หน่วยฝึกและพัฒนาอาชีพโครงการทับทิมสยาม 02 ศฝช.สระแก้ว
หน่วยฝึกและพัฒนาอาชีพโครงการทับทิมสยาม 02 ศฝช.สระแก้ว สายสุดา ประเสริฐสวัสดิ์

การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก


การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก

การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก

                                      โดย  นายลีนะวัตร  เศษศรี

      การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก  ดัดแปลงมาจากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก  พยายามหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนาเกษตรกรที่สนใจและได้ทำการทดลองแล้ว  ปรากฏว่า  การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติกนี้  จะมีผลตอบแทนมากกว่า  การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก  เพราะสามารถเพิ่มจำนวนกบที่เลี้ยงและขยายพื้นที่เลี้ยงได้  และเลี้ยงได้หลายรุ่นและขยายจำนวนบ่อของเกษตรกรได้


พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
      กบที่เหมาะสมจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้  ได้แก่  กบนา    ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการจะใช้เวลาเลี้ยงเพียง  4-5  เดือน  จะได้กบขนาด  4-5  ตัว / กก.  เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว 
การสังเกตเพศ  กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย  และส่วนที่เห็นได้ชัดคือ  กบนาตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวๆ  มุมปากล่างทั้งสองข้าง  ในช่วงฤดูผสมพันธุ์     กบนาตัวผู้จะส่งเสียงร้องและในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส


อัตราการปล่อย
       50-100  ตัว / ตร.ม.  การเลี้ยงกบ  จำเป็นต้องคอยคัดขนาดของกบให้มีขนาดเท่าๆ  กัน  ลงเลี้ยงในบ่อเดียวกัน  มิฉะนั้น  กบใหญ่จะรังแกและกินกบเล็ก
การให้อาหาร
       อาหารที่นิยมเลี้ยงกบมีด้วยกัน  2  แบบ  คือ
      1.  อาหารสด  ได้แก่  หนอน  ,  ปลวก  , แมลง ต่างๆ,ปลาเป็ด  และไส้เดือน  เป็นต้น
     2.  อาหารสำเร็จรูป  ได้แก่  อาหารเม็ดสำหรับปลาดุก  และอาหารเม็ดสำหรับกบ  
     การให้อาหาร  ควรให้วันละ  2  ครั้ง  คือเช้าและเย็น  พยายามอย่าให้อาหารเหลือในบ่อมากเพราะจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้
วัสดุอุปกรณ์ต่อ  1  บ่อ
     -  พันธุ์กบขนาด   2 เซนติเมตร  จำนวน  100 ตัว
     -  อาหารปลาดุกเล็ก  จำนวน 30   กิโลกรัม                  
     - พลาสติกดำ  (ปูบ่อ)  ขนาด 2 X 2 เมตร  จำนวน  1  ผืน  
     - ตาข่ายอวน (กันงู ,นก)    จำนวน  1 กิโลกรัม  
     - มุ้งเขียว  จำนวน  1  ม้วน 
ผลตอบแทน
     รายได้จากการจำหน่ายกบ  ปล่อยกบ  100 ตัว  อัตรารอด  80%  คงเหลือ 80  ตัว  เลี้ยงประมาณ  4  เดือน  ได้กบขนาด 5 ตัว/ กิโลกรัม   การเลี้ยงรุ่นที่ 2  ไม่ต้องลงทุน  ผ้าปูบ่อพลาสติก   และมุ้งเขียว 
โรคและการป้องกัน
     ปัญหาโรคของกบที่เกิดขึ้น  มักเกิดจากความผิดพลาดของการเลี้ยงและการจัดการ  โรคที่พบบ่อยๆ  ได้แก่
      1.  โรคท้องบวม  สาเหตุเกิดจากการปล่อยลูกอ๊อดหนาแน่นเกินไป  มีการให้อาหารปริมาณมาก  ทำให้คุณภาพน้ำในบ่อเน่าเสีย  ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ    
      2.  โรคแผลที่หัวและลำตัว  บริเวณหัวและลำตัวของกบจะเป็นแผลเน่าเปื่อย  สาเหตุเกิดจากสภาพบ่อสกปรกมาก  ดังนั้นควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ  
      หากไม่อยากให้เกิดโรค  ไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป  หรือ  ถ้าพบกบตัวใดมีอาการผิดปกติควรจับแยกออกเลี้ยงต่างหาก  และควรดูแลเรื่องระบบน้ำในบ่อให้ดีอยู่เสมอ

คำสำคัญ (Tags): #กบในบ่อพลาสติก
หมายเลขบันทึก: 505158เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท