5 วิธีทำตัวให้มีความสุขวันนี้


.
อ.นพ.เมฮ์เมด ซี. ออซ และ อ.นพ.ไมเคิล เอฟ. รอยเซน ตีพิมพ์เรื่อง 'Can't get happy? It may be a sign of depression'
= "ไม่มีความสุขหรือ? คุณอาจเสี่ยง(นี่อาจเป็นอาการแสดงของโรค)ซึมเศร้า", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
ประสบการณ์จากโลกตะวันตก (ฝรั่ง) พบว่า วิธีการต่อไปนี้ช่วยให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นได้ในวันนี้ (ถ้าลงมือทำทันที) คือ
.
(1). ทำงานอาสาสมัคร (volunteer)
.
หน่วยงานจำนวนมากต้องการความช่วย เหลือ (helping hand), การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การทำงานอาสาสมัคร หรือการทำตัวให้เป็นคน "มีน้ำใจ" นิดๆ หน่อยๆ ช่วยเพิ่มโอกาสการมีอายุยืน แถมยังทำให้ 'look young' หรือดูอ่อนกว่าวัยด้วย
.
คนในสหรัฐฯ-ยุโรปชอบไปทำงานอาสา สมัครในโรงพยาบาล เช่น ช่างประปาอาสาไปดูแลท่อ คนที่แรงดีนิยมอาสาไปช่วยเข็นเปลคนไข้ คนที่แรงไม่ดีนักอาจเลือกไปช่วยอธิบายอะไรๆ ให้คนไข้และญาติ เช่น ช่วยกรอกประวัติในแบบฟอร์ม ฯลฯ
.
ระบบศาลในโลกตะวันตก คือ เชื่อว่า คนเราสะสมความดีได้ ทำความดีชดเชยความผิดพลาดในอดีตได้ และนิยมให้ทำความดีแทนการปรับมากขึ้น ทำให้นิยมเก็บประวัติการทำดีไว้ขอลดหย่อนโทษได้
.
สถาับันการศึกษาน่าจะมีระบบการให้ ทุนทำงาน เช่น ให้ทำงานห้องสมุด-ล้างส้วม แทนการให้ทุนแบบที่ไม่ต้องลงมือทำอะไรเลย ฯลฯ เพราะการทำงานทำให้เด็กๆ โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้นได้ในอนาคต
.
(2). นับจำนวนครั้งการชื่นชม (blessings)
.
การกล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอโทษ-ขอบใจ" ทำให้คนเรามีความสุขจากภายใน โดยเฉพาะคนที่กล่าวชมคนอื่นจากใจจริงมักจะมีความสุขมากขึ้น และยิ่งถ้าชมคนใกล้ๆ ตัวคุณแล้วละก็... จะได้รับอะไรดีๆ กลับมาเพียบ เช่น ได้กินกับข้าวอร่อยขึ้น ฯลฯ
.
กล่าวกันว่า ถ้าชมคนได้อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ัง หลังอาหาร... ระบบย่อยอาหารจะดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยวมักจะดีขึ้นตามไปด้วย
.
คนสูงอายุที่ถูกทอดทิ้งส่วนใหญ่จะ มีลักษณะสำคัญ 2 ประการได้ แก่ จนกับขี้บ่น, ถ้าเราไม่อยากถูกทอดทิ้งตอนแก่... อย่าเป็นหนี้ัเกินตัว ออมทรัพย์-ลงทุนรอบคอบไว้ ไม่ให้จน และไม่ขี้บ่น
.
คนสูงอายุที่มีความสุข ลูกหลานแวดล้อมเพียบมีลักษณะสำคัญ 3 ประการได้แก่ ไม่จน-ไม่ขี้่บ่น-มีเมตตากรุณา รับฟังเก่ง ชื่นชมคนอื่นเก่ง (ฟังๆๆๆ มากกว่า พูดๆๆๆ)
.
(3). หาเพื่อนไปออกกำลัง
.
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สุขภาพที่ดี โดยเฉพาะความแข็งแรงหรือความฟิต เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสุขของคนเรา
.
ทหารมีระบบ "คู่ฝึก" ที่เรียกว่า "บัดดี้ (buddy)" ซึ่งจะเน้นการช่วยเหลือกัน, ถ้าฝึกไม่ผ่าน... จะถูกลงโทษด้วยกัน หลักการนี้พบว่า ใช้ช่วยให้คนเราออกแรง-ออกกำลังได้ดีขึ้นมาก
.
ถ้าเคยวิ่งคนเดียว... การชวนเพื่อนไปวิ่งด้วยน่าจะดี และถ้าหาเพื่อนเป็นคนไม่ได้... พาน้องๆ (หมา) ไปวิ่ง ไปเดินก็ใ้ช้ได้
.
ถ้ามีการทำ 'Dog Spa' ในไทย โดยใช้น้องหมาพันธุ์ไม่ดุ เช่น โกลเดน รีฟรีฟเวอร์ ฯลฯ ให้เช่าเป็นเพื่อนเดิน-วิ่งในลู่วิ่ง หรือในสนาม น่าจะทำให้คนไทยออกแรง-ออกกำลังได้มากขึ้นแยะทีเดียว
 
(4). กินข้าวเย็นกับครอบครัว
.
คนที่ไม่มีโอกาสกินข้าวเย็นกับครอบครัวก็ไม่ต้องกลัว กินกับน้อง(หมา)ก็ได้
.
ยิ่งคนที่ไม่กินข้าวเย็น เช่น ถือศีลแปด ฯลฯ ยิ่งไม่ต้องกลัวใหญ่ ให้เปลี่ยนจากการกินข้าวเย็นกับครอบครัวเป็นการสวดมนต์เป็นกลุ่ม ทำความดีด้วยกันก็ทำให้คนเรามีความสุขได้
.
หรือถ้าชอบสันโดษ เช่น ชอบสวดมนต์คนเดียว ฯลฯ อาจใช้วิธีอัดเสียงตัวเองเก็บไว้ แล้วสวดมนต์คลอเสียงตัวเอง เท่ไปอีกแบบ
.
(5). ทำกับข้าวกินเอง
.
การฝึกทำกับข้าวกินเอง อย่างน้อย 1 มื้อ/วัน ช่วยประหยัดด้วย ช่วยให้เรารู้สึกดีๆ กับตัวเองด้วย
.
ถ้าทำกับข้าวไม่เป็นจริงๆ อย่างน้อยควรหัดแช่ข้าวกล้องค้างคืน หุงเช้า (ถ้าใส่ข้าวเหนียวไปเล็กน้อย อัลมอนด์ทุบลงไปอีกหน่อย จะอร่อยมาก), กินข้าวกล้องให้ได้อย่างน้อย 1 มื้อ/วัน
.
และอย่าลืม... หัดล้างผักกินเอง เช่น ปลูกผักสวนครัว แช่ผักในน้ำผสมโซดา ไบคาร์บอเนต 10 นาที - ผ่านน้ำ - แช่ผักในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 10 นาที - ผ่านน้ำอีกครั้ง ฯลฯ ช่วยสุขภาพให้ดีขึ้นได้มาก
.
(6). ผจญภัย
.
ถ้าจะใช้เงินซื้อของ... ขอให้ลองเลือกการใช้เงินหาความรู้ ความชำนาญ เช่น หาหนังสือท่องเที่ยวอ่าน เรียนวิชาช่าง ทำกับข้าว ดูสารคดี ฯลฯ หรือเดินทางไปที่ใหม่ๆ แทนบ้าง
.
การใช้เงินทำให้คนเรามีความสุข ทว่า... การใช้เงินหาประสบการณ์ในด้านดีมักจะทำให้คนเรามีความสุขมากกว่านั้น
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank > http://www.realage.com/mood-stress/happiness-is-about-enjoying-the-simple-things-in-life?src=house&chan=hp&con=home-page-tout&click=p1
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 16 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

 

หมายเลขบันทึก: 505832เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นับเป็นการเพิ่มคุณค่าแก่ตนเองอย่างยิ่งค่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท