร กระทงสวยจัง ไปลอยที่ไหนมาครับท่าน หมดทุกข์หมดโศก โราคาครับท่าน

หวัดดีคุณ ราเนทร์ หวัดดีคุณอักขณิช วันนี้เดินทางมาประชุมที่สุพรรณ และถือโอกาสเยี่ยมบล็อกเกอร์ชาวสุพรรณ

สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยมเยียน ยังเดินสายเหมือนเดิม ขอบคุณที่บันทึกมาแบ่งปันครับ

สวัสดีครับน้องสิงห์ หลายประเด็นที่ขับในพื้นที่ ก็คงต้องมีการเดินสายเหมือนเดิม ขอบคุณที่แวะมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท