มาหัดเป็นคน SAVVY กันเถอะครับ!


ผมมีคำหนึ่งให้ท่านผู้อ่านคิดคือ SAVVY = Good understanding and practical knowledge of something และวันนี้ผมคิดว่าบทความนี้คงทำให้คุณ SAVVY กับคำถามที่ควรหาคำตอบให้กับตัวท่านเองว่า ทำตัวอย่างถึงจะมีบุคลิกภาพของ “คนดีของสังคม” ครับ

หลายวันก่อน อาจารย์ที่ปรึกษาของผม ได้แนะนำหลักการทำงานวิจัยระดับทีมผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติ (National Research & Methodological Professionals) และนำผมงานวิจัยกลับไปใช้ (Research Implementation) ตามแนวทางการพัฒนาระบบสาธารณสุขในรัฐ Western Australia

สิ่งสำคัญคือ Building capacity with the experts - การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีพื้นฐานความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่แตกต่างกัน และต้องสร้างมิตรภาพด้วยความสุขุมเยือกเย็นและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อประชากรของคนทั้งชาติและนานาชาติ

 

อาจารย์ของผมเน้นความเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ SMART, SIMPLE, COOL, FLEXIBLE & OPEN- MINDED PERSON ที่สำคัญทำตัวเป็นกลางและพยายามใช้ความรู้ความสามารถของตนเองในเรื่องที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อคนในสังคมให้มากที่สุด ผมประทับใจและพยายามเรียนรู้หลักการทำงานวิจัยดังกล่าว พร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนเองเล็กน้อย

 

เดิมผมมีบุคลิกภาพมองโลกในแง่ดีเกินไป จนรู้สึกว่าหลายคนเข้ามาให้ผมทำโน่นทำนี่ให้อย่างง่ายดาย กลายเป็น MR. YES ที่ต้องทำงานหนักอยู่คนเดียว ผมเริ่มรู้สึกว่าถูกกลุ่มคนที่มีนิสัยเอาเปรียบคนคุกคามมาตลอด คิดไปคิดมาว่าควรปรับพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงาน หรือปรับทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข น่าจะเป็นตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดครับ

 

บุคลิกภาพของอาจารย์ที่ปรึกษาของผมเป็นแบบอย่างที่ดี ในการเป็น “คนดีของสังคม” จริงๆ กระทำสิ่งต่างๆด้วยความถูกต้องและเหมาะสม รู้จักปฏิเสธกลุ่มคนที่ต้องการเอาเปรียบ  รู้จักมีความฉลาดรู้ทันคนแต่อย่าเอาเปรียบคนทุกคน รู้จักรักษาความดีด้วยการเลือกคบคนดี และเป็นแบบอย่างความดีให้กับคนที่ต้องการปรับปรุงตนเองด้วยความจริงใจและห่วงใยกัน

 

และผมก็ขอสรุปแบบสั้นๆ ว่า เรียนรู้ที่จะมีบุคลิกภาพของการเป็น “คนดีของสังคม” นั่นไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ การดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองให้มีความสุข และมอบความสุขแก่ผู้คนที่อยู่รอบข้างด้วยความดี เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติให้เป็นไปตามธรรมชาติของชีวิตอย่างยิ่งครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #social#self-efficacy
หมายเลขบันทึก: 50594เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท