เพราะเหตุใดราคาของสินค้าจึงไม่คงที่


ราคาสินค้า

 

ผมเชื่อว่าหลายคน คงสงสัยถึงประเด็นปัญหาเรื่องราคาสินค้า ที่เดี๋ยวก็แพง เดี๋ยวก็ถูก ปัจจัยหลักจริงๆ คืออะไร อะไรเป็นต้นเหตุของการขึ้นและลงของราคาสินค้าดังกล่าว ถ้าเป็นคนที่ถนัดวิชาเศรษฐศาสตร์น่าจะสามารถตอบเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยถนัดกับวิชาเศรษฐศาสตร์ นั้น  วันนี้ผมจะลองพยายามอธิบาย เรื่องดังกล่าวด้วย กฎอุปสงค์ ( demand ) และอุปทาน ( supply ) อย่างง่ายเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในประเด็นดังกล่าวมากยิ่งขึ้นครับ

                โดยจะขอยกตัวอย่างไปพร้อมกับคำอธิบายเลยแล้วกันครับ โดยกฎของอุปสงค์และอุปทานนั้น จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณความต้องการซื้อหรือขาย กับ  ราคาสินค้า

                ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจคำว่า อุปสงค์และอุปทานอย่างง่ายกันก่อนครับ  

                อุปสงค์ ก็คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า  และ อุปทาน ก็คือ ปริมาณที่สามารถจัดหาหรือรองรับความต้องการนั้นๆได้หรือปริมาณการขายสินค้า  นั่นเอง

                โดยในที่นี้ขอยกตัวอย่างเรื่องไข่ไก่ แล้วกันครับ  โดยปกติ ถ้าความต้องการบริโภคไข่ไก่ในแต่ละครัวเรือนในแต่ละวัน เท่ากับ ปริมาณไข่ไก่ ที่ไก่สามารถผลิตออกมาได้ในแต่ละวัน ราคาของไข่ไก่ จะเป็นราคาที่ทุกคนยอมรับได้  ในที่นี้หมายถึง คนซื้อไข่ไก่ ก็พอใจในราคาดังกล่าว และคนขายไข่ไก่ก็พอใจในราคาขายดังกล่าวเช่นกัน แบบนี้เรียก ว่าอยู่ในจุด “ดุลยภาพ”  คือเกิดความสมดุล ของความต้องการของผู้ที่จะซื้อ และความต้องการที่จะขายไข่ไก่ ทำให้ราคาอยู่ในจุดที่เหมาะสม

                แต่ถ้าอยู่มาวันหนึ่ง เกิดพายุเข้า ทำให้ไก่ไข่ ล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ทุกครัวเรือนยังคงมีความต้องการบริโภคไข่ไก่เท่าเดิม จนแม่ไก่ในแต่ละฟาร์มที่เหลือไม่สามารถออกไข่ทดแทนกับแม่ไก่ที่ล้มตายไป ได้เพียงพอต่อความต้องการก็ผู้บริโภค ก็จะทำให้ไข่ไก่ขาดแคลนในตลาด เมื่อไข่ไก่ ขาดแคลน ก็จะทำให้ ผู้ขาย สามารถขึ้นราคาของไข่ไก่ให้สูงขึ้นได้ เนื่องจาก ทุกคนยังต้องการบริโภคไข่ไก่ เท่าเดิม แต่ปริมาณไข่ไก่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ( ในที่นี้สมมติว่า ไม่มีสินค้าใดมาทดแทนการบริโภคไข่ไก่ได้ ) ซื้อพอถึงเวลาดังกล่าวจริงๆ ผู้บริโภคทุกคน ก็จำเป็นต้องบริโภคไข่ไก่ ต้องจำใจ จ่ายเงินแพงขึ้นเพื่อให้ครอบครัวของตนเอง ได้มีโอกาส ได้บริโภคไข่ไก่ได้อย่างเพียงพอ ( โดยสิ่งนี้ก็คือ การที่อุปสงค์ มากกว่า อุปทานนั่นเอง )

             ต่อมาเมื่อพ่อค้ารู้ว่า ความต้องการในการบริโภค ไข่ไก่ของแต่ละครัวเรือน ยังคงเท่าเดิม แต่ แม่ไก่ที่จะออกไข่มาขายในท้องตลาดในประเทศมีจำนวนน้อยลง จึงทำให้พ่อค้าแต่ละคน เร่งนำเข้า แม่ไก่เข้ามาในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยหวังที่จะ ขายไข่ของตนเองได้มากขึ้น จนทำให้มีแม่ไก่ไข่ ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก เมื่อมีแม่ไก่ไข่จำนวนมากขึ้น ทำให้มีจำนวนไข่ไก่ในประเทศมากขึ้น เมื่อมีปริมาณไข่ไก่มากขึ้นเรื่อยๆ จนเกินความต้องการของแต่ละครัวเรือนที่จะนำไปบริโภค ทำให้ไข่ไก่มีล้นตลาด เพียงพอ ( โดยสิ่งนี้ก็คือ การที่อุปทาน มากกว่า อุปสงค์นั่นเอง ) เมื่อจำนวนไข่ไก่มีจำนวนมากเกินกว่าความต้องการของผู้บริโภค พ่อค้าก็ต้องหาทางระบายไข่ไก่ออก จากตัวก่อนที่ไข่จะเน่าเสีย จึงทำให้ต้องลดราคาเพื่อกระตุ้นการบริโภคของลูกค้า จึงเป็นเหตุทำให้ราคาของไข่ไก่ลดลง

                แต่ผู้บริโภคก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้มากนัก เพราะ ในระยะยาว ราคาของสินค้า จะกลับมาสู่ จุดดุลยภาพ กล่าวคือ เป็นราคาที่เหมาะสม ในที่สุด

             โดยทฤษฎีดังกล่าวสามารถใช้ได้กับสินค้าทั่วไป ยกเว้น สินค้าที่มีการผูกขาดโดยผู้ขายรายเดียว หรือผู้ขายน้อยราย และ ยังไม่รวมปัจจัยอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อ เป็นต้น

                โดยถ้าบทความนี้มีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ และหากใครมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสามารถ แนะนำได้ครับ 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน NANA
หมายเลขบันทึก: 506511เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2013 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท