คำสารภาพ ของ มินะโตะ อานะเอะ


รติรัตน์  รถทอง

แนะนำหนังสือ


คำสารภาพ

คำสารภาพเป็นหนังสือนวนิยาย ที่เขียนโดยมินะโตะ อานะเอะ  แปลโดยกนกวรรณ  เกตุชัยมาศ แปล  (255 หน้า) อ่านจบภายใน 2 ชม. ก็จบแล้ว  ข้าวสาลีได้ยืมมาในราคา  15 บาท/วันที่ร้านหนังสือให้เช่าแถวมหาชัย  

คำสารภาพเป็นสุดยอดนวนิยายสืบสวนของญี่ปุ่น  มียอดขายกว่า  2  ล้านเล่ม  และนำไปสร้างเป็นภาพยนต์กระแสแรงที่ได้การเสนอชื่อเข้ายินรางวัลออสการ์  1-9  เรื่อง  สาขาภาพยนต์ต่างประเทศ  ครั้งที่  53  ปี พ.ศ.  2554  และกวาดรางวัลนักเขียนนวนิยายสืบสวนหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ครั้งที่  29  พ.ศ.  2550  และยังนำไปสร้างหนังการ์ตูในปี พ.ศ.2553  ได้รับเลือกเป็นนวนิยายสืบสวนสอบสวนอันดับ 1 ของหนังสือนิตยสารหลายฉบับ ตั้งแต่ปี 2550  

เนื้อเรื่อง

 เป็นเรื่องของการแก้แค้นของครู  โมะริกุจิ  โยโกะ  ที่สูญเสียลูกสาวอายุ  4  ขวบไป  เนื่องจากเด็กชาย 2 คนอายุ 13 ปี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ในห้องเรียนที่ตัวเองเป็นครูประจำชั้น  ฆาตกรอายุน้อย  โครงเรื่องคล้ายรุนแรงและละเอียดอ่อน  มีก้าวล้ำศิลธรรม  คำสารภาพ  เมื่ออ่านจบแล้วจะตอบคำถามเมื่อผู้อ่านอ่านจบ  ด้วยเทคนิคการเขียนเล่าเรื่องที่ยอดเยี่ยม  การเิปิดเผยความคิดของแต่ละตัวละคร  ในแง่มุมซึ่งบอกเล่าเรื่องราว  ความรู้สึกเข้าถึงตัวละคร  เจียรเอาความบาดแหลมของความรุนแรงในชีวิตมนุษย์  เหลือเพียงเนื้อหา  "เป็นนวนิยายที่จะไม่มีวันลืมไปจากใจ"  ข้าวสาลีได้อ่านแล้ว  รู้สึกชาไปทั้งตัวและคิดว่าโลกนี้ยังมีความโหดร้ายที่แฝงอยู่มากมาย  ความโหดร้ายทางความคิด  ความดีความชั่วอยู่ที่เส้นแบ่งเบาบาง  เนื้อเรื่องมี  6  ตอนเท่านั้น

บทที่ 1  นักบุญ  (ครูโยโกะ  โมะริกุจิ  เป็นผู้เล่าเรื่อง)

บทที่ 2  ผู้พลีชีพ ( นักเรียนหญิง  มิสุกิ  มะนะมิ  เป็นผู้เล่าเรื่อง )

บทที่ 3  ผู้มีเมตตา  (พี่สาวของฆาตกร  นะโอะกิ  ชิโมะมิระคุง เป็นผู้เล่าเรื่อง )

บทที่ 4  ผู้แสวงหา  (นะโอะกิ  ชิโมะมิระคุง ฆาตกรคนที่ 2 เป็นผู้เล่าเรื่อง )

บทที่ 5  ผู้งมงาย  ( วาตานะเบะ  ชูยะ  ฆาตกรคนที่ 1 เป็นผู้เล่าเรื่อง )  

บทที่ 6  ผู้ส่งสาร  ( ครูโยโกะ  โมะริกุจิ  เป็นผู้เล่าเรื่อง)

สุดท้ายแล้ว  คนที่เจ็บปวดที่สุดก็คือ ฆาตกรเด็กทั้ง 2 คน และจบอย่างเงียบสงบและชาที่สุด  ไปหาอ่านเอานะคะ

อ่านแล้วนึกย้อนดูความใฝ่ดีของคนทุกคนได้

ประวัติผู้เขียน

มินะโตะ  คะนะเอะ  เกิด พ.ศ. 2516  ที่เมืองฮิโระชิมะ  ประเทศญี่ปุ่น  อ่านนวนิยายของ อาคะกาวะ จิโร  และเอะกะวะ  รัมโปะ  จบการศึกษาจากคณะคหกรรมศาสตร์  ม.สตรีมุโคะกะวะ แต่งงานเร่มเขียนจริงจัง  ปี  2550  เป็นแม่บ้านตอนกลางวัน  และเขียนตอนกลางคืน  ใช้เทรติคการเขียนโดยสร้างประวัติและลักษระนิสัยของตัวละคร  ไม่ว่าบทเล็กน้อยแค่ไหน  สร้างตัวละครอะเอียดเพราะ "หากสร้างที่มาให้กับตัวละครไวดีแล้ว  ตัวละครจะเดินเรื่องได้เอง"  


ของฝากจากนักเขียน

วิลเลียม   เฮิฟฟอร์แนน

อ่านและศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเขียนอยู่  ถ้าเป็นไปได้  อ่านหนังสือสัปดาห์ละสองสามหรือสี่เล่ม  มันจะช่วยจุดประกายจินตนาการของคุณ


ส.ธรรมยศ

มนุษย์ธรรมดาหาได้เกิดจากท้องพ่อท้องแม่เพื่อมาเป็นศิลปินไม่  ผู้เขียนไม่เชื่อใน  "พระอินทร์"  (Don  หรือ Dift)  แต่เชื่อในความจำเป็นแห่งการดำรงชีวิตและสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว


ณรงค์  จันทร์เรือง

การเขียนหนังสือไม่มีอะไรดีเท่ากับการเีขียนให้มาก  เขียนให้มากๆ แล้วจะเชื่องไปเองอยู่มือเรา


เจือ  สะตะเวทิน

อุปสรรคอันสำคัญของนักเขียนใหม่อยู่ที่ขาดความพยายาม  และมีความเร่งร้อนเกินไป  อยากจะเขียนหนังสือให้คนพอใจทันที  เขียนอะไรแล้ว้องเป็นมรรคเป็นผลทันที  ต้องได้เงิน  ต้องได้ชื่อเสียงทันที นี่เป็นความหวังอันเกินขอบเขตและผิดธรรมดา


แอนดี้  รอเนย์

"คุณจำต้องมีบางสิ่งบางอย่างจะบอกเล่า  ก่อนที่่จะพยายามจะบอกเล่า"


อาจินต์  ปัญจพรรค์

เรื่องสั้นที่ดีต้องประกอบด้วย

1)  ต้องมองชีวิตให้ดีขึ้น

2)  รูปแบบในการนำเสนอกับเนื้อหากลมกลืนกัน

3)  ต้องคิดมาจากภายใน ไม่ใช่เห็นภายนอกแล้วมาคิด

วิธีการยืนแถวหน้าในงานเขียน

1)  ข้อเขียต้องชัดเจน

2) เนื้อเรื่องต้องแปลกแต่ละคนมีเรื่องแปลกก็ต้องเอาเรื่องที่เราประทับใจที่สุด  งัดเรื่องนั้นออกมาเขียนก่อน


ชาติ  กอบจิตติ

เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านทั่วไป  พบว่าวิธีเล่าเรื่องและตั้งคำถาม  นักเขียนควรตรวจสอบความน่าสนใจ  หาวิธีที่เรื่องถูกกระทบ  จากนั้นก็แปลงเรื่องให้น่าสนใจ  อย่าตัดสินคนง่ายๆ  พอถึงช่วงหนึ่ง  ก็จะพบอะไรในชีวิตมากขึ้น  ผมต้องเดินไปหาสิ่งจำเป็นในชีวิตการเขียน  คือ  1)  ต้องให้ความคิดกับคนอ่าน  2)  ต้องให้ความรู้  3)  ต้องให้ความบันเทิง  ส่วนความคิดสร้างสรรค์เรามีกันทุกคนและจำนำมาใช้ในทางถนัดหรือชอบที่สุด  ทำในสิ่งที่คนอื่นยังไม่ได้ทำ  ถ้าจำเป็นต้องทำในสิ่งที่คนอื่นทำแล้วก็ต้องทำให้ดีกว่า  (จุดประกายวรรณกรรม)


จอร์ค  ออร์เวลล์

แรงบันดาลใจที่่ทำให้ผู้คนกลายเป็นนักประพันธ์

1)  ความโอ้อวด

2)  ความเป็นศิลปิน

3)  ความรักที่จะรักษาผลงานไว้เป็นประวัติศาสตร์

4)  ความคิดทางการเมือง


โทมัส  มอร์

ยูโทเปียแห่งความฝันหรือโลกแห่งพระศรีอาร์ย์  นครยูโทเปียหรือนครแห่งความฝันดี  บ้านเมืองที่เต็มไปด้วยความสุขสบาย  พลเมืองมีหลักประกันความเป็นอยู่ตลอดชีวิต  รัฐบาลไม่เลว ประชาชนเป็นคนดี  มีกฏหมายน้อยที่สุด


โจเซฟ  คอนราด

"นักเขียนที่ปราศจากความสนใจหรือความรู้สึกเห็นอกเห็นใจในข้อบกพร่องของมนุษย์  ก็ไม่น่าจะเป็นนักเขียน


มาร์กาเร็ต  มันเนอร์ลีน  มิทเชลล์  ผู้เขียน (gone with the wind )

"มีนักเขียนและนักเขียนหลายคนเป็นนักเขียนที่แท้จริงเป็นโดยกำเนิดไม่ใช่ถูกสร้างขึ้น  นักเขียนโดยกำเนิดสรรค์สร้างตัวละคะครของตนให้เป็นบุคคลที่สมจริง  ขณะที่นักเขียนที่ถุกสร้างขึ้นมีแต่ร่างเปล่าๆ เรียบๆ  จะโลดแล่นได้ก็ต่อเมือ่มีสายเชิด  ฉันรู้ว่าฉันคือนักเขียนที่ถูกสร้างขึ้น


โยเซฟ  สตาลิน

"นักเขียน  คือ วิศวกรแห่งจิตวิญญาณของมนุษย์"


เฟดดริก  บัช

เมื่อผมเขียนถึงตัวละซักตัว  ผู้ก็เขียนแบบที่ผมกำลังกระทำอยู่  สิ่งหนึ่งที่ผมต้องรู้คือ  พวกเขาทำอาชีพอะไร  เพราะนั่นเป็นจุดสำคัญที่อะไรบางอย่างของสิ่งมีชีวิตภายในของพวกเขาได้พบกับโลกภายนอก


ลี  สมิช

พูดโดยทั่วไป  ฉันว่ามันง่ายกว่ามากเลยที่จะเขียนผ่านสามัญสำนึกของผู้หญิงคนหนึ่ง  ฉันต้องทำงานหนักมากขึ้นเมื่อฉันกำลังเขียนผ่านมุมมองของผู้ชาย  แันต้องวิ่งวุ่นไปทั่ว  เพื่อพยายามทำให้ตัวละครเหล่านั้นมีชีวิต  ฉันจะต้องสร้างตัวละครจากระดาษแผ่นหนึ่ง  เขาฝนถึงอะไร  เขากลัวอะไร  กับพวกผู้ชายละก็  มันต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะทำให้ใครสักคนมีชีวิต


ริชาร์ด  ฟอร์ด

ผมไม่พยายามจะเขียนถึงผู้คนที่เหมือนเพียง ริชาร์ด  ฟอร์ด  ผู้ที่ผมรู้จักดีอยู่แล้ว  ผมรู้สึกว่ามันเป็นเพียงข้อบังคับของนักเขียนที่เขียนเกี่ยวกับผู้คนที่คุณไม่ได้เป็น  มันเป็นส่วนหนึ่งของการทักทายจินตนาการอย่างที่สุด  รวมถึงการที่พวกผู้ชายเขียนเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง  พวกผู้หญิงเขียนเกี่ยวกับผู้ชาย  คนขาวกับคนดำ  คนดำกับคนขาว  แองโกหรืออินเดียน  ข้อบังคับต่างๆ ในวัฒนธรรมที่ห้ามใครหรือสิ่งใดที่เราเขียนถึงล้วนบ่งบอกถึงจิตใจที่คับแคบและไม่มีใครบอกผมได้ว่าผมไม่สามารถเขียนเกี่ยวกับใคร  "จบ"


สุชาติ   สวัสดิศรี  (สิงห์  สนามหลวง)

อ่านอย่างปล่อยใจ  ไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้แนะนำยัดเยียด  ให้นักอ่าน  เริ่มต้นจากงานอมตะ  หรือวรรณกรรมชิ้นเอก แต่ควรเริ่มต้นจากหนังสือที่อ่านแล้วเพลิดเพลิน  รื่นรมณ์  

หลักเกณฑ์การเขียนเรื่องสั้น

1)  ความคิดริเริ่ม  เนื้อหาถึง

2)  รูปแบบต้องถึง

3)  ภาษาต้องถึงเป็นหัวใจของการเขียน

4)  เป็นงานสร้างสรรค์ทุกรูปแบบ


โสภาค  สุวรรณ

สุขที่สุด  เวลาเราเขียนเราหลุดเข้าไปในโลกที่ไม่มีพ่อ  ไม่มีแม่  เป็นโลกองเราแท้ๆ เลย  ทุกข์หรืออะไรก็ตามมันหายไปหมดเลย  การเขียนหนังสือเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง


เออริง   วอลเลซ

ท่านจงเีขียนเพื่อเขียน  ไม่ใช่เขยนเพื่อเป็น  "นักเขียน"


มนัส  จรรยงค์

การเขียนทุกอย่างเราอย่าฝืนความรู้สึกของตัวเอง...ที่สำคัญอย่าไปลอกคราบของผู้อื่นเขา


วิลาศ  มณีวัต

เขียนให้มากๆ  บ่อยๆ เข้า ตระกร้ามันแพ้ไปเอง  ตระกร้าไม่เคยชนะคนที่ปักษ์ใจมั่นว่า  วันหนึ่งจะต้องเป็นนักประพันธ์ให้จงได้


อัลเลน  ดับบลิว  เอคเกิร์ต

หากคุณเป็นนักเขียน  เริ่มแรกคุณต้องเป็นนักอ่าน  โดยการซึมซับความคิดและปรัชญาหลากหลาย  เราจึจะสามารถจบความคิดของตัวเราเองได้


แอนน์  แมคคาฟฟรีย์

เล่าเรื่องแก่ผู้อ่าน  เพราะถ้าปราศจากเรื่อง  คุณก็เพียงใช้ถ้อยคำเพื่อพิสูจน์ว่าคุณสามารถผูกประโยคตรรกเข้าด้วยกัน


ชาติ  กอบจิตติ

นักเขียนต้องเป็นนักคิดด้วยความโดดเด่นทางนวนิยายของเขาโดยเฉพาะด้านเทคนิคการเขียนไม่เคยซ้ำกัน  หัวใจสำคัญ คือ ทำอย่างไรจะพาคนอ่านไปกับเราได้  ถึงแม้จะเป็นกระแสสำนึก  เรื่องในใจ แต่เรื่องมันต้องเดิน  เรื่องอาจดีแสนดีแค่ไหน  ถ้าไม่มีคนอ่านมันก็ไม่มีประโยชน์


พิสิฐ  ภูศรี

สิ่งสำคัญที่สุดของเรื่องสั้น  คือ ต้องนำเสนอประเด็น  อาจจะสำคัญกว่าเรื่องเสียอีก คือ ต้องมีประเด็นนำเสนอ เช่น ธรรมะ  ต้องชนะอธรรม  จากนั้นก็เอาตัวละคน  เอาสถานการณ์และความตื่นเต้นเข้ามาทำให้เรื่องสั้นเป็นศิลปะ  เราจะต้องใช้แทนค่าด้วยฉาก  ด้วยตัวละคร


จรูญพร  ปรปักษ์ประลัย

ไม่มีนักเขียนคนใดคาบกระดาษและปากกาออกมาจากท้องพ่อท้องแม่  แต่นักเขียนเกิดมาจากแรงปรารถนาบางอย่าง  บางคนอาจรู้ตัวเร็ว  บางคนอาจใช้เวลาชั่วชีวิตกว่าจะรุ้ตัวว่าตัวเองต้องการอะไร

ขอแค่นี้ก่อนนะค่ะ  แล้วจะหาคำคมสนุกๆ ของพี่ๆ นักเขียนมาเขียนให้อ่านค่ะ


สุทธิชัย  คุณาเจริญ  นักเขียนสารคดี

"คนเรามีโอกาสที่จะแสดงตัวว่าเรา  คือ ใคร  เราเกิดมาจากไหน  อยู่ที่ไหน  เราคิดอะไร  ถ้าใครทำได้  ได้ผลจริงๆ  คือ เป็น เล่มออกมา  ผมคิดว่านั่นเป็นรางวัลชีวิต"


พรณรงค์  สหนันท์ชัยกุล

นักเขียน  คือ  เป็นเหมือนกับเราได้ถ่ายทอดความรู้และทำให้จินตนาการของเราเป็นจริงได้ในงานเขียน


ป.บูรณปกรณ์   ( สามีของ ก.สุรางคนางค์)

1) สร้างความรู้สึกเพื่อผู้อ่านชั่วครั้งคราวเดียวกัน

2) สำหรับอ่านรวดเดียวจบ

3) คำทุกคำต้องประหยัดใช้  มีการส่งเสริมเพื่อมุ่งให้เกิดผลตามความตั้งใจของผู้ประพันธ์

4) ผลของความตั้งใจนั้นจะต้องปรากฎเพื่อสร้างสรรค์ขึ้นไว้ในประโยคที่กระจ่างแจ้ง  ชักจูงให้เข้าใจจุดหมายของเรื่องได้ตลอด

5)  เมื่อดำเนินไปสู่จุดสูงสุด ( Cul-mi-na-try  point )  แล้วจบลงทันทีทันใด

6) ตัวละครต้องกำหนดเพื่อผลหรือความจำเป็นโดยเฉพาะเท่านั้น


เอลิซาเบธ  คอกซ์ : Night  Talk

"ฉันสร้างตัวละครโดยผ่านทางฉากทั้งหลาย  ฉันท่องเที่ยวไปกับพวกเขาแบบฉันเป็นมนุษย์จริงๆ  นี่แหละ  ฉันสร้างบรรดาตัวละครและฉากทั้งหลาย  แล้วจึงมองหาความสัมพันธ์  ฉันเริ่มที่จะเห็นแบบแผนในชีวิตของพวกเขาที่ดูเหมือนจริงมาก


ไมเคิล   ออนดาติส

"หนังสือของผมเกือบทังหมดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้คนที่ผมรู้จักเพียงเล็กน้อยในตอนต้น  เมื่อผมเริ่มเขียนเกี่ยวกับตัวละครตัวหนึ่ง  ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขาเหมือนกับใคร


เจเนท  เฟรม

เรื่องราวที่เธอเอ๋ยถึงจึงมักเกี่ยวข้องกับความบ้า  ความตาย ภาวะทางจิตใจ  ความเชื่อทางศาสนา  การทำความเข้าใจ ประสบการณ์ในภาษา  รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความเป็นจริง

"แม้ฉันจะเริ่มเขียนตั้งแต่ยังเล็ก และไม่เคยหยุดเลย  แต่ฉันก็คิดว่าฉันเริ่มเขียนจริงจังตอนที่ฉันเข้าใจความเป็นของการเขียนจริงๆ  อิสระในการเขียน  เป็นอิสระที่แคบมากในบรรดาการจองจำทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นจากการจองจำทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นจากความข่มขื่นของตัวผู้ที่ต้องการจะเขียนเอง  เพราะการเขียน  คือ กุญแจสำคัญและหากว่าผู้เขียนสามารถกำหนดให้กุญแจไขออกได้เขาก็อาจจะนำพาความฝันของตัวเองให้ปรากฏเป็นถ้อยคำได้"

คู่มือนักเขียน

เมื่อนักเขียนพูดถึง  การเขียน  ว่าด้วยเรื่องของตัวละคร  การเรียนรู้ทีดีที่สุดวิธีหนึ่ง  คือ  การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของผู้มีประสบการณ์  ครูชั้นยอดของนักอยากเขียน  ก็คือ  ประสบการณ์  ของนักเขียนผู้มีชื่อเสียง  เช่น ..........


นิเวศน์  กันไทยราษฎร์

คำว่า  "น่าอ่าน"  ไม่ได้แปลว่ามันสนุก   แต่การแสดงความคิดเห็นน่าสนใจ  ทำให้ผู้อ่านอยากจะรับรู้และติดตาม


บัลถะสาร์   กราเซียน

แม้แต่กษัตริย์ยังต้องเป็นนักเขียนและกลัวปากกาของนักเขียนเหล่านั้น  มากกว่าหญิงรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด  กลัวพู่กันของจิตรกร


สิทธิรักษ์  ตุลาพิทักษ์

โลกของนักเขียนไม่เคยปกติธรรมดาเหมือนชีวิตของคนทั่วไป  ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต  หน้าที่การงานตลอดจนวิถีการดำรงอยู่  รวมไปถึงสังคมแวดล้อมรอบตัว  และเหนืออื่นใด  "นักเขียน" ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลประเภทมี  "โลกส่วนตัว"  ซึ่งแข็งแกร่งและยากต่อการเข้าถึง  ทั้งยังมีกฎเกณฑ์กติกาเฉพาะตัวของนักเขียน  แต่ละคน  ซึ่งต่างไปจากชาวบ้านชาวช่องชนิดที่เห็นได้อย่างชัดเจน  แจ่งแจ้ง  ไม่ว่าเป็นอุปนิสัย  การแต่งตัว  หรือชีวิตความเป็นอยู่พื้นฐาน  ทัศนคติต่อโลกและความเป็นไปรอบตัว    คนที่ทำหน้าที่ปั้นแต่งถ้อยคำและตัวอักษร เรียงร้อยเพื่อให้เกิดเรื่องราวอย่างมีจินตนาการ  สร้างโลกเฉพาะที่เปี่ยมไปด้วยความตื่นเต้น  สนุกสนาน  และอารมณ์ความรู้สึก  โดยถ่ายทอดผ่านตัวละครหลายหลาย  จนก่อให้เกิดความรื่นรมย์ให้กับผู้ที่ได้อ่าน นำพาผู้คนโลดแล่นสู่ดินแดนลี้ลับ  สุดเพริศแพร้ว  ด้วยถ้อยคำและความหมาย  สามารถทำให้ผู้อ่านดื่มดำไปกับฉากชีวิตและเหตุการณ์จนปลุกเร้าความฮึกเหิม  ชักจูงให้คล้อยตาม  หรือจุดประกายความคิดฝัน  และอื่นๆ ทั้งหมดนั้นหลายคนอาจบอกว่าเป็น  "พลังและอำนาจ"  แห่งวรรณกรรม  แต่หลายครั้งและหลายคราว ชีวิตนักเขียนกับเรื่องราวที่พวกเขาเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมานั้น  มันก็ช่าง  "แตกต่างอย่างสิ้นเชิง   แม้ว่าหลายครั้งและหลายคราว  เรื่องราวจากหลายปากกาของนักเขียน  อาจเป็นส่วนเสี้ยวของชีวิตผู้แต่งแต่ละคน  หากถึงกระนั้น ก็มีมากกว่ามากนักที่ปรากฏว่า ชีวิตนักเขียนแต่ละตัวหนังสือที่เขารจนาขึ้นมานั้น  ห่างไกลกันเหลือเกินกับชีวิตจริง   ทั้งหมดนั้น  คือ ชีวิตของนักเขียน  ซึ่งลีลาชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป  แต่ล้วนสร้าง  "โลกเฉพาะส่วนตน"   ใครก็มิอาจยุ่งเกี่ยวเทียบเคียงได้  และก็ล้วนมีเส้นทางที่พิเศษไม่เหมือนใครๆ   คือ สีสันอันจัดจ้าน ซึ่งดูเหมือนว่าถูก  "กำหนด"  มาให้กับคนที่มีชีวิตเพื่อเป็นนักเขียน ......ถ่ายทอดเรื่องราวสู่ความคิดฝันของผู้คน


แมรี่  ฮิกกินส์  คลาร์

เพื่อจะเป็นนักเขียนคุณต้องลงมือเขียน  มีคำกล่าวว่าหากต้องการมีความสุขสักปีก็ให้ซื้อลอตเตอรี่   แต่หากคุณต้องการมีความสุขชั่วชีวิต  ก็ให้ทำให้สิ่งที่คุณรัก   เพื่อจะเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ  คุณไม่เพียงแต่มีความถนัดและความปรารถนาที่จะเขียนแต่คุณจะต้องลงมือเขียน

กับการเขียนมีข้อเสนอแนะที่ดีที่สุด  คือ เขียนเกี่วกับสิ่งที่คุณสนใจ  ที่คุณมองเห็นรอบตัวคุณและสิงที่คุณรู้  ถ้าไม่รู้จักมันก็แสดงหา  ทำวิจัย  เข้าคอร์สเรียน  ฟัง  จะสามารถเขียนถึงเรื่องราวที่เชื่อถือได้  แม้จะเคยถูกปฏิเสธต้นฉบับมาถึง  40  ครั้งแ้ล้วก็ตาม  ผู้อ่านตั้งฉายาให้เธอเป็นราชินีแห่งเรื่องลึกลับ

จุดสำคัญของการสร้างงานเขียนให้เป็นที่ต้องการของตลาดก็คือ  การที่นักเขียนจะต้องสะสมชื่อเสียง  ด้วยคุณภาพของงานที่สม่ำเสมอต่อเนื่องและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  ( รติรัตน์สรุปเอาเอง )


ทมยันตี

เป็นนักเขียนนวนิยายทำอย่างไร  ( รติรัตน์ สรุปมาจากการบรรยายของอาจารย์ทมยันตี ปี 2550)

เครื่องมือของนักเขียนใหม่คือ  "หัวใจกับสมอง"   พรสวรรค์  1 เปอร์เซ็นต์  นอกนั้นเคาะกระโหลกและมือขวาให้ดู  "ด้วยมันสมองและมือขวากับหยาดเหงื่อ  คุณสามารถเป็นนักเขียนได้  หมั่นเติมสมองให้พร้อมกับการเขียนที่ดี  หาวัตถุดิบ  ใครจะปรุงแต่งไว้แล้วก็ตาม  เกิดจากการอ่าน  ตราบที่คุณเป็นหนอนหนังสือ  เข้าห้องสมุดอ่านหนังสือ อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า  อ่านตลอดเวลา   อ่านไปเถอะหนังสือ  สามารถเก็บมาทำ  Plot  ได้ทั้งนั้น

นักเขียนฝึกหัดควรทำให้เป็นอุปนิสัยประจำตัว  นักเขียนที่ดีต้องสอดและเสือก  แส่ไปทั่วราชอาณาจักร  สอดรู้สอดเห็น  ซักให้ขาวใ้ห้ได้  แล้วเก็บสรรพสิ่งไว้ในสมอง  ที่นี้ก็ถึงเวลาลงมือเขียน  ก่อนเขียนต้องวา  Plot  เรื่องหรือโครงเรื่อง  ต้องถามตัวเองก่อนวันนี้อยากเขียนอะไร  ประเภท - แฟนซี  โรแมนติก  เรียลลิสติก  อิงประวัติศาสตร์  ผี จิตวิญญาณ  ฯลฯ  

ต้องทำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครเอาไว้  ทำรายละเอียดถึงขนาดที่ว่า  นางเอกผมยาวหรือผมสั้น  ต้องระวังว่าลักษณะของนางเอกเป็นอย่างไร  ชอบกินอะไร  ตัวละครสำคัญคุณต้องวางให้หมดว่าอายุอานามเท่าไหร่  ลักษณะนิสัย  จำให้ได้  ฉาก  การวางบ้านพระเอก นางเอก  คำนวณรายละเอียดต่างๆ ให้ครบ หลุดไม่ได้  ต้องเนียน

การเขียนหนังสือต้องใช้ทั้งศิลปะ และศาสตร์  ซื่อสัตย์กับ Plot  สำหรับสำนวนภาษาเป็นเอกลักษณ์และสร้างความน่าติดตามให้ผู้อ่านเสมอ  เมื่อไร่ที่คุณรู้สึกคนอ่านก็รู้สึก  ( เมื่อนักเขียนจนตัวเองร้องไห้  คนอ่านก็จะร้องไห้ตาม )


รติรัตน์  รถทอง  (ข้าวสาลี)

2550  :  นักเขียน มีการแบ่งแยกนักเขียนไว้ 2 ประเภท  คือ นักเขียนที่เป็นชาย  และนักเขียนที่เป็นหญิง  งานที่เขียนที่แท้จริงเมื่อเขียนออกมาเหมือนกันจะไม่มีเพศ  อายุ สมัย  แต่เป็นสภาวะแวดล้อม สังคมนั้นๆ  โดยผ่านมุมมองของนักเขียนสื่ออกมาเป็นเรื่องราวสร้างสรรค์มีคุณค่าเหมาะสมกับผู้อ่านที่ต้องการได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ  เพื่อเรียนรู้และได้รับความบันเทิง

2555 : นักเขียนคือผู้ทดลองเขียนอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับอยู่ในมุมหนึ่ง เพื่อเย้าแหย่ผู้คนให้โลดแล่น จับผู้คนทั้งหญิง  ทั้งชายให้มาอยู่ในงานเขียนของตน  และสนุกที่จะล้อเล่นกับคนที่อยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวัน  มองเขาดูเขาและเปรียบเทียบเขากับโลกเสมือนจริงตลอดเวลา  เปลี่ยนเขาให้กลายเป็นตัวละคร เปลี่ยนชีวิตของเขาให้อยู่ในตัวหนังสือของตัวเอง  พร้อมกับสั่งให้เขาทำงาน  นักเขียนคือพระเจ้าในโลกของการอ่าน  โลกที่มีทั้งจริงและไม่จริงอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่าง  การเขียนเรื่องสั้นๆ

หัวโขนของพร

พรเป็นหญิงสาวที่พูดตวาดคนที่ทำงานด้วยกัน  ด้วยอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เหมือนหญิงถูกสามีทอดทิ้ง  แต่ความเป็นจริงหล่อนแค่เอาความเครียดบางอย่างมาแสดงข่มคนอื่นๆ  คิดว่าตัวเองจะอยู่เหนือผู้อื่นเท่านั้น   โดยการนำความเกลียดนำมาผสมกันปนเปกับอำนาจบางอย่างที่หล่อนได้มาจากเจ้านายของหล่อน   และพร้อมจะตวาดผู้คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเธอด้วยความหม่นหมองของชีวิต  เวลาฉันมองเธอฉันเห็นความจริงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับโรงละครนี้

"เฮ้ย..อยากออกไปจากตรงนี้จริงๆ อึดอัด อยากไปเที่ยวไหนๆ ไกลสักพัก"  เสียงของหล่อนบ่นกับลมกับอากาศด้วยความรู้สึกจริง ๆ ในใจ  ทั้งอึดอัดและขัดใจอย่างยิ่ง  เพราะยิ่งพยายามที่จะทำงาน  หล่อนก็เหมือนกับติดบ่วงของกรงที่มองไม่เห็น  ภาระบางอย่างภายในจิตใจ การต่อสู้กันระหว่างความถูกต้องกับความไม่ถูกต้อง  กำลังขัดแย้งกัน  หล่อนคิดว่าการพูดเสียงดัง ตวาดนั้นจะส่งผลให้หล่อนคลายความเจ็บปวดใจบางสิ่งบางอย่างที่หล่อนพยายามซุกซ่อนไว้   ปกปิด  แต่เปล่าเลย   นับวันหล่อนก็จะหลงมัวเมาไปกับอำนาจที่ไม่เคยมีอยู่จริง   ด้วยวิถีชีวิตที่สังคม   สร้างขึ้นมา

ฉันก็ได้แต่นึกสงสารมนุษย์ผู้หญิงคนนี้เท่านั้น แต่ก็ทำได้แต่เงียบ  เพราะความเงียบเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดยั้งเสียงสะท้อน  บ่อยครั้งที่หล่อนหันมาเล่นงานฉัน  แต่ฉันก็ได้แต่ปล่อยผ่านไปบ้าง  เพราะหล่อนกำลังอับจนหนทาง  สิ่งที่จะแก้ไขบางอย่างในตัวของหล่อนก็คือ  การเป็นตัวของตัวเอง  การต้องอยู่ในสิ่งที่ครอบมากเกินไป  หล่อนก็เลยคับอกคับใจ





หมายเลขบันทึก: 509239เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ใครบางคนเคยบอกว่า "นักเขียนไม่มีพรสวรรค์ มีแต่พรแสวง" ขอบคุณบันทึกดีๆครับ

นักเขียนต้องมีมากๆ เลยคือความอดทน กับประสบการณ์ค่ะ ขอบคุณที่อ่านค่ะ ข้าวสาลี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท