วิธีป้องกัน'ลืมโน่นลืมนี่'สำหรับคนขี้ลืม


.
HealthBEAT จากสำนักพิมพ์ฮาร์วาร์ด ตีพิมพ์เรื่อง 'Tips to get the most from your memory'
= "เคล็ดลับ (วิธี) เค้นความจำของคุณเกือบทั้งหมดมาใช้" = "เคล็ดลับ (ทิป) ป้องกันลืมสำหรับคนขี้ลืม (ความจำไม่ดี), ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ผศ.ดร.แอนน์ ฟาบินี จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า สมองคนเราเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น
วิธีป้องกัน "ลืม" สำหรับคนขี้ลืม หรือความจำเสื่อมบางส่วนได้แก่ การทำ "บางเรื่อง" ให้เป็นกิจวัตร (routine - รูทีน) หรือเหมือนเดิมทุกวันได้แก่
.
(1). ทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน (แบบเดิมๆ)
.
ฝึกวางของไว้ที่เดิม โดยเฉพาะของที่จะต้องพกติดตัวเวลาออกนอกบ้าน เช่น กุญแจรถ กุญแจบ้าน แว่นตา โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
.
ถ้าทำแล้วยังลืมอีก... ให้หาตะกร้ามา 2 ใบ, ใบหนึ่งใช้ใส่ของที่จะใช้นอกบ้าน อีกใบใช้ใส่ของที่จะใช้ในห้องน้ำ
.
กล่าวกันว่า ถ้าทำเรื่อง "กิน-นอน-ถ่ายหนัก-ออกกำลัง" ให้เป็นกิจวัตรได้ จะทำให้อายุยืนอย่างมีคุณภาพ เพราะนาฬิกาชีวิต และฮอร์โมนไม่ตีรวน
.
และอย่าลืม... ถ้าหาแว่นตาไม่เจอ ให้รีบส่องกระจก เพราะคนที่สวมแว่นจนชินหลายๆ คน หาแว่นทั้งๆ ที่สวมแว่นอยู่ ทำให้นึกถึงคำเรียกขวัญโบราณที่ว่า "ขวัญเอ๊ย... ลงกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว"
.
(2). ทำอะไรให้ช้าลง
.
การทำอะไรให้ช้าลง ช่วยให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้น สมองมีเวลาเก็บข้อมูล-บันทึกข้อมูลมากขึ้น
.
ถ้ามีเรื่องต้องทำหลายเรื่อง... ให้เขียนใส่กระดาน เช่น ไวท์บอร์ด (white board) ฯลฯ แล้วใส่เลขกำกับลำดับความสำคัญ (priority) ว่า เรื่องไหนต้องทำก่อน เรียงตามตัวเลข 1, 2, 3, ...
.
.
(3). ใส่ใจ (เอาใจใส่) กับเรื่องที่กำลังทำ
.
เรื่องนี้ตรงกับคำสอนของครูบา อาจารย์หลายท่านที่ว่า "ให้อยู่กับปัจจุบัน" และทำทีละอย่าง เช่น เวลากินข้าว... ไม่ควรเปิด TV, ให้นั่งลง กินช้าๆ เคี้ยวช้าๆ เคี้ยวให้เบาลง (เคี้ยวแรงๆ เพิ่มเสี่ยงฟันสึก) ฯลฯ
.
พระอาจารย์เรวตะ อาจารย์กรรมฐาน วัดพะเอ๊าตอย่า เมาะละแหม่ง พม่า (ท่านเป็นลูกครึ่งไทย-พม่า) สอนให้เคี้ยวช้าๆ 30 ครั้ง/ทำ ซึ่งถ้าใช้ข้าวกล้องแช่น้ำข้ามคืน หุงเช้า จะได้ข้าวที่ทำให้ "เคี้ยวช้าลง" 
.
(4). หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึก หรือมีสิ่งเร้ามากเกินไป
.
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสถานที่หลายแห่งมีเสียงดัง เช่น งานวัด-งานศพ-งานรื่นเริงบ้านนอก ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ... ทำให้เสี่ยงหูเสื่อม-หูตึงด้วย จิตหลุดจิตลอย ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวด้วย
.
.
(5). ทำงานทีละอย่าง
.
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน (multitasking) เช่น กินข้าว+ดู TV, กินข้าว+พูดมาก (พูดมากเวลากิน ทำให้กลืนลมลงท้องมากขึ้น เสี่ยงกรดไหลย้อน ท้องอืด ท้องเฟ้อมากขึ้น) ฯลฯ
.
ถ้าชอบเปิดเพลงเวลาทำงาน... น่าจะลองหาเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง หรือมีเนื้อร้องภาษาที่เราฟังไม่รู้เรื่อง เปิดให้เบาลง จะช่วยให้ทำงานได้ดีกว่าเพลงที่มีเนื้อร้อง
.
(6). นอนให้พอ
.
คนส่วนใหญ่ต้องการนอน 7-8 ชั่วโมง, คนส่วนน้อยต้องการนอนน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้
.
ถ้าเป็นไปได้, ควรฝึกตื่นเวลาเดิมเสมอ เพราะการเปลี่ยนเวลาตื่นเพิ่มเสี่ยงนอนไม่หลับในวันต่อๆ ไป
.
.
(7). ลดเรื่องเครียด
.
การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ สวดมนต์ ฝึกสมาธิให้ถูกวิธี (ระวังสำนักที่เน้นการบริจาค เพราะอาจทำให้หมดตัวได้)
.
การออกกำลังแบบตะวันออก เช่น ไทชิ-ชี่กง มวยจีน โยคะ, พิลาทิส (คล้ายโยคะ) ฯลฯ หรือการออกกำลังแบบ "เหงื่อตกกีบ (อะไรก็ได้ที่ทำให้เหนื่อยเต็มที่ เหงื่อออก)" มักจะช่วยลดความเครียดได้ดีกว่าการออกกำลังแบบอื่นๆ
.
(8). ฝึกลดมองโลกในแง่ร้าย
.
ฝึกลดนิสัยเปรียบเทียบตัวเองกับคน อื่น หรือเอาคนหนึ่งไปเปรียบเทียบกับอีกคนหนึ่ง เช่น ฝึกไม่เปรียบเทียบลูกหลานกับพี่น้อง ฯลฯ... การเปรียบเทียบ แข่งขันที่มากเกินไป เพิ่มเสี่ยงความรู้สึกอิจฉาริษยา และทำให้คนแตกแยกกัน
.
ฝึกลดนิสัยนินทาคนอื่นลับหลัง และฝึกชมคนอื่นลับหลัง โดยเน้นชมการกระทำ เช่น วันนี้เห็นบ้านสะอาดควรออกปากชม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง...
.
กล่าวกันว่า "ชมต่อหน้าออกฤทธิ์แรงแต่สั้น ชมลับหลังออกฤทธิ์ช้าแต่นาน" จึงควรชมทั้งต่อหน้าและลับหลัง, การชมการทำดีบ่อยๆ ทำให้คนรอบๆ ตัวเราอยากทำดี-อยากเป็นคนดี, ทำให้คนดีอยากคบหาเรา
.
ฝึกลดการดูละครอิจฉาริษยา เพราะเพิ่มเสี่ยงการมองโลกในแง่ร้าย งมงาย และใจแคบ
.
.
(9). ฝึกเพิ่มมองโลกในแง่ดี
.
การฝึกมองโลกในแง่ดี ทำได้หลายทาง เช่น ฝึกให้อาหารสัตว์ สมัครเป็นอาสาสมัครที่โรงพยาบาล ฯลฯ ทว่า... เรื่องที่ทำได้ทันทีทุกวัน คือ ฝึกกล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ-ขอโทษ" ให้เป็น แบบที่คุณครูภาษาไทยสอนไว้
.
การกล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ" หรือไหว้ขอบคุณเป็น บ่งว่า คนกล่าวมีใจสูง-ใจกว้าง กตัญญูกตเวที
.
การกล่าวคำ "ขอโทษ" หรือไหว้ขอโทษเป็น บ่งว่า เป็นคนกล้า ไม่เย่อหยิ่งโอหัง และมีพลังในการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส พลิกร้ายให้กลายเป็นดี และเป็นคนที่ "ดีขึ้นได้ (พร้อมที่จะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น)"
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 

> [ Twitter ]

  • Thank HealthBEAT > http://www.health.harvard.edu/press_releases/11-tricks-and-tips-to-get-the-most-from-your-memory
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 25 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

 

หมายเลขบันทึก: 506748เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2012 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • น่าสนใจมากเลยครับ
  • โดนเฉพาะทำทีละอย่าง
  • ผมเคยลืมแม่ทิ้งไว้ที่ตลาดครับ
  • 555

ขออนุญาตเอาไปใช้ทุกหัวข้อเลยนะคะ

ดีมากๆ ครับ ขออนุญาตนำไปใช่ทุกข้อเช่นเดียวกันครับ

เคยลืมแว่นตาไว้ที่หน้า หาตั้งนานค่ะ

ช่วงนี้ขี้ลืมบ่อยๆ จะนำไปใช้นะค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท