สอบบรรณารักษ์ 38 ค.(2), ประเมินภายนอก 149 แห่ง, นศ.:ครู กศน.ตำบล 60 คน, ขออนุญาตประกอบวิชาชีพ, ปรับ งด.ขรก.ครู, คู่มือผิด, ยุธยาพัฒนาแล้ว(ลดวิชาเรียน), สอบ N-NET ไม่ครบวิชา, ไม่พบกลุ่มให้ มส. สอบปลายภาคต้องได้ 30 %, ไม่มีแนวทางเทียบโอน, พระเรียน ม.ปลาย


ครู ศรช.รับผิดชอบนักศึกษา 70 คน จึงจะได้ค่าตอบแทนเดือนละ 11,680 บาท, วิธีการขออนุญาตประกอบวิชาชีพ, ต้องเข้าสอบ N-NET ทั้ง 2 ฉบับ, พบกลุ่มต่ำกว่าเกณฑ์ไม่มีสิทธิสอบปลายภาค สอบปลายภาคต้องได้อย่างน้อย 12 คะแนนจาก 40 คะแนน, คู่มือการดำเนินงานผิด จบนาฏศิลป์ชั้นต้นมา ต้องให้เรียน ม.ปลาย, สอบข้าราชการประเภทบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ประมาณ ธ.ค.55 หรือ ม.ค.56

สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11 เรื่อง ดังนี้

 

         1.วันที่ 16 ต.ค.55 ผมตอบคำถาม “กศน.ต.ล้านนาน้องใหม่ อ.เวียงสา” ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊คว่า  กรณี ครู กศน.ตำบลเป็นพนักงานราชการ กำหนดนักศึกษาให้ได้ 70 คนต่อตำบล หากได้จำนวนนักศึกษาไม่ครบให้ครู กศน. กินเงินค่าตอบแทนเป็นรายหัวแทนเงินเดือนที่จะได้รับจำนวน 15,000 บาทใช่มั๊ย   ตอนนี้มีการเข้าใจว่าครู กศน.ตำบลยังเป็น ครู ศรช.อยู่มิได้เป็นพนักงานราชการเหมือนครูอาสา จำเป็นต้องหานักศึกษาให้ครบ 70 คนอยู่
             ผมตอบว่า   ในหนังสือที่แจ้งให้ครู ศรช.รับผิดชอบนักศึกษาไม่น้อยกว่า 70 คนนั้น ไม่ได้พูดถึงครู กศน.ตำบล  บทบาทหน้าที่ครู กศน.ตำบลยังรับผิดชอบนักศึกษา 60 คนเหมือนเดิม   กรณีที่ครู กศน.ตำบลรับผิดชอบนักศึกษาน้อยกว่า 60 คน ก็ไม่สามารถให้ครู กศน.ตำบลซึ่งเป็นพนักงานราชการเปลี่ยนไปรับค่าตอบแทนเป็นรายหัวได้ เพราะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากเงินอุดหนุนรายหัว  แต่ผลที่ครู กศน.ตำบลจะได้รับจากการที่รับผิดชอบนักศึกษาน้อยกว่า 60 คน คืออาจเป็นเหตุให้คะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำ ได้เพิ่มค่าตอบแทนด้วยเปอร์เซ็นต์ต่ำ และถ้าคะแนนการประเมินฯ 2 ครั้ง ใน 1 ปี เฉลี่ยต่ำกว่าดี ก็ต้องเลิกจ้าง   ถ้าครู กศน.ตำบลรับผิดชอบนักศึกษาน้อยกว่า 60 คน  อำเภอ/จังหวัดจะประเมินฯให้ได้คะแนนดีขึ้นไปก็ได้ แต่อำเภอ/จังหวัดจะบ่นไม่ได้ว่า เงินอุดหนุนรายหัวนักศึกษาไม่พอใช้จ่าย

             อนึ่ง กรณีที่ครู ศรช.บางคนมีนักศึกษามากกว่าเกณฑ์ บางคนมีนักศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์ จะเฉลี่ยนักศึกษาจากกลุ่มที่มากกว่าเกณฑ์ให้แก่กลุ่มที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือไม่ก็ได้ อยู่ที่บริบทของแต่ละแห่ง เช่น ผู้บริหารอาจเห็นว่าถ้าเฉลี่ยแล้วจะมีครูบางคนไม่กระตือรือร้นในการหานักศึกษา เกิดความไม่ยุติธรรม ก็ไม่เฉลี่ย เป็นต้น


         2. วันที่ 17 ต.ค.55 คุณสิทธิ ศรีทองคำ หัวหน้า กศน.ตำบล อ.พระนครศรีอยุธยา  ได้โพสท์ข้อความที่น่าสนใจเรื่องการขออนุญาตประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ว่า
             การขออนุญาตสอนโดยไม่มีใบประกอบอาชีพ ต้องมีเอกสารดังนี้
             1)  หนังสือนำส่ง
http://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/news5/files/2717-9031.pdf
             2)  แบบขออนุญาต ( คส.09.10 ) พร้อมติดรูป 1 นิ้วกับแบบขออนุญาต และแนบกับหลักฐาน คือรูปถ่าย 1 นิ้วอีก 1 ใบ  สำเนาวุฒิการศึกษา  สำเนาบัตรประชาชน  สำเนาทะเบียนบ้านและสัญญาจ้าง  โดยแยกเป็นรายบุคคล อย่างล่ะ 1 ใบ    http://www.ksp.or.th/ksp2009/upload/news5/files/2717-6865.pdf

                  หากสะดวกไปที่คุรุสภา ให้กดบัตรคิวหมายเลข 3 จะได้ตัวเลข 900-999 สำหรับการขออนุญาตสอนโดยไม่มีใบประกอบอาชีพครูไทย
                  หากไม่สะดวก สามารถส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักทะเบียนและใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ 128/1 ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต กรุงเทพฯ 10300   โทร. 02-3049899  FAX : 02-2800050  WEB :
www.ksp.or.th
                  สามรถตรวจสอบสถานะได้จาก http://www.ksp.or.th/service/license_search.php

 

         3. วันที่ 18 ต.ค.55 มีหลายคนถามตอบกันในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ เรื่อง  นักศึกษาที่เข้าสอบ n-net ไม่ครบทุกวิชาสามารถจบหลักสูตรได้ไหม

             คำตอบที่ได้คือ   ต้องเข้าสอบทั้ง 2 ฉบับ ถ้าเข้าสอบฉบับเดียวยังไม่จบหลักสูตร  ต้องสอบเพิ่มเฉพาะฉบับที่ยังไม่ได้เข้าสอบ   (ขยายเวลาการสอบ e-Exam ถึงวันที่ 30 ธ.ค.55 )
             อ.พรรณทิพา กลุ่มพัฒนา กศน. บอกว่า ถ้าสอบ N-NET ไม่ครบ 2 ฉบับ ให้ไปสอบ e-Exam ได้ และขอทำความเข้าใจว่า การสอบ e-Exam สอบได้คนละครั้งเดียว โดยโปรแกรมจะตรวจรหัสประจำตัวและไม่ยอมให้คนเดิมสอบเป็นครั้งที่ 2

 

 

         4. วันที่ 19 ต.ค.55  ผมเผยแพร่ข้อมูลเรื่องปรับเกณฑ์การสอบปลายภาคตามประกาศฉบับใหม่  ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ  ดังนี้

             1)  เฉพาะวิชาบังคับ สอบปลายภาคต้องได้คะแนน 30 % ( 12 คะแนนจาก 40 คะแนน )  ส่วนวิชาเลือกยังเหมือนเดิมคือไม่กำหนดเกณฑ์การตัดสินคะแนนปลายภาค  ( แต่โปรแกรม ITw ยังกำหนดเกณฑ์การตัดสินคะแนนปลายภาคเฉพาะวิชาบังคับอย่างเดียว ไม่ได้  คุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้พัฒนาโปรแกรม กำลังแก้ไขโปรแกรม
                  ถ้าได้คะแนนไม่ถึง 30 % ต้องจัดเข้ารับการประเมินซ่อม เช่น การทดสอบ การให้ทำรายงาน การทำแฟ้มสะสมงาน การเข้าร่วมกิจกรรม หรืออื่นๆตามที่สถานศึกษากำหนด  ให้เสร็จสิ้นก่อนปิดการลงทะเบียนในภาคเรียนถัดไป และให้เกรดไม่เกิน 1   ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินซ่อมคือผู้ที่เข้าสอบปลายภาคเรียนแต่ไม่ผ่านเกณฑ์ ถ้ าประเมินซ่อมแล้วไม่ผ่านเกณฑ์อีก และเป็นวิชาบังคับให้ลงทะเบียนเรียนซ้ำในวิชานั้น ถ้าเป็นวิชาเลือกจะลงทะเบียนเรียนซ้ำในวิชานั้นหรือเรียนวิชาอื่นแทนก็ได้ )
             2)  ต้องมาพบกลุ่มหรือพบครู ( ยกเว้นนักศึกษาของสถาบันการศึกษาทางไกล )

                  - ถ้ามา 75 % ต้องให้สอบปลายภาค
                  - ถ้ามา 50-75 % ให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผอ.กศน.อ. ว่าจะให้สอบปลายภาคหรือไม่
                  - ถ้ามาไม่ถึง 50 % ต้องไม่ให้สอบปลายภาค ไม่ให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผอ.
                  ถ้าไม่สอบปลายภาค หรือไม่ให้สอบปลายภาค ให้เกรดเป็น "0" ไม่ให้ประเมินซ่อม
                  ครู กศน.เขตหนองแขม ถามว่า ให้เกรดเป็น 0 แสดงว่าไม่มี มส.อีกต่อไปใช่ไหม    ผมตอบว่า มส. คือไม่มีสิทธิสอบ จะได้เกรด 0   หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า มส.คือเกรด แต่ที่จริงไม่ใช่นะ มส. ไม่ใช่เกรด ถ้า ไม่มีสิทธิสอบ ( มส. ) ก็ให้เกรดเป็น 0    เกรดจะมี 8 เกรด 0-4 เท่านั้น  ( ใส่ มส. ในช่องคะแนนปลายภาค ส่วนในช่องเกรดจะเป็น 0 )

                  คุณ Kannigar Insai ให้ผมช่วยตีความ มาพบกลุ่ม....% อยากถามว่า % ของอะไร ถ้าครั้ง ยอด100 % เต็มเท่ากับกี่ครั้ง. ถ้าชั่วโมง 100 % เต็มเท่ากับกี่ชั่วโมง  จะได้กำหนดให้เขียนแผนที่ชัดเจน และลงสมุดประเมินผลได้ถูกต้อง     ผมตอบว่า   "วิธีเรียน" หลักสูตรใหม่ มีวิธีเดียวคือ "วิธีเรียน กศน."  ( ในโปรแกรม ITw หลักสูตรใหม่ ไม่มีให้ระบุวิธีเรียน ต่างกับโปรแกรมหลักสูตรเก่า )  แต่..สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลาย "รูปแบบ" เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
                  ระเบียบหลักเกณฑ์ที่ใช้อ้างอิงคือ
                  1)  การปิดเปิดภาคเรียน ในคู่มือการดำเนินงานหน้า 62
                       - ภาคเรียนที่ 1 เปิดภาคเรียน 16 พ.ค. ปิดภาคเรียน 11 ต.ค.
                       - ภาคเรียนที่ 2 เปิดภาคเรียน 1 พ.ย. ปิดภาคเรียน 1 เม.ย.
                       ( รวมภาคเรียนละ 21 สัปดาห์ )
                  2)  หนังสือ สนง.กศน. ที่ ศธ 0210.03/1391 ลงวันที่ 12 เม.ย.2555 ข้อ 2. กำหนดว่าการเรียนรู้แบบพบกลุ่มให้มีการเพิ่มระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เป็น 6 ชั่วโมง
                  ในแต่ละภาคเรียน มีเวลาจัดการเรียนรู้ 18 สัปดาห์ ( ไม่นับการสอบและอื่นๆ ) สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง รวม 108 ชั่วโมง
                  ฉะนั้น จำนวนเต็ม 100 % คือ 108 ชั่วโมง
                  จำนวน 50 % คือ 54 ชั่วโมง
                  จำนวน 75 % คือ 81 ชั่วโมง


 

 

         5. วันเดียวกัน ( 19 ต.ค. ) คุณนาวี ขรก.ครู กศน.ข.ป้อมปราบฯ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า  ในหลักเกณฑ์การเทียบโอนฯ ไม่มีแนวทางการเทียบโอนจากหลักสูตรในระบบโรงเรียนก่อน 2544  อยากจะทราบว่า เราใช้แนวทางเทียบโอนเข้าสู่หลักเกณฑ์และวิธีการการจัดการศึกษานอกโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ได้ไหม

             ผมตอบว่า   การเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร 2551  ถ้าหลักสูตรที่นำมาเทียบโอน ไม่มีใน "แนวทางการเทียบโอนฯ"   ให้ใช้หลักการว่า ถ้าเนื้อหาวิชาสอดคล้องกันไม่น้อยกว่า 60 % ก็ให้เทียบโอนได้  โดยหน่วยกิตที่เทียบโอนได้ต้องไม่มากกว่าหน่วยกิตที่นำมาเทียบโอน และวิชาที่นำมาเทียบโอนต้องได้เกรด 1 ขึ้นไป ฯลฯ

 

         6.วันเดียวกัน ( 19 ต.ค. ) อ.ศิริรัตน์ ถามผมทางอีเมล์ผ่าน gotoknow.org ว่า  มีพระภิกษุมาสมัครเรียน(เจ้าอาวาส) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ซึ่งตามระเบียบของหลักสูตร 51 แล้ว ผู้ที่จะประสงค์เข้าเรียน ม.ปลายที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ต้องเป็นไปตามมติเถรสมาคม หนูไม่ค่อยเข้าใจ หนูรับมาเรียนได้หรือเปล่า แล้วเวลาออกหลักฐานเมื่อจบการศึกษาต้องออกโดยใช้รูปถ่ายที่เป็นพระภิกษุหรือเป็นฆราวาส

             ผมตอบว่า   มติมหาเถรสมาคม คือ ให้เรียนในศูนย์การเรียนในวัด และไม่ให้เรียนรวมกับฆราวาส     การออกหลักฐานใช้รูปถ่ายที่เป็นพระภิกษุ

 

         7. วันเดียวกัน ( 19 ต.ค. ) ผอ.วิญญา กศน.อ.บางปะอิน โทร.มาคุยกับผมเรื่อง จบนาฏศิลป์ชั้นต้นมาสมัครเรียน จะให้เรียน ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ซึ่งในคู่มือการดำเนินงานหน้า 63 บอกคุณสมบัติพื้นความรู้ของผู้สมัครเรียน ม.ต้น ว่า วุฒินาฏศิลป์ชั้นต้น
             แต่จากการที่ ผอ.วิญญา และผม ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต พบว่า วุฒินาฏศิลป์ชั้นต้น เท่ากับ ม.ต้น  จึงสรุปว่า “คู่มือการดำเนินงานผิด”  ถ้าจบนาฏศิลป์ชั้นต้นมา ต้องให้เรียน ม.ปลาย จึงจะถูก

 

         8. วันที่ 20 ต.ค.55 ผมเผยแพร่ข้อมูลในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ เรื่อง กศน.ยุธยา พัฒนาแล้ว  ดังนี้
             จากเดิมมีรายวิชาเลือกให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรวมทั้งจังหวัดมากมายเกินไป ( จำนวนวิชาเลือกเป็นรองเฉพาะ กทม.เท่านั้น  ต้องรวมทุกเขตใน กทม.ด้วยนะ จึงจะมีวิชาเลือกมากกว่ายุธยา ) จนมีปัญหาในการบริหารจัดการ ไม่สามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กำหนดได้ โดยเฉพาะในด้านการวัดผลประเมินผล นักศึกษาเองก็เกิดความสับสนอลหม่าน
             จึงร่วมกันลดจำนวนวิชาเลือก ด้วยการรวมวิชาเลือกจากหลายรายวิชาให้เหลือน้อยรายวิชา  เป็นรายวิชาใหม่  เพื่อให้การวัดผลประเมินผลระหว่างภาคและการสอบปลายภาคซึ่งวัดและประเมินแยกตามรายวิชา มีจำนวนน้อยลง
             รวมวิชากันเสร็จแล้ว ออกเลขรหัสรายวิชาใหม่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว

             ตั้งแต่ภาค 2/55 นี้เป็นต้นไป ทั้งจังหวัดจะใช้แผนการเรียนหลักเดียวกัน โดยตลอดหลักสูตรมีจำนวนวิชา ดังนี้
             1)  ระดับประถมฯ วิชาบังคับ 14 วิชา  วิชาเลือก 5 วิชา เท่านั้น
             2)  ระดับ ม.ต้น วิชาบังคับ 14 วิชา  วิชาเลือก 6 วิชา
             3)  ระดับ ม.ปลาย วิชาบังคับ 14 วิชา  วิชาเลือก 12 วิชา
             ถึงแม้เนื้อหาสาระจะเท่าเดิม แต่แค่ลดจำนวนวิชาลงก็สะดวกขึ้นเยอะ ไม่ต้องสอบมาก นักศึกษาไม่ต้องจำชื่อวิชามาก ครูก็ไม่ต้องทำสมุด กศน.4 มากหลายเล่ม  จัดวิชาเลือกลงตารางสอบปลายภาควันเดียวกับวิชาบังคับได้ง่าย ๆ

             ตอนนี้ทำแผนการเรียนหลักตลอดหลักสูตรไว้แล้วว่า จะให้เรียนวิชาใดในภาคเรียนใด
             ถ้าอำเภอ/จังหวัดอื่น จะสนใจนำไปใช้บ้าง ก็ดูแผนการเรียนโครงสร้างใหม่นี้ ( ดูจากของ กศน.อ.เสนา ก็ได้ )  ดังนี้


 

 

 

 

         9. วันที่ 22 ต.ค.55 ท่านจรัส ที่ปรึกษาสำนักงาน กศน.  โพสท์ในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า   ก.ค.ศ. ได้อนุมัติหลักเกณฑ์การสอบบุคลากรทางการศึกษาแล้ว ( สอบภาคความเหมาะสมสำหรับตำแหน่งด้วยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย ไม่มีอัตนัย ไม่มีสัมภาษณ์ )   ใครที่รอการสอบเป็นข้าราชการ ตำแหน่งบรรณารักษ์ นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา  เตรียมตัวสอบได้  คาดว่าจะสอบ ธค 55 หรือ มค 56

 

 

        10. วันที่ 22 ต.ค.55 การประชุม ครม. อนุมัติการปรับเงินเดือนข้าราชการครู ( 15,000 บาท ) หลังจากที่ข้าราชการพลเรือนและพนักงานราชการปรับไปก่อนนานแล้ว  โดยจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.55  ดังนี้
             - ระดับปริญญาเอก อัตราเงินเดือนใหม่ 19,100 บาท อัตราเดิม 13,730 บาท
             - ป.โท หลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากวุฒิ ป.ตรี ที่มีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี อัตราใหม่ 16,570 บาท อัตราเดิม 11,200 บาท
             - ป.โททั่วไป หรือเทียบเท่า อัตราใหม่ 15,430 บาท อัตราเดิม 10,190 บาท
             - ป.ตรี หลักสูตร 6 ปี อัตราใหม่ 15,430 บาท อัตราเดิม 10,190 บาท
             - ป.ตรี หลักสูตร 5 ปี อัตราใหม่ 12,530 บาท อัตราเดิม 9,140 บาท
             - ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปีต่อจากวุฒิป.ตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราใหม่ 12,530 บาท อัตราเดิม 9,140 บาท
             - ป.ตรี 4 ปี อัตราใหม่ 11,920 บาท อัตราเดิม 8,340 บาท  ( มากกว่าข้าราชการพลเรือน ที่ได้ 11,680 บาท )




 

             ในส่วนของ ขรก.ครูเก่า ที่เงินเดือนใกล้เคียง 15,000 บาท เช่น กรณีคนที่จบ ป.ตรีหลักสูตร 4 ปี เงินเดือนปัจจุบัน 14,660 บาท จะได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนใหม่ 1 ขั้นครึ่ง เป็นเงิน 1,140 บาท และคิดเป็นเงินเดือนใหม่ 15,800 บาท  ส่วนกรณีเงินเดือน 11,920 บาท จะได้ปรับ 3 ขั้น เป็นเงิน 1,850 บาท รวมเงินเดือนใหม่ เป็นเงิน 13,770 บาทและจะได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวอีก 2,230 บาท เป็นต้น   กรณีของข้าราชการครูที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ทุกคน เพื่อให้ครบ 15,000 บาท

 

        11. วันเดียวกัน ( 22 ต.ค. ) สมศ. ประกาศอย่างเป็นทางการ ( ต่างจากที่รู้ล่วงหน้า ) รายชื่อ กศน.อำเภอที่จะประเมินภายนอกปี 56  ( ต้องประเมินให้เสร็จภายใน 28 ก.พ.56 )  อยุธยามีแต่ บ้านแพรก กับ อุทัย ไม่มีผักไห่ เย้...  ( แต่ไม่รู้ว่า จังหวัดจะมาประเมินฯหรือไม่ )
             ดูได้ที่  
www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/download.php?LinkPath=../../upload/NewsPublish/download/2203-8831-0.pdf&DownloadFile=2203-8831-0.pdf&DownloadID=3008&path=../../upload/NewsPublish/download/2203-8831-0.pdf

 

หมายเลขบันทึก: 506532เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ครับในข้อที่ 9 เรื่องสอบข้าราชการบุคลากรทางการศึกษานั้น ผู้เข้าสอบต้องผ่านภาค ก. หรือไม่

ผ่านครับ แต่ภาค ก.ของ ก.ค.ศ. คนละอย่างกับภาค ก. ของ ก.พ.นะ ( ผ่านภาค ก.ของ ก.พ.แล้ว เอามาใช้ไม่ได้ )

อาจารย์ค่ะ เรื่องการสอบบุคลากร มีเงื่อนไขเรื่องอายุการปฏิบัิติงานไหมค่ะ

จังหวัดทั่วไป ( ไม่ใช่ชายแดนใต้ ) ไม่มีเงื่อนไขเรื่องอายุการปฏิบัติงานครับ Blank
รับสมัครบุคคลทั่วไปด้วย ไม่ใช่รับเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้ว

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • อาจารย์ค่ะแล้วที่ได้รับการอบรม 9 มาตรฐานแล้วนั้นเห็นว่าต้องไปดำเนินการขอใบรับรองด้วยใช่ไหมค่ะ

ใช่ครับ Ico48  ถ้าอบรม 9 มาตรฐานในหลักสูตรที่ไม่ได้ปฏิบัติการสอน ต้องไปขออนุญาตปฏิบัติการสอนจากคุรุสภา แลเมื่อปฏิบัติการสอนครบ 1 ปี ก็ดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท