ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (10) ... KM กับงานกลุ่มผู้สูงอายุ ... ตัวอย่างเรื่องเล่า จากหมอดาว


อันนี้เป็นเรื่องของความสำเร็จทั้งหมด พอเขาทำได้สำเร็จ เหตุนี้เกิดที่จังหวัดลำปาง และเขาก็คิดว่า สิ่งที่เขาจะทำต่อไป ก็คือ เขาตั้งใจจะขยาย concept self care ให้กับชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ ด้วย

 

หมอดาว (ทพญ.ดาวเรือง แก้วขันตี) ขอเล่าบ้างนะคะ ในฐานะผู้สังเกตการณ์ทีซึมซับบรรยากาศ กระโดดเข้าร่วมกิจกรรม

ตอนแรกในการประชุมนั้น ... ตั้งใจไป ปชส. เรื่องภูมิปัญญา และเพราะว่าต้องไปสอนหนังสือที่มหิดล เขาให้ไปสอนเรื่องทันตฯ มีงานอะไรบ้าง จึงอยากไปหาความรู้เรื่องของโครงการต่างๆ พบว่า เรื่องสูงอายุนี้น่าสนใจ ก็เลยปิ๊ง อยากเข้ามาเรียนรู้ด้วย ... และก็มีเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่กำลังจะรวบรวมเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก วันนั้นก็ตั้งใจจะไป ปชส.

ก็กะจะไปโกยความรู้เต็มที่ และได้ไปเข้ากลุ่มกับห้างฉัตร และราชบุรี ได้ฟังเขาเล่ากันมันส์มาก ก็เลยสนุก มีการแลกเปลี่ยนกันเยอะ ในกลุ่มก็อยากเล่ากันทุกคน ก็กระโดดเข้าไปอาสาว่า ขอเป็นคนขึ้นบอร์ดซะเลย เพราะว่าเขาอยากคุยกันหมด ก็เลยขอทำหน้าที่นี้เอง

และพบว่า พอไปฟังแล้ว ได้รายละเอียดมาเยอะ เขาเล่าไป เราก็เขียนตามที่เขาเล่าไป และก็ฟังไปด้วย และวิเคราะห์ไปด้วย อันนี้ยกตัวอย่างของลำปางที่เดียว พบว่า ความสำเร็จเกิดมาจาก 3 ปัจจัยอันนี้ ก็คือ

  1. เรื่องของบุคลากร
    ... ทันตาภิบาลที่เขาอยู่ ติดต่อกับผู้สูงอายุโดยตรง การที่เราจะทำงานกับใคร ถ้าต้องไปผ่านหลายๆ ต่อ โดยที่ต้นตอไม่ได้เข้าไปคุยด้วย คิดว่าสำเร็จได้ยาก มันต้องมีสัมพันธภาพ
    ... อันที่สอง คือ ที่ รพ. มีพยาบาล คนนี้มีความสามารถสูงมาก และมีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน นี่ก็เป็นการใช้ทรัพยากร หรือใช้บุคลากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม
    ... ทันตาภิบาลที่ สอ. มาช่วยเป็นครั้งคราว
    ... บุคลากรมีความตั้งใจที่จะไปติดตาม กระตุ้นให้เกิดงานขึ้น
  2. กระบวนการทำงาน
    ... มีตั้งแต่ตัวทีม เจ้าหน้าที่ รพ. เริ่มต้นเขาพยายาม maintain concept เรื่องของ self care เขาพยายามที่จะให้ชมรมดูแลตัวเองให้ได้ ไม่ไปทำให้ ไม่กำหนดกิจกรรมให้ ชมรมจะต้องเข้มแข็งด้วยตนเอง เขายืนยัน concept นี้
    ... เวลาเขาทำงานเขาจะทำกลุ่ม ในชมรมที่เข้มแข็งก่อน (มีทำ 2 แห่ง) ที่จัดตั้งอยู่แล้ว เขาก็พยายามทำให้เข้มแข็ง และพอขยับไปทำอีกที่หนึ่งซึ่งเกิดใหม่ เขาก็เอาคนที่เข้มแข็ง ที่ผ่านกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็งแล้วนี้ ไปช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มที่ 2 เพราะฉะนั้นการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
    ... อันที่สาม เขาให้ความรู้โดยการเข้าฐานกิจกรรม
    ... ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้สูงอายุ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะผู้สูงอายุต้องการความสนใจ ความเอาใจใส่ เขาก็เลยเข้าไปดู ทางผู้ใหญ่บ้าน
    ... ดำเนินงานร่วมกับงานผู้สูงอายุของ รพ. ซึ่งคุณพยาบาลที่เป็นผู้ประสานให้ เขามีงานผู้สูงอายุที่รับผิดชอบอยู่แล้ว เราก็จับตัวพยาบาลสูงอายุท่านนี้ได้เลย
    ... มีการอบรมให้ความรู้ ทำกลุ่ม
    ... มีการกระตุ้นการดำเนินงาน
    ... มีการฝึกแปรงฟัน ย้อมสีฟัน แต่ก่อนเรามีวัยเรียนที่ทำอย่างนี้ แต่ปัจจุบันผู้สูงอายุก็ทำได้ ไม่ได้เย่อหยิ่งยะโส เขาก็ทำได้ น่าจะเรียกได้ว่าสำเร็จ
  3. เรื่องของบริบทที่เขาทำมา
    ... อันแรกสุด พยาบาลผู้ประสานงานเยี่ยมยอดมาก Active รับผิดชอบ HA ของ รพ. ด้วย ก็รับผิดชอบงานผู้สูงอายุอยู่แล้ว และเขาอยู่มานาน ทั้ง OPD / DM เขาจะคล่อง และรู้จักชุมชนไปทั่ว คนนี้จะเป็นตัว key มากที่ทำให้สำเร็จได้ ขณะที่บุรีรัมย์ ก็มี อบต. เป็นตัว key เหมือนกัน
    ... เขาทำกิจกรรมกันที่วัด แล้วพระก็สนับสนุนเรื่องแปรงและยา เอามาจากไหน ก็เอามาจากถุงสังฆทาน ท่านเก็บรวบรวมไว้ และท่านก็ offer เอง เพราะว่าท่านเห็นว่ามีกิจกรรม และมีความตั้งใจจริงของชมรมที่จะทำ ก็เลยให้แปรงยา
    ... อบต.ก็หางบสนับสนุนเป็นพิเศษ เพราะลูกประธานชมรมก็ทำงานที่ รพ. อบต. เป็นญาติกัน เทศบาลเองก็สนับสนุนรถรับส่ง ไม่ว่าเป็นเรื่องของการรับบริการ หรือการจัดกิจกรรมอะไร 
    ... อสม. เองมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยมาก
    ... คำขวัญของชมรม “แก่อย่างมีคุณค่า”
    ... มีคุณยายที่เข้มแข็งเป็นแกนนำ ทั้งในเรื่องความรู้ และบริการ คุณยายก็เคยเป็นครูมาก่อน พอมาอยู่ในชมรมก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงนำกิจกรรมได้
    ... ชมรมมีความเข้มแข็งในกลุ่ม มีการรวมกลุ่มกันทำงาน มีการทำดอกไม้จันทน์ขาย มีการทำอะไรเยอะ เพราะฉะนั้นเขาเข้มแข็งอยู่แล้ว
    ... ประเพณีดำหัว ก็สร้างให้มีความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุมายาวนาน เป็นการสร้างสมทรัพยากรมาแต่โบราณ
    ... ผู้สูงอายุมีความรู้ หลายคนเป็นครู เป็นข้าราชการมาก่อน

อันนี้เป็นเรื่องของความสำเร็จทั้งหมด พอเขาทำได้สำเร็จ เหตุนี้เกิดที่จังหวัดลำปาง และเขาก็คิดว่า สิ่งที่เขาจะทำต่อไป ก็คือ เขาตั้งใจจะขยาย concept self care ให้กับชมรมผู้สูงอายุอื่นๆ ด้วย

กระบวนการวันนั้นมีการทำ AAR ด้วยด้วยคำถามว่า มีวัตถุประสงค์อะไรที่มาครั้งนี้ อยากได้อะไร มาแล้วได้อะไรไป รู้อะไรไป ... เจ๊ดาวก็เลย AAR ให้ด้วยว่า วันนั้นตัวเองรู้สึกอย่างไร แถมให้นะคะ

  • อันแรกที่ไป คือ ขอเอง และอยาก PR งานภูมิปัญญาด้วย เพราะอยากจะได้ และอยากรู้เรื่องสูงอายุให้มากขึ้น เพราะว่ายุคนี้เป็นยุค KM ตรงไหนที่ดึงความรู้ได้ เราต้องไปดึงมา เพราะว่าอย่างที่ใครพูดไว้แต่แรก ว่าใครถามอะไรในกองฯ เราจะได้รู้งานของคนอื่นด้วย ก็เลยขอเขาไป
  • อยากได้อะไร ก็อยากไป PR และอยากรู้เรื่องด้วย
  • มาแล้วรู้อะไรมากมาย เดิมทีไปอ่านในเอกสาร ก็ค่อนข้างเป็นนามธรรม ไม่ได้ละเอียดมาก แต่ทีนี้ไปฟังด้วยหูตัวเอง ก็เป็นรูปธรรมมากขึ้น
    ... อันแรกก็คือ จับพระให้ได้ ก็คือ พระเป็นพลังที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำงานในพื้นที่
    ... เครือข่ายที่สนิทกัน คือ คนที่เป็นลูกหลาน อบต. มันก็มี 2 คม คมที่ดีก็คือทางบวก พอเป็นเครือข่ายปุ๊บ ขอเงิน ทรัพยากรได้หมด บางแห่งสังคมวัฒนธรรมเขาก็บอกว่า ไม่ให้เพราะว่าเป็นลูกหลานกัน เดี๋ยวจะหาว่า ใช้เส้นสาย ลำเอียง
    ... พื้นฐานของ อบต. มีความรู้เรื่องสาธารณสุขเยอะแยะ ก็เลยฝากให้ไปว่า ให้ท่านขยายเครือข่าย เพราะท่านมีโอกาสที่จะไปประชุม อบต. ทั่วประเทศ ก็จะมีสภาของเขาทั่วประเทศ ก็ขอให้เขาช่วยขายสิ่งนี้ออกไปทั่วประเทศด้วย ถ้าเราขายสื่อต่างๆ ไปทุกช่องทาง ก็อยากใส่เข้าไปด้วย
    ... และเรื่องของความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ
    ... เรื่องหนึ่งที่น่ารักมาก คือ เรื่องของเค้กก้อนสุดท้าย ที่เขาจัดประชุมชมรมผู้สูงอายุ แรกๆ ก็จะมีเบรคเป็นเค้ก เป็นขนมต่างๆ ต่อมาก็เค้กน้อยลง และตอนหลังก็กลายเป็นผลไม้ จะค่อยๆ ปรับเข้าไป ให้ความรู้เขาไป และเขาก็จะลดเอง เพราะว่าพอมีความรู้ เค้กก็เลยหมด ก็จะเหลือแต่ผลไม้
    ... และก็จะมีเรื่องราวละเอียดอีกมากมาย เล่าไม่จบ
  • ซึ่งวันนั้นข้อเสนอแนะของที่นั่น ก็คือ เรื่องเวลา เวลาน้อยมาก พอทำ AAR ทำกลุ่มก็ไม่พอ AAR เสร็จก็จะต้องทำแผน เวลาหมด ก็น่าจะมีเวลาอีก
  • บรรยากาศดีมาก เป็นกันเอง
  • และเปิดโอกาสให้ได้พูด ความรู้ก็ไหลออกมาเยอะ
  • และควรจะมีการทำ AAR ทุกครั้งหลังการประชุม
  • ข้อเสนอเพิ่มเติม ก็คือ เวลาที่เราจะทำ KM ประเด็นต้องชัดมากมาก ประเด็นต้องไม่ใหญ่มากเกินไป เพราะว่าองค์ความรู้จะออกมาเป็นคำใหญ่ แล้วเราจะไม่เข้าใจ ถ้าแปลคำใหญ่ผิด ก็ไม่ชัด

นี่ก็เป็นคำแนะนำของซือเจ๊ของกองทันตฯ ละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 50459เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท