การศึกษาไทยกับประชาคมอาเซียน


บันทึกนี้เกิดจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้รับ อาจจะสมบูรณ์หรือผิดพลาด ต้องใช้วิจารณญาณกันนะครับ

บันทึกสัมมนาวิชาการ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย

เรื่อง “การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความท้าทายของนักการศึกษาไทย” และ

การเสวนา เรื่อง “เหลียวหลัง แลหน้าการศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน”

ณ ห้องประชุม อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร

19 ตุลาคม 2555

    


                ในการสัมมนาวิชาการครั้งนี้จุดประสงค์ คือ การเตรียมความพร้อมให้กับนักการศึกษา และครูผู้สอน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : Association of South East Asian Nations : ASEAN) ที่เป็นรูปธรรมในปีพ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้ ซึ่งประอบด้วย 3 เสาหลัก คือ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และ สังคมและวัฒนธรรม (ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เหมือนกับว่าจะเป็นการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เสียมากกว่า) เพราะทุกวันนี้เราพบเห็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลประชาคมอาเซียนตั้งแต่เช้าจรดเย็น จากสื่อมวลชน ภาครัฐ และในโรงเรียน จนเหมือนกับว่าอาเซียนเป็นสิ่งใหม่ที่เราต้องเตรียมรับมือหรือเปล่า ?

                หากพิจารณาในประวัติความเป็นมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเราอยู่ในประชาคมอาเซียนกันมาตั้งนานแล้ว...

                ประเด็นสำคัญคือ จะเกิดอะไรขึ้นในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งจากการฟังวิทยากรร่วมอภิปรายพบว่ามีผลกระทบในแง่บวกและลบ โดย

                                Global sourcing/networking เกิดการทำงานและความร่วมมือในประเทศสมาชิกได้ดีขึ้น

                                Global lifestyle การรวมกลุ่มจะนำไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่

                                Trade and culture เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจทำให้เกิดการผสานวัฒนาธรรม เกิดวัฒนธรรมใหม่ หรือการสูญหายของวัฒนธรรมได้

                                High energy costs การรวมกลุ่มประเทศอาจช่วยให้เกิดความร่วมมือและความมั่นคงด้านพลังงาน หรืออาจเกิดภาวะขาดแคลนพลังงานก็ได้

                                Innovation เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือรูปแบบการผลิตใหม่ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายและแลกเปลี่ยนร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียน

                                Aging society การร่วมมือทางการแพทย์และสาธารณูปโภค นำไปสู่คุณภาพ และสุขภาวะของประชาชนในประเทศกลุ่มอาเซียน

                                Global power shift เกิดศูนย์อำนาจการต่อรอง เช่นเดียวกับ EU

                จะเห็นได้ว่าประโยชน์ในแง่บวกคือสภาเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง แต่ผลกระทบทางลบไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรมและการค้ายาเสพติดข้ามชาติเป็นสิ่งที่น่ากังวล ยังไม่รวมถึงความขัดแย้งทางวัฒนธรรมและความเชื่อรวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการรวมกลุ่มประเทศ...มาถึงวันนี้ เราคงเปลี่ยนอะไรไม่ได้ แต่เราคงต้องรู้เท่าทันถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น แล้วกลับมามองตัวเองว่าเราพร้อมรึยังในการรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้น

                เมื่อหันกลับมามองเยาวชนไทย พบว่า เด็กไทยขาด:

                                ทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ วางแผน

                                รักการอ่าน การทำวิจัย

                                คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย

                                ความเชื่อมั่นในตนเอง

                                การฝึกอบรม

                                การสงสัย การถามคำถาม การศึกษาแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

                                ความสามารถในการเชื่อมโยงการศึกษากับภาคแรงงาน (ไม่รู้ว่าจบไปแล้วทำอะไร)

                เราต้องรีบพัฒนา โดยต้องให้ความสำคัญของคนมากกว่าองค์กร คือมองให้ไกลกว่าไทย (แต่ไม่ลืมความเป็นไทย) ทำงานเป็นทีมให้เป็น  พัฒนาทักษะการคิดให้ก้าวไกล พัฒนาทัศนคติเชิงบวกในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างระดับการศึกษา เชื้อชาติ วัฒนธรรมที่แตกต่าง ไม่ลืมอดีต แต่ต้องไม่ยกอดีตมาเป็นข้อขัดแย้งให้เกิดกับประชาชนในแต่ละประเทศ

                หากพิจารณาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของไทย พบว่า ภาคเศรษฐกิจมีความพร้อมมากที่สุด ความมั่นคงเป็นสิ่งที่การเสวนานี้มิได้กล่าวถึง เพราะวิทยากรทั้งหมดไม่ได้อยู่ฝ่ายความมั่นคง (การเมืองในประเทศและต่างประเทศในปัจจุบันค่อนข้างมีเสถียรภาพมากในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ปัญหาอาชญากรรมและการค้ายาเสพติดข้ามชาติยังคงเป็นปัญหาคาใจ) แต่ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งระบบการศึกษาไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจในสภาพสังคมวัฒนธรรมที่มิใช่การแต่งชุดประจำชาติ เพราะจะมีสักกี่คนในประเทศนั้นๆ แต่งชุดประจำชาติตลอดเวลาหรือทั่วไป การเรียนรู้สภาพสังคมจริงๆ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ควรเข้าใจเพื่อลดความขัดแย้งและส่งเสริมมิตรภาพอันดีต่างหากที่ควรสนับสนุนให้เกิด ภาษาที่สาม (มีนโยบายให้จัดการศึกษาภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และภาษาประเทศในกลุ่มอาเซียนเลือกมาหนึ่งเป็นภาษาที่สาม) จำเป็นหรือไม่ หากเยาวชนไทยยังใช้ภาษาไทยไม่ได้ดีเลยด้วยซ้ำภาษาอังกฤษยิ่งไม่ต้องพูดถึง แล้วภาษาที่สาม...

                เยาวชนไทยไม่ใช่คนไร้ความสามารถ แต่เราต้องเตรียมความพร้อมให้กับเขาเหล่านั้นสามารถเผชิญปัญหา และสถานการณ์ต่างๆได้ด้วยตนเอง ซึ่งนักการศึกษาและผู้หลักผู้ใหญ่ในไทยควรตระหนักแต่ไม่ตระหนก หรือคำนึงถึงแต่ประโยชน์ทาเศรษฐกิจโดยลืมสภาพสังคม ประชาชน หรืออาชญากรรม

 

 

ผู้เขียนได้อัพโหลดข้อมูลอาเซียนศึกษาซึ่งได้รับแจกจากการสัมมนาในครั้งนี้ไว้ที่

http://www.4shared.com/rar/r-BZJm1I/AECforTeacher.html

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจไม่มากก็มากที่สุด ^u^

 

วิทยากรปาฐกถา “การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความท้าทายของนักการศึกษาไทย”

คุณบุษฎี  สันติพิทักษ์           ผู้แทนอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

วิทยากรร่วมเสวนา “เหลียวหลัง แลหน้าการศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน”

ดร. สมเกียรติ  อ่อนวิมล       นักวิชาการสื่อสารมวลชน

ดร. เบญจลักษณ์  น้ำฟ้า      รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร        ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

รองศาสตราจารย์ ดร. มนตรี  แย้มกสิกร        คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต  เอราวรรณ์        คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

เว็บไซต์น่าสนใจ

http://www.asean.org/

http://www.thai-aec.com/

http://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/

http://www.nfe.go.th/en/index.php?option=com_content&view=article&id=133&Itemid=67

หมายเลขบันทึก: 506688เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2014 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมากครับ...สำหรับแรงกระตุ้น...ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญมากในการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะในประเด็นที่เด็กไทยขาด ผู้ปกครองสามารถเติมเต็มได้...ขอบคุณครับสำหรับบทความดีดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท