กล้วยไม้สกุลแปลก ๆ ตอนที่ 2


กล้วยไม้สกุลนางลับแล(Mischobulbum)

     กล้วยไม้สกุลนางลับแล(Mischobulbum) เป็นกล้วยไม้ที่พบขึ้นตามพื้นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง พบกระจายทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อินเดีย พม่า ไทย จีนตอนใต้ ลาว กำพูชา เวียดนาม ลงไปทางมาเลเซีย นิวกิวนีและหมูเกาะโซโลมอน

     คำว่า Mischobulbum มาจากภาษากรีก Mischos แปลว่า ก้าน ส่วนคำว่า bolbos มาจากคำว่า bulb แปลว่า กระเปาะ  ลักษณะโดยทั่วไปจะเป็นกล้วยไม้ดิน ลำลูกกล้วยเป็นรูปทรงกระบอก มีใบ 1 ใบรูปไข่ กว้างประมาณ 3-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. แผ่นใบอวบน้ำ ดอกเป็นช่อ 5-8 ดอก ออกดอกช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม มีรายงานพบกล้วยไม้สกุลนี้ 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด ได้แก่ Mischobulbon longiscapum  กับ Mischobulbon wrayanum 

 

  M. wrayanum                                

   

M. longiscapum

ภาพจาก(ขอบคุณ) http://orchid.unibas.ch/phpMyHerbarium/2046175/1/Tainia/

wrayana/Hooker_Joseph_Dalton/Smith_Johannes_Jacobus/specimen.php

และ http://siporchid.fix.gs/index.php?topic=770.0

 

หมายเลขบันทึก: 504940เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กล้วยไม้แปลก จากคนแปลกๆ อิ อิ ล้อเล่น จะได้ยิ้มออก

คล้ายๆพวกช้างผสมโขลงผสมกับพวกต้นเปราะอะไรทำนองนั้น เอามาผสมข้ามสายกับพวกซิมบิเดียมก็น่าจะสวยเข้าท่าดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท