กลุ่ม : ภาพจริง หรือ ภาพลวงตา


การทำงานเป็นกลุ่ม ต้องมีการปูพื้นฐานมาก่อน

     จากประสบการณ์ที่ผ่านมา  จะพบมีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มกันมาก    ทั้งในระดับนักเรียน  ระดับคุณครู   นักวิชาการ  และ ผู้บริหาร

                                                     

                           


 

       ในการประชุมอบรมต่างๆ  พอวิทยากรบรรยายไปได้สักพัก  ก็ให้ผู้เข้าประชุมแบ่งเป็นกลุ่ม  ระดมสมองร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  แล้วส่งตัวแทนมานำเสนอ



          การทำงานเป็นกลุ่ม  เป็นที่นิยมกันมากแต่เมื่อลองย้อนกลับมาวิเคราะห์ดูตามความเป็นจริง  ได้ผลดีแน่จริงหรือ


       หนังสือ"พลังของคนเงียบ ในโลกที่ไม่เคยหยุดพูด" ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการระดมสมองเป็นกลุ่ม ๓ ประการ มาจากการวิเคราะห์ของนักจิตวิทยา คือ



                          

       ประการแรกการอยู่เป็นกลุ่มทำให้เกิดความขี้เกียจ จะทำให้บางคนมีแนวโน้มที่จะถอยออกไปและปล่อยให้คนอื่นทำงาน

 

  ประการที่สอง จะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่สามารถพูดหรือสร้างไอเดียขณะที่สมาชิกคนอื่นๆ ถูกบังคับให้นั่งฟังอยู่เฉยๆ



    ประการที่ ๓ ความกลัวว่าตัวเองจะดูโง่ต่อหน้าคนอื่น

     

 

   
 

      ครับ ที่ผ่านมา ผมก็มักจะพบกับความล้มเหลวจากการทำงานกลุ่ม  ทั้ง สาม ประการดังกล่าวข้างต้น  ทั้งในห้องเรียน  ห้องอบรม   ห้องประชุมสัมมนา

 

        ถ้างั้น  ก็ไม่ควรจะทำงานเป็นกลุ่ม  อย่างนั้นหรือ



       ก็คงไม่เชิงนะครับ  กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มยังมีประโยชน์  มีความสำคัญ  และ มีความจำเป็นในการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน

 

       เพียงแต่ว่า  ต้อง “กำจัดจุดอ่อน” ทั้ง ๓  ประการดังกล่าวข้างต้นเสียก่อน

 

      ทั้งคุณครู  แล  ะวิทยากร  ก่อนที่จะให้เข้ากลุ่ม  ควรต้องสร้างบรรยากาศแห่งความปลอดภัย  บรรยากาศแห่งความไว้วางใจ   บรรยากาศแห่งความเท่าเทียมกัน  และ  ทักษะแห่งการฟัง


 

 

        ไม่มีการ "ปูพื้น"มาก่อน มาถึงก็มาจับเข้ากลุ่มกันเลย อย่างนี้ ก็คงพบแต่ข้อจำกัดมากมายที่อาจมีข้อจำกัด มากกว่าข้อดี


 

        เพราะที่เห็นได้ง่ายๆ คือเรายังไม่รู้สึกปลอดภัย รู้สึกไม่ไว้วางใจ และ รู้สึกไม่เท่าเทียมกัน นี่่ก็เป็นอุปสรรคเรื่องใหญของการทำงานเป็นกลุ่ม  ที่ทำให้กลุ่มเป็นเพียงภาพลวง  ที่มิใช่ภาพจริง

 

 

 

                                

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนการกลุ่ม
หมายเลขบันทึก: 509236เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

วันนี้ก็แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกได้เป็น 6 กลุ่ม แล้วให้นำเสนอหน้าชั้นเรียน

โชคดีว่า เขาเหล่านั้นรุ่นเดียวกัน สาขาวิชาเดียวกัน และรู้จักกันมาเป็นเทอมแล้ว

ดูง่ายที่จะนำเสนอมุมคิดต่าง ๆ ที่หน้าห้องครับ

  • ขอบคุณคะอาจารย์ ประทับใจในความเป็นผู้มองเป็นระบบ ทั้งต้นเหตุและหาวิธีแก้ จึงเป็นบทความสั้นๆ ที่น่าคิดต่อยอดเป็นอย่างยิ่ง...
  • สนใจตรงนี้ 

     ไม่มีการ "ปูพื้น"มาก่อน มาถึงก็มาจับเข้ากลุ่มกันเลย อย่างนี้ ก็คงพบแต่ข้อจำกัดมากมายที่อาจมีข้อจำกัด มากกว่าข้อดี

  • อาจารย์พอจะยกตัวอย่างวิธี "ปูพิ้น" (เข้าใจว่า การทำให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย) เพื่อจะได้น้อมนำไปใช้ต่อได้ไหมคะ

Ico48อ.ยูมิ ครับ

       เรียนรุ่นเดียวกัน    วิชาเดียวกัน   เรียนกันมาเป็นเทอม

       เป็นบริบทที่ดีที่ส่งเสริมต่อการทำงานเป็นกล่มนะครับ

       แต่....อาจจะไม่มีผลใดๆ ในทางบวกเลยก็ได้นะครับ

      ผมเอง  ตอนเรียน  ป.ตรี     ช่วงปีสามถึงปีสี่    เรียนรุ่นเดียวกัน   วิชาเดียวกัน  เรียนกันมาสองปี    พอมาทำงานกลุ่ม      ไปกันคนละทิศ คนละทาง ครับ

       ขออนุญาต เสนอมุมมองที่แตกต่างนะครับ   เพราะกลุ่มที่ดีๆ เขาก็มีมาก  ๕๕๕

Ico48อาจารย์ หมอ ป.  ครับ

    การ "ปูพื้น"  ที่จะให้เกิดความปลอดภัย ความไว้วางใจ ในการทำงานเป็นกลุ่ม  ผมจะเน้นไปที่บทบาทของการเป็น ผู้นำกลุ่ม   ครับ  นั่นคือ  ผู้นำกลุ่ม  ต้องเปลี่ยนจาก "คุณอำนาจ"  มาเป็๋น  "คุณอำนวย"   ที่ผ่านมา  ที่กลุ่มล้มเหลว  เพราะได้คุณอำนาจ มาเป็นผู้นำกลุ่ม   และ  วัฒนธรรมคุณอำนาจ   ด็ส่งต่อมาเรื่อยๆ จนไปถึง เด็กนักเรียน  พอแบ่งกลุ่ม   ผู้นำกลุ่มก็มักจะนำกลุ่มแบบคุณอำนาจ  ประมาณว่า ตัดสิน ฟันธง    ยึดตัวเองเป็นเกณฑ์   ไม่ฟังใคร ก็ทำให้เกิดบรรยากาศแบบ ๓ ประการ

    ที่ผม "ปูพื้น" ที่ผ่านมา ปูพื้นกับกลุ่มคุณครู ครับ   ฝึกประชุมเชิงปฏิบัติการ  ให้คุณครูมีทักษะการเป็นคุณอำนวย  หรือ Facilitator   โดยเน้นว่า  หัวใจของ Fa  คือ  ฟัง   และ ต้อง  "ฟังทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน"    และ ต้องฝึกทักษะการใช้คำถามกระตุ้นให้ทุกคนได้พูด ได้แสดงออก  ตามความแตกต่างระหว่างบุุคคล  นั่นคือ ใช้คำถามให้เหมาะกับคน

     และ  คนเป็น Fa ต้องไม่ด่วนสรุป  ไม่ด่วนตัดสิน ไม่ด่วนฟันธง   ให้ความสำคัญและให้คุณค่ากับทุกความคิดเห็น   แม้แต่ความคิดที่เราไม่เห็นด้วย

    ที่ผ่านมา  ก็ไม่ใช่ว่าจะปูพื้นได้สำเร็จนะครับ  เพราะยอมรับว่าวัฒนธรรมอำนาจนิยม  มันเป็นภูเขาน้ำแข็งในใจก้อนใหญ่มาก  ที่ยากจะทะลาย  ที่พอทำได้ คือ ทะลายน้ำแข็งในใจเราก่อนครับ

                                         ขอบคุณครับ

 

 

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความกระจ่างคะ อาจารย์มีเอกลักษณ์ที่น่าประทับใจตรงใช้คำน้อยแต่ทรงประสิทธิภาพ "เปลี่ยนจากคุณอำนาจเป็นคนอำนวย"

สวัสดีครับท่านรองฯวิชชา เป็นด้วยกับท่านรองฯ ครับ ในเรื่องของการปูพื้น เพื่อให้เกิดความวางใจแก่กันและกันก่อน ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน

Ico48ขอบคุณครับ อ.คมสัน  ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท