ประเมินสถานการณ์เด่น ทางเศรษฐกิจไทย


ผลกระทบทางเศรษฐกิจไทย -อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะถูกผลักภาระ ให้กับผู้บริโภค สินค้ามีราคาแพง เงินเฟ้อ ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้น ทำให้ผลประกอบการกำไรลดลง หรือขาดทุน ได้

 ประเมินสถานการณ์เด่น ของธุรกิจ ในประเทศไทย  


สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ถูกผลกระทบจากปัญหาภาวะราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ขยับต่อเนื่อง ภาวะเงินเฟ้อที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงตามที่คาดการณ์ รวมไปถึงเรื่องของการเมืองที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ ไม่สามารถจัดทำงบประมาณแผ่นดินในปีหน้าได้ ทำให้เกิดความล่าช้า เงินที่ต้องถูกส่งเข้าไปในระบบเศรษฐกิจก็ช้าตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาลที่วางแผนจะส่งเข้าไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ถูกหั่นและยืดเวลาออกไปไม่มีกำหนด ทำให้เกิดความวิตกและเป็นห่วงเศรษฐกิจของประเทศ  ประเมินสถานการณ์ เด่น ในประเทศไทย มี ดังนี้

สถานการณ์ ทางการเมือง  ะลอตัวของการลงทุน   

ปัจจุบันเรามี รัฐบาลรักษาการ   เป็นช่วงสุญญากาศทางการเมือง รัฐบาลรักษาการจะทำงานตามนโยบาย และสานงานต่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย  รัฐบาลรักษาการโดยมารยาทแล้ว  จะไม่สร้างภาระที่ผูกพัน  ต่อเนื่องให้กับรัฐบาลใหม่    ทำให้ไม่เกิดโครงการ ขนาดใหญ่ ๆ  (โครงการเมกะโปรเจ็คต์    โครงการสร้างศูนย์ราชการ   เป็นต้น  )   ซึ่งหากภาครัฐ ไม่อัดฉีดเงิน เข้าในระบบ จะทำให้เกิดการ ชะลอตัวของการลงทุน  จะทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น  ขณะเดียวกันในภาคเอกชน  หรือนักลงทุนต่างประเทศ ก็จะรอความชัดเจน  นโยบายของรัฐบาลใหม่ ในการส่งเสริม การสนับสนุนอุตสาหกรรมว่าเป็นทิศทางใด   การประเมินอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศปีนี้ เชื่อว่าอัตราการเติบโตจะลดลง เมื่อเปรียบเทียบ กับปีก่อน    เพราะการประเมินเศรษฐกิจไทยอยู่บนพื้นฐานของการใช้จ่ายการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการที่ประเทศอยู่ระหว่างเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้     ความล่าช้าของงบประมาณ      ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เงินไม่หมุนเวียน ทำให้เศรษฐกิจไทยเกิดชะลอตัวของการลงทุน      

          การขัดแย้งทางการเมือง  มีการแบ่งเป็นฝ่ายกัน เกิดการใช้ความรุนแรงกันซึ่งอาจจะนำไปสู่ความไม่สงบสุขในบ้านเมืองได้  แต่ปัญหาได้คลี่คลายไปได้บ้างเนื่องจาก  เราได้มี กกต. ใหม่ ซึ่งจะทำหน้าที่ให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความยุติธรรม  และมีการกำหนดวันการเลือกตั้ง  คาดว่าภายในเดือน พฤศจิกายน  ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้ถูกปลดล๊อค ไปได้   แต่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะยังไม่ยุติ ถ้าหาก พตท. ดร.ทักษิณ  ชินวัตร  ไม่ได้เว้นวรรค ทางการเมือง และพรรค ไทยรักไทย  ได้คะแนนที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้  โดยให้ พตท. ดร.ทักษิณ  ชินวัตร  เป็นนายกรัฐมนตรี  อาจจะนำไปสู่การประท้วง  การต่อต้าน การกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี  และอาจจะนำไปสู่การนองเลือดขึ้นของทั้ง 2 ฝ่าย      

                   -ราคาน้ำมัน ที่ปรับเพิ่มขึ้น   ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลทำให้สินค้ามีราคาแพง  การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน ลดลงจากร้อยละ 4.5 เหลือร้อยละ 4 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน   ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้น ทำให้ผลประกอบการกำไรลดลง  หรือขาดทุน ได้     

                   -อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น  จะส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะถูกผลักภาระ ให้กับผู้บริโภค  สินค้ามีราคาแพง  เงินเฟ้อ   ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้น ทำให้ผลประกอบการกำไรลดลง  หรือขาดทุน ได้ 

การมองสถานการณ์ ของ ธปท. ไม่ให้เกิดความกังวล 

ม.ร.ว. ปรีดิยาธรร    เทวกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า เศรษฐกิจในปี 2549 ยังน่าจะขยายตัวได้ดี แม้จะรู้สึกหนักใจในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีอาจไม่มีการลงทุนจากภาครัฐ สืบเนื่องจากปัญหางบประมาณปี 2550 ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง แต่ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ไทยจะต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง ที่อาจต้องใช้เวลาบ้าง เพราะแม้ภาคการเมืองยังไม่นิ่ง แต่ภาคเอกชนยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้ เพราะรายได้ของประเทศร้อยละ 80 อยู่กับเอกชน และยังเชื่อว่าปีนี้การลงทุนโดยรวมน่าจะขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 2-3 จากที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ล่าสุด เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
ยิ่งการท่องเที่ยวของไทยยังขยายตัวได้ดี โดยไตรมาสแรกของปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในเดือน เม.ย.49 ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3

ส่วนการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนแม้จะลดลงจากร้อยละ 4.5 เหลือร้อยละ 4 แต่ปัจจัยที่ทำให้ลดลงไม่ใช่เรื่องการเมือง กลับเป็นเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลทำให้สินค้ามีราคาแพง เชื่อว่าหากราคาน้ำมันทรงตัวเมื่อใด การบริโภคก็จะกลับมาขยายตัวได้ดีเหมือนเดิม

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยไม่ถือว่ารุนแรง เพราะยังอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ต้องมีการเลือกตั้ง ซึ่งหากปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตยให้มีการเลือกตั้งก็จบ ระหว่างนี้ ธปท.ก็จะดูแลด้านเศรษฐกิจให้ดีที่สุด เชื่อว่าเอกชนจะทำให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ปัญหาขณะนี้คือเราวาดภาพเศรษฐกิจในด้านลบเกินไป อีกส่วนที่น่าเป็นห่วงคือการลงทุนของต่างชาติ เพราะส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความเป็นไปของการเมืองไทย ทำให้ขาดความมั่นใจจึงชะลอการลงทุนออกไป ซึ่งเรื่องนี้มันง่ายมาก เพียงแค่เราทำให้การเมืองมันเสร็จ ไปเลือกตั้งมันก็จะจบแค่นั้นเองผู้ว่า ธปท.กล่าวทิ้งท้าย
 

การมองสถานการณ์ ของ นายธนาคาร 

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนาพิเศษครบรอบ 30 ปี หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจหัวข้อวิกฤติประเทศไทย ยุคทุนนิยมไล่ล่ายอมรับว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ชะลอตัวบ้าง การประเมินอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศปีนี้ เชื่อว่าอัตราการเติบโตจะลดลงบ้าง เพราะการประเมินเศรษฐกิจไทยอยู่บนพื้นฐานของการใช้จ่ายการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) และการที่ประเทศอยู่ระหว่างเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้ความล่าช้าของงบประมาณมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เงินไม่หมุนเวียน ขณะที่ภาครัฐก็มีความพยายามที่จะเสริมการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการทุกอย่างจะต้องอยู่บนความพอดี อย่างไรก็ตามยังถือว่าเศรษฐกิจไทยช่วงนี้ยังพอไปได้ เพราะยังสามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มขึ้น

แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง อาจมีปัญหาหนี้เอ็นพีแอล ที่ตัวเลขยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ถ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดปัญหาได้ภายหลัง ซึ่งปัญหาเอ็นพีแอลที่กลับ เพราะภาคธุรกิจแข่งขันได้ยากขึ้น เนื่องจากภาระต้นทุนน้ำมันและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การบริโภคส่วนตัว การที่เงินเดือนไม่เพิ่มขึ้น  หากใช้
เงินเกินตัวก็จะมีปัญหาตามมาภายหลัง ส่วนอัตราการเติบโตของสินเชื่อปีนี้จะเติบโตในระดับที่พอไปได้ และมีความระมัดระวังมากขึ้น เพราะมีบทเรียนในอดีตมาแล้ว

ส่วนความไม่มั่นใจต่อตลาดหุ้นไทยของชาวต่างชาตินั้น น่าจะเป็นเพียงช่วงสั้น จึงไม่น่าห่วงจนเกินไป แต่สถานการณ์ในประเทศปีนี้ไม่ใช่ปกติ เพราะอยู่ในช่วงเปลี่ยนรัฐบาลใหม่และใช้เวลาในการเปลี่ยนนานกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

++ ย้ำระบบทุนนิยมทำศก.ไทยเสียศูนย์


นอกจากนี้ นายบัณฑูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ยังให้ความเห็นว่าระบบทุนนิยมที่เข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจไทยกลายเป็นทุนนิยมแบบไม่สร้างสรรค์ และทำให้คนไทยเสียเปรียบต่างชาติที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์ แม้ว่าทุนนิยมมีส่วนที่ดีคือทำให้มีการพัฒนาและมีความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นในอนาคต ซึ่งผลที่ได้จากทุนนิยมคือการบริโภคมากขึ้น ทางวัตถุดีขึ้นกว่าเดิมและหยุดไม่ได้พร้อมกับความกดดันให้เกิดผลผลิตมากขึ้น และธุรกิจจะพัฒนาเหมือนกับเด็กน้อยเติบโตขึ้นไปสู่การเป็นอสูรกาย มีตัวตัดสินคือผลตอบแทนต้องเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เพราะเป็นธรรมชาติของทุนนิยมว่าใครจะทำให้เงินงอกเงยกว่ากัน

แต่ปัญหาที่ทำให้เกิดรู้สึกสะดุ้งสะเทือนสำหรับทุนนิยมคือการได้ส่วนแบ่งที่ไม่เท่ากันจะมีมากขึ้น และเรื่องทุนนิยมไล่ล่านั้นมีความกดดันให้เปิดตลาดทั่วโลก เพราะทุนต้องการแสวงหาประโยชน์จากทุกแหล่ง ซึ่งกลุ่มที่มีเทคโนโลยีและความรู้มากกว่าจะได้ประโยชน์มากกว่า คำว่า วินวิน จึงแปลว่าตัวใหญ่กว่าไล่เตะก้นตัวเล็กกว่า

วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกิดขึ้นมีผู้อาสาสมัครเข้ามาจัดการสินทรัพย์ที่เป็นหนี้เสียและเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งขอเรียกว่าแร้งลงซึ่งประเทศไทยไม่มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาก่อน ทำให้เป็นครั้งแรกของชีวิตที่ให้ต่างชาติเข้ามาซื้อสินทรัพย์ที่เป็นหนี้เสียของไทยได้ในราคาเฉลี่ยเพียงร้อยละ 20 ของต้นทุนเดิมเท่านั้น ซึ่งเวลาผ่านไป 7-8 ปีได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถมีมูลค่าคืนสูงถึงร้อยละ 60 จากต้นทุนเดิม จึงเห็นได้ว่ามีคนได้กำไรถึงร้อยละ 40 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ ดังนั้น จึงเป็นทุนนิยมที่ไม่สร้างสรรค์ เพราะที่ใดมีความอ่อนแอจะมีคนตัวใหญ่มีกำลังมีความรู้มาหาผลประโยชน์

นักธุรกิจไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ให้เร็ว เพราะหากไม่มีความรู้ ก็จะไม่สามารถต่อสู้ได้ โดยจำเป็นต้องรู้ทั้งเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์การจัดการ หากไม่รู้ กิจการจะเพลี่ยงพล้ำได้ ซึ่งยังเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย โดยภาคธุรกิจอย่าทำเกินตัว อย่าใช้เกินตัว และหากยังอยากมีความเป็นไทยอยู่ก็ต้องเลือกทางเลือกให้เป็นไท ซึ่งประเทศไทยจะต้องมีวัฒนธรรมไทยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ สินค้าไทยิก็ต้องยกระดับ หาไม่แล้วประเทศไทยจะกลายเป็นหน่วยหนึ่งของธุรกิจเท่านั้น นอกจากนี้ ภาคธุรกิจต้องมีอาริยะขัดขืนบ้าง กล่าวคือจะต้องสู้ มิเช่นนั้นจะถูกกลืนนายบัณฑูร กล่าว

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ONLINE

หมายเลขบันทึก: 50802เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท