ถอนฟัน ใน โรงพยาบาลชุมชน


จากประสบการณ์น่ารักๆ สู่ ความกลัวทางจิตใจ

หลังจากที่ผม ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลชุมชนมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว  ได้เรียนรู้ประสบการณ์หลายๆ อย่าง  ผู้เข้ารับบริการ

หมอ ... ไม่ถอนฟันได้มั้ย

หมอ ... เขาว่าถอนแล้วประสาทจะเสีย

หมอ ... รากฟันฉันยาวนะ  กลัวว่ามันจะเป็นไรกับสมองมั้ย

(สรุปว่า เขาคนนั้น  คือ ใคร)

 

การถอนฟัน เรื่องที่มีผลต่อจิตใจ

บางคนกลัวการถอนฟันอย่างมาก เพราะการถอนฟันอาจมีผลต่อเส้นประสาท อีกทั้งยังกลัวความเจ็บปวดจากการถอนฟัน ถึงแม้จะปวดฟันอย่างไรก็อดทนไว้ไม่ยอมไปพบทันตแพทย์เพื่อถอนฟัน

ปกติแล้ว ในตัวฟันทุกซี่จะมีเส้นประสาทอยู่ โดยเป็นแขนงของเส้นประสาทรับความรู้สึกที่แยกออกมาจากเส้นประสาทใหญ่ของร่างกาย การถอนฟันเป็นการดึงและตัดเส้นประสาทส่วนที่อยู่ปลายรากฟันที่เป็นแขนงเล็ก ๆ ออกไปเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือเส้นประสาทใหญ่แต่อย่างใด


ในกรณีความเจ็บปวดจากการถอนฟัน ทันตแพทย์จะต้องฉีดยาชา เพื่อทำให้บริเวณฟันที่จะถอนไม่มีความรู้สึกก่อน โดยฟันล่างจะฉีดยาชาบริเวณต้นทางเข้าของเส้นประสาทฟันที่อยู่ด้านในของขากรรไกรล่าง ส่วนฟันบนจะฉีดยาชารอบ ๆ ฟัน ทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งการฉีดยาชาอาจทำให้เจ็บเล็กน้อยในบางคน การฉีดยาชาเป็นเทคนิคที่จะต้องฉีดยาชาเข้าไปในตำแหน่งที่ปลอดภัย ไม่โดนเส้นประสาท จึงไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อเส้นประสาท

หลังจากฉีดยาชาสักครู่หนึ่ง จะมีความรู้สึกชา เช่น ริมฝีปากจะรู้สึกหนา หรือปลายลิ้นชา อาจบังคับริมฝีปากลำบาก หรืออื่น ๆ

ในบางคนไม่เคยฉีดยาชา ความรู้สึกดังกล่าวอาจรู้สึกว่าไม่ปกติ จึงทำให้เกิดความกังวลมาก กลัวว่าเป็นปัญหา แท้ที่จริงไม่ใช่ความผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลว่าการถอนฟันทำให้ประสาทเสีย และการถอนฟันจะไม่เกิดการเจ็บปวดด้วย

 
ชมรมเอ็นโดดอนติคส์ ประเทศไทย
จาก http://www.dt.mahidol.ac.th/
 
แต่ว่าอย่างไรก็ตาม  ทันตแพทย์เป็นผู้ประเมินได้ว่า ฟันที่ ผู้ป่วยต้องการจะถอนออก  สามารถเก็บได้หรือไม่  ซึ่งแผนการรักษาก็จะเปลี่ยนไปเป็นการรักษารากฟันร่วมกับการบูรณะด้วยเดือยฟัน และครอบฟัน  ซึ่งต้องใช้เวลา และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น  ดังนั้น การเป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนจึงต้องพิจารณาถึงเศรษฐานะ และความคุ้มค่าของฟันที่จะเก็บไว้ด้วย
 
วิธวินท์
คำสำคัญ (Tags): #ถอนฟัน
หมายเลขบันทึก: 506139เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2012 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เริ่มเข้าใจบริบทร.พ.ช. แล้วซี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท