จะเปลี่ยนโลกได้อย่างไร


จะเปลี่ยนโลกได้อย่างไร

เมื่อวานได้ชมภาพยนต์จากโทรทัศน์เรื่อง Evan Almighty แสดงโดยดาราขวัญใจผมคือ มอร์แกน ฟรีแมน (Rest in Peace) และ สตีฟ คาเรล เรื่องนี้ดูเป็นครั้งที่สามหรือที่สี่จำไม่ได้แล้ว แต่ชอบประโยคเกือบสุดท้ายของภาพยนต์มากที่สุด ดูที่ไรพบหนังจบก็อยากเขียน แต่ไม่ได้เขียนซะที

Synopsis:

Evan เป็นสมาชิกรัฐสภา ที่จู่ๆวันดีคืนดี พระเจ้าก็มากระซิบ (ดังบ้าง ค่อยบ้าง ข่มขู่บ้าง กระตุกให้คิดบ้าง) ให้ Evan หันมาสร้างเรือโนอาห์ (Noah's Ark) ขึ้นที่ลานหลังบ้านของเขา ชานเมืองวอชิงตัน ดี ซี นัยว่าจะมีน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง เรื่องนี้ก็ผสมผสานอารมณ์ขัน เนื้อหากระตุกเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ความโลภและความหลงของมนุษย์ส่วนใหญ่ และนัยยะสำคัญแห่งครอบครัว วางอยู่บน theme ศาสนา ความเชื่อ และศรัทธาต่อสิ่งยึดเหนี่ยว

มอร์แกนฟรีแมน เล่นเป็นพระเจ้า ที่นำเอา message มาให้ Evan ทีละส่วนๆ และทำหน้าที่เป็น facilitator หรือกระบวนกรที่ดี คือถามคำถามกระตุกต่อมเอ๊ะไปเรื่อยๆ คำถามส่วนใหญ่จะนำไปสู่คำตอบที่ obvious ที่คนตอบจะสามารถตอบได้เอง นำไปใช้ได้เอง (แสดงว่าปัญหาค่ือ "ทำไมไม่มีใครถามคำถามเหล่านี้")

แน่นอน การสร้างเรือโนอาห์ขนาดยักษ์ ที่ต้องจุสัตว์ทุก species เป็นคู่ๆ ดูจะเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้ แต่ภายยนต์อาศัย plot มหัศจรรย์และความเป็นภาพยนต์เบาๆ ทำให้เรื่องนี้ไปเป็นปัญหาในการเล่า แต่ก็ช่วยให้เกิดสิ่งน่าสนใจกับ Evan คือ เขาจะต้องใช้อะไรบ้างในการทำ task นี้ให้สำเร็จลง (และยังรักษาตัวตนของเขา และครอบครัวของเขาให้อยู่ต่อไปได้ด้วย) ด้วยการที่ต้องทำงานนี้เพียงลำพัง ก็อดจะมีคำถามชุดหนึ่งปรากฏขึ้นมาบ่อยๆ คือ "ทำไมต้องเป็นฉันทำด้วย" WHY ME? และพระเจ้าก็ถามเติมอีกคำถามว่า "HOW DO WE CHANGE THE WORLD?" หรือ "เราจะสามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้อย่างไร?"

วันก่อนผมปรารถกับอาจารย์อีกท่านหนึ่ง เรามีความรู้สึกคล้ายๆกันว่า เอ... เดี๋ยวนี้ เราพบว่าเราใช้ชีวิตแบบ "ไปวันๆ" กันเยอะ แม้แต่กระบวนการแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ก็หาอะไรที่เป็น "ระยะยาว" แทบจะไม่ได้ ตำข้าวสารกรอกหม้อไปวันๆ แก้ไปวันๆ มองเฉพาะไม่กี่ก้าวเบื้องหน้าเท่านั้น พยายามจะหาคำตอบ ก็ไม่มีอะไร confirm ได้แน่นอน หรือว่าเป็นเพราะเราปราศจากที่ยึดเหนี่ยว ปราศจากการมองหา "ชีวิตที่มีความหมาย" ไปอย่างสิ้นเชิง ไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ

ระบบบริหารจัดการในยุคที่ IT รุ่งเรืองขนาดนี้ ก็จะเห็นว่ามีคนขยับมาทางการดูแล "ทรัพยากรมนุษย์" มากขึ้นแล้ว เพราะได้พบหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายว่า ไอ้ที่พยายามจะไปทำ concrete evidence of development โดยการสนใจแต่ mechanics แต่อาคารสถานที่ หรือตัวเลขในบัญชีนั้น เราจ่ายไปด้วยอะไรบางอย่างที่แพงแสนแพง คือ "ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์" หันไปใช้ชีวิตเพื่อการอยู่รอดแบบสัตว์เลื้อยคลานเป็นส่วนใหญ่ ไอ้ทีจะทำอะไรเพื่อสังคม เพื่อสิ่งที่มีความหมาย กำลังจะสูญพันธุ์ หมดเรี่ยวแรงลงไปเรื่อยๆ

เราต้องการ "ความละเอียด" ของชีวิตให้มากกว่านี้ (หรือไม่?)

เดี๋ยวนี้เราติดกับอะไรที่เร็ว และฉาบฉวย ผิวเผิน ฉะนั้นอะไรที่เป็นอุปสรรคของเร็ว ก็กลายเป็นสิ่งไม่ดีไปโดยอัตโนมัติ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำเร็วไม่ได้ คือ "การฟัง" เพราะมันฟังได้เร็วสุดก็เท่ากับสิ่งที่ปรากฏขึ้น และสิ่งที่ปรากฏขึ้นนั้น มีองค์ประกอบมากมายทำให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเรารับรู้ประสบการณ์เหล่านั้นให้ "เร็วที่สุด" เราก็จะอาศัยการ downloading ของเก่าๆ นิยามเก่าๆ ความรู้สึกเก่าๆ มาใช้เพื่อความเร็ว จนสูญเสียความหมายใหม่ สูญเสียความสดใหม่ และมองไม่เห็นปรากฏการณ์ใหม่ตรงหน้า

ในภาพยนต์ Evan Almighty สุดท้าย พระเอกก็สร้าง The Ark ขึ้นมาได้ แม้ว่าน้ำท่วมใหญ่ จะไม่ใหญ่ขนาดล้างโลกแบบแต่ก่อน แต่ก็ใหญ่พอที่จะให้ "ฉุกคิด" ว่า เรากำลังทำอะไรกันอยู่ เพื่อใคร เพื่ออะไร และฉากสุดท้ายที่มอร์แกน ฟรีแมน ใช้ไม้เท้าขีดที่พื้น ถามคำถามเดิมกับ Evan ว่า "How do we change the world" แล้ว Evan ก็ตอบว่า "perform an Act of Random Kindness one by one everyday" ตอนนั้นเองที่ Evan (และผม) ก็เห็นและเข้าใจพร้อมๆกันว่า the ARK นั้นคืออะไรบางอย่างที่ไม่ใช่เรือ ไม่ใช่เรื่องที่ยิ่งใหญ่อะไร แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถจะทำได้ทุกวันๆที่สามารถจะเปลี่ยนโลกใบนี้ได้

คำสำคัญ (Tags): #ark#Change the world#Morgan Freeman
หมายเลขบันทึก: 505829เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

..โลกที่เปลี่ยน..(ทิศทางไหน..)..อะไรที่เรา..(ทำกัน.).เป็นประจำอยู่เป็นปัจจุบัน....(น่าคิดๆๆๆๆๆ..คงเป็น"แค่คิด"แบบเดิมๆแบบปูๆอิอิ) ยายธี..

เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ พูด รวมทั้งคิดด้วย มีผลกระทบต่อนิเวศน์ทั้งหมดเช่นกันครับ

ชอบเรื่องนี้เหมือนกันค่ะอาจารย์ ดูแล้วได้ข้อคิดดีดี เพราะจริง ๆ แล้ว เราทุกคน สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้จริง ๆ

คุณเยาวลักษณ์ Blank

ผมชอบ theme ที่เขาดึงเอา family มาเป็น power ด้วย สื่อได้เรียบง่ายแต่สำคัญมาก ไม่นับ main theme ที่บ่งชี้ว่าเราทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งจากการกระทำ และการไม่กระทำของเราเอง

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมเยียน

บางครั้งเราทำงาน ยิ่งทำ ยิ่งดูเหมือนจะขาดอะไรบางอย่าง

หลายคนดูท้อแท้ ทั้งที่การสนับสนุนให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้มากมาย

และงานต่างๆ ต้องวิ่งทำเพื่อตอบสนองเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่หน่วยงานกำหนด

ดูทุกคนเครียด

พี่แก้วเอง แม้จะพยายามทำต่อไป

บางครั้งก็รู้สึกว่า สิ่งที่ลงแรงไป ได้ผลไม่มากนัก

แต่ก็ให้กำลังใจตัวเองว่า ทำแล้วได้ผล 5% ก็น่าจะพอใจ.....

สวัสดีครับพี่แก้ว

ที่จริงผมเชื่อว่าไม่มีอะไรที่เราทำไปแล้วสูญเปล่าเลย เพียงแต่เราอาจจะเผอเรอมองไปผิดที่เท่านั้นเอง

สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะ "ตัวชี้วัด" ที่เราตั้งไว้ก่อน ทำให้เกิด​ "กรอบ" ในการมองว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างจากสิ่งที่เราทำ จนมองไม่เห็นสิ่งอื่นๆที่เกิดขึ้น หรือเห็น แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ

ยกตัวอย่างงานการดูแลผู้คนของบุคลากรสาธารณสุข มีหน่วยงานไหนที่ให้ความสำคัญว่า ขณะที่เราทำงาน "ความสัมพันธ์" ระหว่างเรากับผู้คนเป็นเช่นไรบ้าง? อะไรที่เกิดขึ้นใน "ตัวมนุษย์" ขณะที่มีการดูแลกันและกัน นอกเหนือไปจาก mortality rate, morbidity rate, unit cost, profit และ artificial parameters อื่นๆมากมายที่ตั้งขึ้นมา

เราทำอะไรไป เราสามารถจะได้ 100% ได้ไหม หากเราได้แค่ 5% อีก 95% นั้นหายไปไหน และเพราะอะไร? เราไม่ได้อะไรเลยจาก 95% นั้นจริงๆหรือ? แม้แต่ความผิดพลาด เราก็ยังนำไปสอน ไปบอก ไปเล่าให้กับคนอื่นๆได้อีกมากมาย ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว มันก็จะผิดกฏ thermodynamic ที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นและสูญหายไปเฉยๆ มันแค่เปลี่ยนสภาพไปเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะเอาสภาวะที่เปลี่ยนแปลงนี้เป็นโอกาสนำไปใช้ประโยชน์ หรือมองว่าเป็นขยะ (เดี๋ยวนี้ แม้แต่ขยะ ก็นำไป recycle เกิดประโยชน์ต่อไปได้อีกเยอะ)

 

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ ทุกๆ ไม่มีอะไรทำได้ 100% เพียงแต่ทำอย่างไร วิเคาระห์ Gap ให้แคบ เหลือน้อยที่สุด มองให้ครอบคุมมากที่สุด Gap เหลือน้อย ช่วยคนไข้ได้มากที่สุด ลดปัญหา ทางกาย & ทางใจ นะคะ ขอบคุณท่านอจ. ค่ะ

เวลาทำอะไร มันก็จะมีสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง สำเร็จเราก็ทำ successful story กัน ไม่สำเร็จเราก็ทำ lessons learnt กัน สุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร ก็จะการันตีว่ามี successful story หรือ lesson learnt เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาต่อไปแน่ๆ จะได้ไม่ต้องจิตตก ทำไปสูญเปล่า หรืองานชั้นหายไปไหนเนี่ย ให้มันระเคืองระคายใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท