ปรัชญาการทำงาน ตอน “ทำงานอย่างมีความสุข”


สรุปบทเรียน จากเรื่องเล่า/นิทาน/กิจกรรมกลุ่ม


“เช้าวันอาทิตย์ ที่โบสถ์คริสต์แห่งหนึ่ง ระหว่างที่นั่งรอเพื่อนเข้าพิธีวิวาห์ หญิงสาวชาวคริสต์ 3 คน กำลังกินไอศกรีมอยู่  คนแรกค่อยๆใช้ลิ้นเลียอย่างช้าๆ คนที่สองอมและค่อยๆดูด เข้าไป คนที่สามกัดและเคี้ยวเต็มคำจนแก้มตุ่ย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนมีสามีแล้ว” เรื่องที่เล่ามานี้ไม่ใช่เรื่องสัปดนนะครับ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าสู่บทเรียน (Motivation) ของการอบรมเรื่อง ”การทำงานอย่างมีความสุข” ที่ผมเคยสอนให้กับพนักงานขับรถของบริษัทเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา  คำตอบที่ได้จากผู้เข้าอบรมทุกคน ตอบไปในแนวทางเดียวกันหมดคือ ตอบตามคำถามจากการเลีย/อมดูด/กัด กันทั้งนั้น พร้อมให้เหตุผลประกอบการยืนยันด้วยความมั่นใจ ผู้เข้าอบรมทั้งหมดโดนผมหลอกครับเพราะคำตอบที่ถูกต้องคือคนที่มีสามีแล้วจะต้องใส่แหวนแต่งงานที่นิ้วนางด้านซ้ายนั่นเอง ซึ่งตามประเพณีของชาวคริสต์จะมีการแลกแหวนแต่งงานกันและสวมใส่มันไว้อย่างเคร่งครัด จากนั้นผมก็เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของเรื่องการคิดอย่างเป็นระบบว่าส่วนประกอบของการตัดสินใจที่ดีนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและพิสูจน์ได้ อย่าสรุปจากความคิดเห็น หรือประสบการณ์ (KKD) คำว่า KKD มาจากคำว่า “เก๋า”, “กล้า”, “เดา” นั่นเอง บางคนตัดสินจากประสบการณ์มุมมองของตนเองที่เคยพบเคยเจอมา (เก๋า) เจอแบบนี้ต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น  บางคนชอบเสี่ยง ลองผิดลองถูก (กล้า) บางคนชอบเดาสุ่มไปตามเรื่อง ปลอบใจตัวเองโดยมีหลักการสถิติเข้าช่วยบ้าง เดาอย่างมีหลักการบ้าง คาดคะเน ทำนาย พยากรณ์บ้าง สุดท้ายแล้วมันอาจเป็นแบบหักมุมเข็มขัดสั้นก็ได้ (คาดไม่ถึง) เรื่องเหล่านี้ผมมีตัวอย่างสมัยที่ผมทำงานอยู่บริษัทเก่า ที่ตอนนั้นได้ทำหน้าที่เป็น Trainer ฝึกช่างซ่อมเครื่องซักผ้า ตอนนั้นช่างซ่อมก็เก๋าจริงๆ ไปซ่อมเครื่องไม่ต้องมีเครื่องมือ/คู่มือเอกสารอ้างอิงอะไรเลย แค่ไขควงเช็คไฟอันเดียว บางคนหนักไปกว่านั้น ไปแต่ตัว พอถึงหน้างานแค่ฟังเสียงก็รู้ว่าต้องเปลี่ยนอะไหล่ตัวไหนแล้ว แต่มีอยู่วันหนึ่ง มาเจออาการแปลกๆ ถอดก็แล้ว เปลี่ยนก็แล้ว ปรับก็แล้ว ก็ยังไม่ได้  ผมจึงได้ให้แนวคิดพื้นฐานไปตั้งแต่การวิเคราะห์ การอ่านวงจรไฟฟ้า การปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด จนถึงการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จึงทำให้ช่างเหล่านั้นคิดได้

 

ภาพจาก http://www.metro-society.com/?c=1775&cateid=1568

 

ผมค่อยๆ ประคองบรรยากาศการอบรมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพูดคุยตอบคำถามให้ต่อเนื่อง ยังไม่ผลีผลามเข้าไปในเนื้อหาของการทำงานอย่างมีความสุข  โดยชวนพูด ช่วนคุย โม้ไปตามเรื่อง จนกระทั่งเชื่อมโยงเข้าไปในนิทานเรื่องหนึ่งซึ่งผมได้วางแผนการสอนไว้ว่าจะต้องเล่านิทานเรื่องนี้เพื่อเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของการมองตัวเอง จากนิทานเรื่อง “เพื่อนบ้านผู้ซักผ้าได้สกปรก” และ เรื่อง “เศรษฐีกับสีเขียว” (อ่านรายเอียดของนิทานได้ที่ http://www.manager.co.th/family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125075&CommentReferID=19947106&CommentReferNo=4& : เพื่อนบ้านผู้ซักผ้าได้สกปรก”) และ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=21879 : “เศรษฐีกับสีเขียว” ) เรื่องเหล่านี้ผมได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ “แนวทางสู่ความสุข” และ ”นิทานสีขาว” ของ ดร. อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา โดยเริ่มเล่าเรื่องแรกก่อน แล้วสรุปเชื่อมโยงไปยังเรื่องการมองตัวเอง โดยก่อนที่จะตัดสินคนอื่นควรหันกลับมามองตัวเองก่อน ไม่โทษโน่น โทษนี่ หาคนผิด เปรียบได้กับเราเดินไปเหยียบตะปู ก็โวยวายว่าใครทำ แทนที่จะเอาตะปูออกแล้วหายาทาหรือไปหาหมอ หลังจากที่ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในเนื้อหาแล้ว ก็เล่านิทานเรื่องเศรษฐีกับสีเขียวเพื่อตอกย้ำความเข้าใจต่อ  กิจกรรมเหล่านี้ผมใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนที่จะเข้าไปสู่เนื้อหาใหม่

 

 

http://www.youtube.com/watch?v=m0WGzdHttq4

ภาพจาก http://www.freemindbook.com/web/book_detail.php?isbn=978-616-7115-04-7

 

หลังจากนั้นตามแผนการสอนที่ผมวางไว้ตั้งใจไว้ว่าจะสอนเรื่อง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ โดยเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม “ผู้นำ-ผู้ตาม” โดยให้ จับคู่เดินรอบชั้น ไปห้องสมุดแล้ว นำหนังสือที่คิดว่ามีประโยชน์มาทีมละ 1 เล่ม แล้วสลับกัน ให้ผู้ตามเป็นผู้นำเดินไปที่ห้องอบรม  แล้วหานำหนังสือที่คิดว่ามีประโยชน์มาทีมละ 1 เล่ม มาทีมละเล่ม  ตอนนั้นผมก็อธิบายเชื่อมโยงจากกิจกรรมที่ทำกับเนื้อหาแบบธรรมดา และเน้นให้เห็นถึงความสำคัญ พอกลับมาคิดอีกทีการสอนครั้งต่อไปผมคิดว่าน่าจะมีตัวอย่างของบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ ที่เกี่ยวข้องกับรื่องทั้ง 4 นี้ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้เข้าอบรมด้วยว่าอยู่ในวัยใด สนใจเรื่องอะไร มีประสบการณ์อยู่ในสังคมแบบใดมา เช่น อาจจะใช้ผู้เข้าประกวด AF8, The Star, Thailand Got Talent หรืออาจใช้คนที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ตามบริบทที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าอบรมก็ได้ เป็นต้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 505825เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบบทความนี้มากครับ แต่จนแล้วจนรอดผมก็คิดไม่ออกว่าภาพดารากัดไอศรีมยี่ห้อดัง เกี่ยวข้องกับเนื้อหาอย่างไร? หรือว่าผมมองไม่เห็นแหวนที่นิ้วดาราก็ไม่ทราบนะครับ anyway เป็นกำลังใจให้และจะติดตามผลงานดีๆ อย่างนี้อีกครับ

คิดอยู่ท่านไทเลย....ความสุขในการทำงาน ทำงานอย่างมีความสุข คือHappy Ba

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท