สวภาวะของอาตมันที่ปรากฏในมาณฑูกยะอุปนิษัท (ต่อ)


สวภาวะที่ทุกคนสามารถทำได้ครับ และใครทำได้ก็คือนิพพนานในปัจจุบันนั้นเอง (ทำจิตให้เหมือนเด็กอญู่ตลอดเวลา)

๒.      สวภาวะของอาตมันที่เกี่ยวข้องกับสวภาวะทั้ง  ๔

               อาตมัน  คือ  สิ่งที่สถิตอยู่ในร่างกาย  มีร่างกายเป็นที่คุมขัง  ถูกจำกัดไว้ด้วยกาละและเทศะ  (Time and space)  และยังตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งหลาย   ดังนั้น อาตมันนี้  เมื่ออยู่ในร่างกาย  จึงมีสวภาวะอยู่  ๔  สวภาวะ  คือ  สวภาวะตื่น  สวภาวะหลับฝัน  สวภาวะหลับสนิท  และสวภาวะหลับสนิทที่ปราศจากการฝัน หรือตุรียะ    ดังข้อความที่กล่าวในมาณฑูกยะอุปนิษัทว่า

                   เพราะว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง  ก็คือพรหมันนั่นแหละ  อาตมันนั้น นั่นแหละมี ๔ เท้า

                ส่วนแรก เป็นสวภาวะไวศวานระ  คือ  สวภาวะตื่น     เราก็จะรับรู้สิ่งภายนอกทั้งหลาย   มีองคาพยพ  ๗   มีปาก  ๑๙  เป็นผู้ยินดีในการบริโภคอาหารหยาบ ๆ

                   ส่วนที่  ๒  สวภาวะไตชสะ  คือ  สวภาวะหลับฝัน  เราก็จะรับรู้สิ่งภายใน         มีองคาพยพ  ๗   มีปาก  ๑๙  เป็นผู้ยินดีในการบริโภคสิ่งประณีตละเอียด

                 คนหลับสนิท  ย่อมไม่ต้องการสิ่งที่ต้องการใด ๆ ย่อมไม่เห็นความฝันใด ๆ

                ส่วนที่  ๓  สวภาวะปราชญะ  คือ สวภาวะหลับสนิท   เราก็จะรับรู้โดยการรวมเข้ากันของประสบการณ์ทั้งปวง  เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน   ความรู้ตัวถอยทับถมกันเป็นกลุ่มก้อนถึงซึ่งความสุขยิ่ง  ยินดีด้วยความสุขยิ่ง  เป็นประตูไปสู่ความรู้

             เขาทั้งหลาย  คิดว่า  ส่วนที่ ๔  ตุรียะ คือสวภาวะหลับสนิทที่ปราศจากการฝัน       เป็นส่วนที่ไม่รู้สิ่งภายนอก    หรือ ไม่รู้สิ่งภายใน   ไม่รู้ทั้งสองทาง   ไม่ใช่ก้อนของความรู้     ไม่ใช่สิ่งที่รู้   ไม่ใช่สิ่งที่ไม่รู้  ไม่ถูกเห็น  เกี่ยวกับทางโลกไม่ได้   จับไม่ได้  ไม่มีลักษณะ  คิดด้วยใจไม่ได้     อาจอธิบายไม่ได้    สาระของสิ่งนี้คือความเชื่อเรื่องอาตมันสิ่งเดียว  ว่างจากปรากฏการณ์ทั้งปวง   สงบเย็น  ปราศจากความเป็นคู่  เช่นนี้แหละ   ผู้ใฝ่ความวิเวกเรียกส่วนที่  ๔  ว่าเป็น  อาตมัน   ซึ่งควรจะต้องรู้ให้ถึง


             จากที่กล่าวมาทั้งหมด   จะเห็นได้ว่าสวภาวะทั้ง ๓ นี้  คือสวภาวะตื่น  สวภาวะหลับฝัน  และสวภาวะหลับสนิท  อยู่ในร่างกายของตัวเรานี่เอง  และอาตมันก็อยู่ในสวภาวะทั้ง  ๓  นี้        และสวภาวะทั้ง  ๓   ได้รวมประสบการณ์ทั้งหมดเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน   ทำให้สวภาวะความเป็นคู่หมดสิ้นลง   นำไปสู่สวภาวะที่สูงสุดที่เรียกว่า  ตุรียะ  (สวภาวะที่หลุดพ้น)   ทำให้อาตมันไม่ถูกพันธการด้วยสิ่งใด ๆ  ทั้งเหตุและผล   เป็นสวภาวะแห่งการรู้แจ้ง   ไม่มีจุดเริ่มต้น  ไม่มีการเกิด  ไม่มีการหลับ  ไม่มีการฝัน  ไม่มีทั้งผู้ฝันและผู้ถูกฝัน (ไม่มีสวภาวะความเป็นคู่ที่ถูกสร้างขึ้นมา)          บรรดาสวภาวะทั้ง  ๔  นั้น  สวภาวะตื่น  (ชาคริตสถานะ)  กับสวภาวะหลับฝัน      (สวัปนสถานะ)  เป็นการแสดงบทบาทของชีวาตมัน  คือ  อาตมันที่มีชีวิตความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับร่างกาย  ส่วนสวภาวะหลับสนิท  (สุษุปปตสถานะ)  กับ  สวภาวะที่   ๔  คือ  ตุรียะ  เกิดขึ้นเมื่อชีวาตมันยุติความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับร่างกาย  กลายเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันหรือพรหมัน       ผู้เป็นอาตมันของทุกสิ่ง  ดังข้อความในพฤหทารัณยกะอุปนิษัท   อัธยายะที่  ๔  พราหมณะที่  ๓  โศลกที่  ๓๐  ถึงโศลกที่ ๓๒  ท่านยาชญวัลกยะได้อธิบายถึงสวภาวะหลับสนิท   และสวภาวะหลับสนิทที่ปราศจากการฝัน   เมื่ออาตมันได้บรรลุถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพรหมันว่า

           จริง ๆ แล้ว  เขาผู้นี้  (อาตมันในร่างกาย)  มีคุณลักษณะ  คือ  ความพ้นแล้วจากกามฉันทะ  ปราศจากบาปและความกลัว  ในทำนองเดียวกันกับที่ผู้ชาย  เมื่อถูกหญิง     คนรักกอดไว้แน่น  เขาย่อมไม่รับรู้อะไรเลย  ไม่ว่าเรื่องภายนอกหรือภายใน  ฉันใดก็ฉันนั้นเทียว  บุรุษผู้นี้  (อาตมัน)  เมื่อถูกความรู้แจ้งทั่วของพรหมันกอดรัดแน่น  เขาย่อมไม่รับรู้อะไรเลย  ไม่ว่าเรื่องภายนอกหรือภายใน  จริง ๆ แล้ว  นี่คือ  คุณลักษณะของเขาเอง  เป็นรูปที่ได้ทุกสิ่งตามต้องการ  ไม่มีความต้องการอะไรนอกจากอาตมัน  ปราศจากทุกข์    จริง ๆ แล้ว  ในขณะที่เขาไม่ได้รู้แจ้งเข้าใจอะไรเลย จริง ๆ  เขากำลังรู้แจ้งเข้าใจอยู่    ทั้ง ๆ     ที่เขาไม่ได้รู้แจ้งเข้าใจอะไรเลย  เพราะเหตุว่า  การสูญสิ้นความรู้แจ้งเข้าใจของผู้รู้แจ้งเข้าใจไม่เคยมีปรากฏ  เนื่องจากความไม่อาจจะทำลายพินาศได้  นอกจากนั้นยังไม่มีสิ่งซึ่งเป็นที่  ๒  และสิ่งอื่นซึ่งจะแยกจากเขาที่จะให้เขารู้แจ้งเข้าใจก็ไม่มี          

 

                   จริง ๆ แล้ว  เมื่อไรที่ดูเหมือนว่า  มีสิ่งอื่นอยู่  เมื่อนั้นสิ่งหนึ่งจึงจะมองเห็นอีกสิ่งหนึ่ง  สิ่งหนึ่งจึงจะได้กลิ่นอีกสิ่งหนึ่ง  สิ่งหนึ่งจึงจะได้รสอีกสิ่งหนึ่ง   สิ่งหนึ่งจึงจะพูดถึงอีกสิ่งหนึ่ง     สิ่งหนึ่งจึงจะได้ยินอีกสิ่งหนึ่ง    สิ่งหนึ่งจึงจะคิดถึงอีกสิ่งหนึ่ง   สิ่งหนึ่งจึงจะแตะต้องสัมผัสอีก สิ่งหนึ่ง    สิ่งหนึ่งจึงจะรู้แจ้งเข้าใจอีกสิ่งหนึ่ง

 

                   เขากลายเป็นหนึ่งเดียวเหมือนน้ำ  เป็นผู้เห็นซึ่งไม่มีสิ่งที่สอง  นี่คือพรหมโลก   นี่คือจุดหมายปลายทางสูงสุดสำหรับคนเรานี้   นี่คือ  สมบัติอันมีค่าสูงสุดสำหรับเขา       นี่คือ  โลกสูงสุดสำหรับเขา  นี่คือ  ความบรมสุขสำหรับเขา  สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ล้วนดำเนินชีวิตอยู่บนเศษละอองธุลีของบรมสุขนี้

 

              ด้วยเหตุที่ร่างกายมีอาตมันเป็นผู้รู้อินทรีย์ทั้งหลายนี้เอง  จึงเป็นเหตุให้บุคคลมีความรักใคร่ผูกพันในสิ่งต่าง ๆ   ที่ตนรับรู้และเกิดอุปาทานสมมติว่า  เป็นสิ่งนั้น  สิ่งโน้น  ซึ่งแตกต่าง   จากตน   แล้วเลยยึดติดว่า  สิ่งนั้นเป็นของตน  ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว  มีเพียงอาตมันซึ่งเป็นความรู้แจ้งทั่วหนึ่งเดียวเท่านั้น

               ฉะนั้น  อาตมันแม้จะอาศัยอยู่ในร่างกาย   แต่ร่างกายก็ไม่ใช่อาตมัน  ประสบการณ์ทั้งหลายในขณะตื่นและขณะหลับฝัน  แม้ว่ามันจะมีความหมายสำหรับอาตมัน   แต่มันก็ไม่ใช่อาตมัน   สวภาวะในขณะที่ตื่นและหลับฝันที่ปรากฏกับตัวเรา  ก็ไม่ใช่อาตมัน  อาตมันไม่มีความกลัวและความรู้สึกเจ็บปวดอย่างตัวตนในขณะตื่นและหลับฝัน  และสวภาวะอันเป็นนามธรรมในขณะที่บุคคลนอนหลับสนิท   ก็ไม่ใช่อาตมัน  อาตมันมีความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ  เพราะว่าสิ่งเหล่านี้  เช่น  ตา   ร่างกาย   ความคิดนึก  และกระแสจิต  เป็นเพียงเครื่องมือ  และที่อาศัยของอาตมันเท่านั้น   แต่ก็ไม่ใช่ตัวอาตมัน    อาตมันอยู่เหนือสิ่งดังกล่าวทั้งหมด  อาตมันเป็นสากล   แต่ก็มีลักษณะทั้งที่เป็นอันตรภาวะ  (Immanent)   คือสิงสถิตอยู่ในทุกสิ่ง  และอุตรภาวะ (Transcendent)  คืออยู่เหนือหรือพ้นไปจากสิ่งต่าง ๆ   ดังนั้น  อาตมันจึงไม่ใช่อย่างเดียวกับร่างกายและสิ่งต่าง ๆ  เพราะร่างกายและสิ่งต่าง ๆ  ไม่เที่ยง  แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปและแตกสลายในที่สุด  แต่อาตมันคงที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง  ไม่แตกสลายและเป็นอมตะตลอดไป 



 บรรณานุกรม

S. Gambhīrānanda, Māndūkya  Upanisạd

   วรลักษณ์  พับบรรจง,  คัมภีร์กำเนิดจักรวาลศาสตร์แห่งชีวิต


                     

หมายเลขบันทึก: 504552เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2012 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

อาตมันแม้จะอาศัยอยู่ในร่างกาย   แต่ร่างกายก็ไม่ใช่อาตมัน ..... ดีจังเลยนะคะ


ขอบคุณ  บทความดีดี  มีคุณภาพนะคะ

แวะเข้ามาทักทายครับ และขอเสนอแนะ คำว่า " กษณ" และ " กษิณ " ที่ท่านให้ความรู้ไว้ ใน "กษิณานุสรณ์ รำลึก " ของ แว่นธรรมทอง ในฐานะผมเป็นลูกศิษย์ท่านคนหนึ่ง จากที่คุณลูกสายลมกล่าวว่า.... " คำว่า กษิณ น่าจะผิดนะครับ ต้องเป็น กษณ จึงจะถูกนะครับ ถ้าน้ำนมใช้ กษิร แต่ถ้าเกษียณอายุต้อง กษณะ นะครับ " ผมขออนุญาตเสนอแนะว่า.... คำที่คุณลูกสายลม แนะนำมา กษณ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ครู่ คราว บาลีใช้ ขณ •กษิร ที่ คุณลูกสายลมให้ควาหมาย ว่า น้ำนม ถูกต้อง •คำที่ แว่นธรรมทอง นำมาสร้างขึ้น "กษิณานุสรณ"(อนุสรณ์การเกษียณ) โดยนำคำว่า "กษิณ" (สันสกฤต บาลีใช้ ขีณ) สมาสแบบสนธิกับคำว่า "อนุสรณ์" •คำที่มีเสียงพ้องกัน ๓ คำ แต่ความหมายต่างกัน ที่ทำให้คนเข้าใจผิด มีดังนี้ •เกษียณ แปลว่า สิ้นไป เช่น เกษียณราชการ •เกษียร แปลว่า น้ำนม เช่น เกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม) •เกษียน แปลว่า ข้อความที่เขียนไว้หัวกระดาษคำสั่ง (เกษียนหนังสือ)...สวัสดีครับ ( จำคำครูมาเล่าต่อเพื่อเป็นวิทยาทาน) และ หลายท่านที่ใช้คำว่า " กษิณา" ( ที่มีความหมายว่าสิ้นสุด สิ้นไป นี้) ไปสมาสกับคำอื่นเพื่อสร้างคำใหม่ ใช้ในโอกาสต่างๆ มากมาย เช่น - กษิณาลัย ( กษิณ+อาลัย) ในงานเกษียณอายุราชท่าน คุณครูวาลินา สังวรินทะ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม - กษิณาศรพ ( กฺษิณา+อาศฺรว) แปลว่า พระผู้สิ้นอาสวะ ( ในมหาชาติคำหลวง นครกัณฑ์ ) - กษิณาลิขิตานุสรณ์ ฯลฯ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า คำว่า " กษิณ" หรือ "กษิณา" ที่มีความหมายว่า สิ้นไป สิ้นสุดไป ก็สามารถใช้สมาสกับคำอื่นสื่อความหมายว่าสิ่งนั้นกำลังจะสิ้นสุดไปได้,ผู้สิ้นสุด หรือ อนุสรณ์แห่งการสิ้นสุด ( กษิณานุสรณ์) ก็ได้ หรือ อนุสรณ์การเกษียณ ก็ได้ตรงตามความหมายที่ อ.แว่นธรรมทอง ใช้ " กษิณานุสรณ์ รำลึก " หรือ ถ้าใช้ "กษณนุสรณ์ ที่แปลว่า อนุสรณ์ครั้งคราวหนึ่ง ,ครั้งหนึ่ง ตามที่คุณลูกสายลมแนะนำไว้ก็อาจใช้ได้ แต่ผมเห็นว่า การใช้คำว่า " กษิณา" มาสมาสกับ "อนุสรณ์" นั้น ไม่ผิดครับ ขอบคุณครับ...

สวัสดีครับ ที่ว่า... สมาส... กล่าวไปนั้น สมาสแบบสนธิ นะครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณพี่เปิ้ล คุณขจิต และคุณสุกรณ์ บงไทสาร ครับ

ร่วมทั้ง Comment ด้วยครับ ผมได้ตอบในบันทึกของคุณ สุกรณ์ แล้วนะครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท