อัตตวาทุปาทาน กับ วิชาการ


 

อัตตวาทุปาทาน  กับ  วิชาการ


อัตวาทุปาทาน คือ อะไร ???
คือ  ความยึดมั่นถือมั่น ในอัตตาตัวตน 
ในพระไตรปิฏก ในพระสูตร โปฏฐปาทสูตร ที่ 9

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=6621&w=%CD%D1%B5%B5%D2_%F3
ได้กล่าวถึงเรื่อง อัตตา ว่ามีอยู่สามอย่าง คือ
อัตตาประเภทแรก คือ  อัตตาที่หยาบ หรือ รูปอัตตา
เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ก่อขึ้นมาแล้วมีภาษาเรียกเป็นตัวตน
 เช่น สิ่งที่ภาษาเรียกคน  แต่แท้จริงไม่ใช่ตัวตน  นั่นก็คือ ขันธ์ทั้งห้า 
อัตตาประเภทที่สอง คือ อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ 
ได้แก่  การสร้างภาพนิมิตต่าง ๆ ด้วยจิต
 แล้วมีภาษาเรียกเป็นตัวตนอัตตาประเภทที่สาม
คือ อัตตาที่ไม่มีรูป หรือ อรูปอัตตา ได้แก่ สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง 
แล้วมีภาษาเรียกเป็นตัวตน เช่น สังคมการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนเกิดเอกลักษณ์ร่วม
จัดเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริ ง แต่มีภาษาเรียกเป็นตัวตน มีชื่อ

คำแนะนำของพระพุทธเจ้าคือ ให้ละเสีย
 

มีคนนำเอาอัตตาประเภทที่สามไปใช้  เช่นมหาตมะ คานธี 
ได้ทราบพลังสองอย่างของอัตวาทุปาทาน กับชีวิตของท่านคานธี
มหาตมะคานธี  ได้มีความมุ่งมั่นที่จะกอบกู้เอกราชให้กับอินเดีย
โดยที่ท่านได้เริ่มจากตัวท่านเอง โดยการสร้างอัตลักษณ์ส่วนตัว
ให้กับตัวท่าน โดยท่านใช้ชีวิตอย่างนักบวช  เรียบง่าย พึ่งตนเอง
และสร้างอุดมการณ์ชาตินิยมอินเดีย ขึ้นสู้กับเจ้าอาณานิคม
และก็ต่อสู้ได้สำเร็จ  อังกฤษก็ให้เอกราชแก่อินเดีย
แต่ต่อมา พลังชาตินิยมอินเดีย ได้กลายเป็นอุดมการณ์ย่อย
จนแยกประเทศเป็นอินเดีย และ ปากีสถาน
จากนั้นสองกลุ่มอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกันก็ยังขัดแย้งกัน
จากความจริงทางประวัติศาสตร์อินเดีย 

ดังนั้น อัตตาประเภทที่สาม มีผลมาก ทั้งทางบวกและลบ
อัตตาประเภทที่สาม นี่น่าจะหมายความรวมถึง วิชาการด้วย
วิชาการ เป็นการสร้างความหมายอย่างหนึ่ง  โดยเฉพาะ
วิชาการสายตะวันตก  ซึ่งตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบ
โดยใช้แบบจำลองคำตอบ ซึ่งแต่ละยุคสมัย ก็มีแบบจำลองคำตอบ
ที่ต่าง ๆ กัน  พยายามที่จะทำลายชุดจำลองคำตอบของกัน
ซึ่งคำตอบหรือชุดจำลองคำตอบนั้นถูกสร้างขึ้นมา แล้วเรียกชื่อ
และใช้อำนาจจัดประเภท ขึ้นอยู่กับอำนาจนั้นจะสถาปนาและ
ครอบครองความเป็นเจ้า  แห่งวิชาการนั้น  ส่วนวิชาการสาย
ตะวันออก เป็นนัยว่าอาจารย์ทั้งหลายที่สืบต่อความคิดกัน ด้วยวิธี
การท่องจำสืบ ๆ กันมา  แล้วคนรุ่นหลังก็ถือตามแบบฉบับของอาจารย์
รุ่นเก่า ๆ นั้น 

วิชาการแบบไทย ๆ นั้น  รวมอำนาจทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน
ก็คือ การนำเอาแบบคำตอบ หรือแบบจำลองคำตอบ ที่ตนเอง
ได้ไปเรียนรู้มา  คิดว่าสิ่งนี้คือสัจธรรมแล้วนำไป ท่องจำสืบ ๆ กันมา
ตามแบบฉบับตะวันออก  ผลก็คือ วิชาการแบบนี้ ไม่ได้ศึกษา
แบบจำลองคำตอบทุกแบบ  เพื่อนำเอามาศึกษา วิพากษ์ วิจารณ์
ซึ่งอาจเกิดแบบจำลองคำตอบแบบใหม่ ๆ หรือการประยุกต์คำตอบ
ให้สัมพันธ์กับบริบท  เพราะฉะนั้นเราจึงได้อะไรแบบกึ่งดิบ กึ่งดี 
ไม่เป็นตัวของตนเอง  และความรู้หรือวิชาการเหล่านั้นเป็นวิชาการที่ตายแล้ว

เพราะฉะนั้น อัตตวาทุปาทาน  การยึดมั่นในอัตตาของวิชาการหรืออรูปอัตตา
ก่อให้เกิดการจัดประเภทตามอำนาจของวิชาการ ยกตัวอย่างง่าย ๆ การอธิบาย
ปัญหาชนบท ด้วยคำง่ายๆ เช่นปัญหาในชนบท คือ โง่ จน เจ็บ  คือการมอง
ของนักวิชาการบางกลุ่ม ที่จัดประเภทมนุษย์จากวิชาการทำให้เกิดความทุกข์
การสร้างวาทกรรมทางวิชาการ เช่นการวัดประเมินผล  ความโง่ ความฉลาด
จากด้านเดียว มิติเดียว เป็นการใช้อำนาจที่ก่อทุกข์โทษ อย่างมหาศาล
หนึ่งในนั้นได้แก่ ไอน์สไตน์  ซึ่งมีคำเหน็บแนบระบบการศึกษามาตลอด
หรือ การแทรกแทรงระบบความคิด หรือการพยายามเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
ด้วยวิทยาศาสตร์พฤติกรรม ก็จัดเป็นอัตตวาทุปาทาน

อย่างไรก็ตาม การยึดมั่นแบบนี้ก็มีประโยชน์และพลังอยู่เหมือนกัน
เพียงแต่  ความรู้ หรือ วิชาการ นั้น มุ่งรับใช้ใคร  มากกว่า
รวมทั้งข้อเขียนนี้ก็เป็นอัตตวาทุปาทานชนิดหนึ่งเช่นกัน
สิ่งที่เห็นง่าย ๆ ของอัตตวาทุปาทาน ในสังคมง่าย ๆ ก็คือ สีเสื้อ
ใช่ไหมเอ่ย ???

หมายเลขบันทึก: 506799เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2012 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

กับบทความดี ๆ 

ผมคิดว่าอัตตาทั้งสามที่อท่านอธิบายเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมดนะครับ

อันแรก อาจเรียกได้ว่าอัตตาภายนอก เพราะใช้ ตา จมูก กาย ในการสัมผัส

อันที่สอง อาจเรียกได้ว่า อัตตาภายใน เพราะใช้ใจ สัมผัส

อันที่สาม ก็เรียกได้ว่า อัตตาภายในและอัตตาภายนอกเช่นกัน เพราะใช้ใจและตา กาย ในการสัมผัสกับอรูปอัตตา สิ่งที่ไม่มีรูป

จริงแล้วพระพุทธองค์ไม่ได้ให้ละนะครับ  แต่เป็นการแยกและให้เราเข้าใจอัตตาในแต่ะภาวะ

มนุษย์จำเป็นต้องมีอัตตาในการทำความดี ความชั่ว และสิ่งต่าง ๆ 

ส่วนพระอริยะ/พระอเสกขะ  ก็จะสามารถกำจัดตัวนี้ไปเอง ตอนได้เป็นพระโสดาบันแล้ว 

จะเห็นได้ว่าเป็นการเข้าใจในแต่ละสถาน และจำสามารถละไปได้เองตามองค์ธรรมนะครับ

มักมีผู้กล่าวว่าให้ละ  แต่ผมก็ไม่ทราบนะครับ ท่านจะละยังไง  สิ่งนี้ไม่สามารถละได้ด้วยการกล่าวนะครับ แต่เป็นการละจากการที่องค์ธรรมเราเพิ่มขึ้นมากกว่า

 

ส่วนวิชาการนั้น  เป็นอัตตาไหม  ผมมองว่าเป็นองค์ประกอบของบุคคลทำให้เพิ่มอัตตาได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่อัตตานะครับ เปรียบได้กับเสื้อผ้าที่เราใส่มากกว่า  สามารถเปลี่ยนได้ไปเรื่อย ๆ ความรู้ก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ 

ขอกล่าวไว้แค่นี้ก่อนนะครับ

 

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท