เรียนเก่ง เรียนอย่างไร


               ตอนเด็กๆ เคยอ่านกลอน เนื้อความว่า “เรียนเก่งเรียนอย่างไร เรียนด้วยใจหิววิชา...”

               แต่ละชาติภาษาคงจะมีสูตรเรียนเก่งแตกต่างกันไป สำหรับผม เชื่อว่าเรียนให้เก่งต้องเรียนทีละน้อย ถ้าเรียนเกินขนาด ก็จะเกิดอาการดื้อวิชา ;)

               ผมไปคว้าร้อยกรอง สันสกฤตมาจาก www.chitrapurmath.net ความว่า

 

यः पठति लिखति पश्यति परिपृच्छति पण्डितानुपाश्रयति ।

तस्य दिवाकरकिरणैर्नलिनीदलमिव विकास्यते बुद्धिः ।

 

ยะ ปฐติ ลิขติ ปศฺยติ ปริปฺฤจฺฉติ ปณฺฑิตานุปาศฺรยติ ฯ

ตสฺย ทิวากรกิรไณรฺนลินีทลมิว วิกาสฺยเต พุทฺธิะ ฯ

 

yaḥ paṭhati likhati paśyati paripṛcchati paṇḍitān upāśrayati,

tasya  divākarakiranair  nalinīdalam iva vikāsyatē buddhiḥ.

 

ผู้ใดอ่าน เขียน ดู ซักถาม และปรึกษาบัณฑิต

ความรู้ของผู้นั้นย่อมประดุจกลีบบัวที่แบ่งบานด้วยแสงทิวากร

 

Large_749px-brockhaus_and_efron_encyclopedic_dictionary_b11_310-0

(ภาพจาก http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Brockhaus_and_Efron_Encyclopedic_Dictionary_b11_310-0.jpg)

 

 ไวยากรณ์

การแยกสนธิ ดูจากอักษรโรมันได้เลย

เรียงประโยคใหม่ :   ยะ ปฐติ ลิขติ ปศฺยติ ปริปฺฤจฺฉติ อุปาศฺรยติ ปณฺฑิตานฺ, ตสฺย พุทฺธิะ อิว นลินีทมฺ วิกาสฺยเต ทิวากรกิรไณะ

 

แปลศัพท์

  • ยะ               ผู้ใด. สัมพันธสรรพนาม (relative pronoun) บุรุษที่ 3 กรรตุการก เอกพจน์
  • ปฐติ            เขาอ่าน (1√ปฐฺ เรียน, อ่าน)   ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์
  • ลิขติ            เขาเขียน (1√ลิขฺ. เขียน) ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์
  • ปศฺยติ          เขาดู (4√ทฺฤศฺ. ดู) ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์
  • ปริปฺฤจฺฉติ    เขาซักถาม (6√ปฺรฉฺ + ปริ. ถาม) ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์
  • อุปาศฺรยติ    เขาปรึกษา (1√ศฺริ + อุป + อา. พึ่งพา, ติดต่อ) ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์
  • ปณฺฑิตานฺ    ซึ่งบัณฑิตทั้งหลาย. นาม เพศชาย กรรมการก พหูพจน์
  • ตสฺย             ของผู้นั้น. สรรพนาม (pronoun) บุรุษที่ 3 สัมพันธการก เอกพจน์
  • ทิวากรกิรไณะ โดยแสงอาทิตย์ (สมาส, ทิวากร+กิรณ) เพศชาย กรณการก พหูพจน์
  • นลินีทลมฺ       กลีบบัว (สมาส, นลินี+ทล) เพศกลาง กรรตุการก เอกพจน์
  • อิว                เหมือน/ประหนึ่ง (อวฺยย หรือศัพท์ไม่แจกรูป)
  • วิกาสฺยเต       ถูกทำให้แบ่งบาน (1√กสฺ + วิ. บาน)  ปัจจุบันกาล บุรุษที่ 3 เอกพจน์ กรรมวาจก
  • พุทฺธิะ           ความรู้. นามเพศหญิง บุรุษที่ 1 เอกพจน์ กรรตุการก

ข้อมูล

  • www.chitrapurmath.net
  • http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Brockhaus_and_Efron_Encyclopedic_Dictionary_b11_310-0.jpg
หมายเลขบันทึก: 504535เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2012 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

จะหมั่นถามอาจารย์บ่อยๆคะ ฮ่าๆ

(1√กสฺ + วิ วิอันนี้เป็นบุพบทเหรอคะ

สัญลักษณ์แบบนั้น วิ เป็นอุปสรรคครับ (ถ้าเป็นภาษาอื่นเรียกบุพบทคงได้ แต่สันสกฤตเรียกอุปสรรคก็แล้วกัน)

เอาไปเติมหน้าธาตุ กลายเป็น วิกสฺ... แต่ลง ya เป็น passive voice ไว้ค่อยเรียน

อย่าลืมเสวนากับบัณฑิตด้วย ;)

พยายามจะเรียนให้เก่งอยู่นะครับ

 

อาจารย์ Blank โสภณ เปียสนิท  ไม่ต้องพยายามแล้วล่ะครับ

เึคี่ยวเข็ญลูกศิษย์อย่างเดียวเลย ;)

สวัสดีค่ะคุณครู

เห็นชื่อบันทึกแล้ว ตาหยีๆ ก็โตขึ้นในทันทีทันใดเลยค่ะ

รีบอ่านรีบเก็บเคล็ดลับไว้

                         “เรียนเก่งเรียนอย่างไร เรียนด้วยใจหิววิชา...”

 

"ผู้ใดอ่าน เขียน ดู ซักถาม และปรึกษาบัณฑิต

 

ความรู้ของผู้นั้นย่อมประดุจกลีบบัวที่แบ่งบานด้วยแสงทิวากร"

อ่าน เขียน ดู ฟัง และใจที่หิววิชานั้น ประเมินว่าตัวเองทำอยู่แล้ว ในเรื่องที่รักที่ชอบ แต่มาเห็นจุดอ่อนก็คือไม่ค่อย "ปรึกษาับัณฑิต" ค่ะ

ต้องปรับตัวใหม่ จะได้เรียนเก่งๆๆ กว่านี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ จากตาหยีเป็นตาโตได้... ;) 

เรียนด้วยใจหิววิชา จำได้ว่ามาจากหนังสือของคุรุสภาฯ ครับ

มีภาพประกอบทุกหน้า เลยชอบอ่าน...

เรื่องปรึกษาบัณฑิต อาจจะต้องเพิ่มเป็น ปรึกษามหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิต จะได้ทันสมัยนะครับ

เลยต่อความไว้อีกหน่อยว่า

ปรึกษาบัณฑิต หากจะกินความให้ครอบคลุมน่าจะใช้ว่า"ปรึกษาท่านผู้รู้"

เพราะความจริง ท่านที่รู้จริงจำนวนมาก ไม่ได้เป็นมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต แต่รู้กระจ่างแจ้งจาก ปัญญา ที่ไ้ด้จากการปฏิบัติ ไตร่ตรอง แก้ปัญหาอย่างเข้มข้นในชีวิต  :)

ใช่แล้วครับ

ที่อินเดีย บัณฑิต เป็นคำยกย่องแสดงความนับถือ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ (ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่สถาบันแต่งตั้ง)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท