KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๘๐ ขยายผล Action Research ด้วย Peer Assist


ความรู้ที่สร้างขึ้นจาก Action เป็น Tacit Knowledge (TK)เกือบทั้งหมด เมื่อทำ reflection และสังเคราะห์เป็น Explicit Knowledge (EK) ก็ได้เป็นผลงานวิจัยแบบ Action Research เมื่อจะเอาไปใช้ที่อื่น ก็ต้องแปลง EK ไปเป็น TK ของอีกบริบทหนึ่ง แต่ Peer Assist เป็นการ ลปรร. TK โดยตรง ต่อกันง่ายกว่า และได้ ลปรร. ความรู้ส่วนที่เป็น contextual knowledge ด้วย ในสถานการณ์ที่ไม่ห่างไกลกัน การถ่ายทอด (หรือ ลปรร.) ความรู้ปฏิบัติผ่าน KM จึงได้ผลดีกว่า


          ในการประชุม 2nd Global Symposium on Health System Research (31 Oct – 3 Nov 2012) ที่ปักกิ่ง  ผมเข้าฟังรายการGovernance improvement : The role of action research and reflective practice  เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. เวลา ๙.๓๐ - ๑๑.๐๐น.


          ผมไปฟังด้วยคำถามว่า เขาขยายผลความรู้จาก action research อย่างไร  และพบว่าเขามองแบบ generalization ความรู้ที่ได้จากแต่ละโครงการ


          ที่เขานำมาเสนอคือ โครงการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ในพื้นที่ระดับจังหวัดของเรา  ที่เขาเรียก District เป็นโครงการในอัฟริกา  โดยทุนช่วยเหลือและนักวิชาการดำเนินการจากประเทศตะวันตก   โดยมีเป้าหมายคือพัฒนาระบบสุขภาพของพื้นที่ โดยพื้นที่เป็นเจ้าของโครงการ  กำหนดปัญหา โจทย์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และระบบข้อมูลเพื่อติดตามผล สำหรับปรับยุทธศาสตร์เอง  ทั้งหมดนั้นเป็นกระบวนการ Action และ Action Research


          โดยมีโครงการมานำเสนอ ๓ โครงการ จาก ๓ ประเทศ   และเชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของพื้นที่มาสะท้อนความคิดเห็น พื้นที่ละ ๑ คน  เป็นผู้หญิงทั้งหมด สรุปว่า ทั้ง ๓ โครงการได้ผลดี  เกิดการเปลี่ยนแปลงจากฐานล่าง คือระดับพื้นที่ ตามที่ต้องการ


          แล้วช่วงเวลาสำคัญสำหรับ KM ก็มาถึง  เมื่ออภิปรายกันถึง generalization  ซึ่งประธานของ session กล่าวว่า ต้องเอาข้อมูลจาก action มาทำ reflection เพื่อให้ได้ผลงานวิจัย  สำหรับให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ  ผมก็เถียงในใจว่า  สำหรับคนอื่นเอาไปใช้ต่อผ่านการวิจัยเป็นตัวกลาง ก็เป็นแนวทางหนึ่ง  แต่แนวทางที่น่าจะได้ผลดีกว่า คือผ่าน KM  ใครอยากใช้ความรู้จากทีมทำงานของแต่ละโครงการ ก็มาทำกระบวนการ Peer Assist กับทีมทำงานของโครงการ 


          ใครยังไม่รู้จัก Peer Assist อ่านได้ที่นี่


          ความรู้ที่สร้างขึ้นจาก Action เป็น Tacit Knowledge (TK)เกือบทั้งหมด เมื่อทำ reflection และสังเคราะห์เป็น Explicit Knowledge (EK) ก็ได้เป็นผลงานวิจัยแบบ Action Research  เมื่อจะเอาไปใช้ที่อื่น ก็ต้องแปลง EK ไปเป็น TK ของอีกบริบทหนึ่ง   แต่ Peer Assist เป็นการ ลปรร. TK โดยตรง  ต่อกันง่ายกว่า  และได้ ลปรร. ความรู้ส่วนที่เป็น contextual knowledge ด้วย  ในสถานการณ์ที่ไม่ห่างไกลกัน  การถ่ายทอด (หรือ ลปรร.) ความรู้ปฏิบัติผ่าน KM จึงได้ผลดีกว่า


          แต่ในสถานการณ์ที่อยู่ห่างไกลกัน หรือต้องการเผยแพร่ความรู้ในวงกว้าง  การถ่ายทอดผ่านการวิจัยและความรู้เชิงทฤษฎี (Explicit Knowledge) น่าจะได้ผลกว่า 



วิจารณ์ พานิช

๓ พ.ย. ๕๕

ปักกิ่ง



หมายเลขบันทึก: 508823เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท