กลยุทธ์การปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครู


ท่านไม่สามารถจูงใจนักเรียนถ้าไม่รู้จักนักเรียน

            กลยุทธ์การปฏิบัติหน้าที่การเป็นครู

 

                                                                    ประชุม โพธิกุล

       ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณลักษณะ 3 ประการของครูที่ยิ่งใหญ่(สร้างสัมพันธ์ ความเข้มงวดในมาตรฐานคุณภาพ ความตรงประเด็นของหลักสูตรกับชีวิตประจำวัน)ค่อนข้างลดน้อยถอยลงในวิธีการปฏิบัติงานในทุกวันนี้ คุณลักษณะสามสิ่งหมายถึงอะไร

         การสร้างความสัมพันธ์/ความเคารพนับถือ “ไม่มีใครสนใจคุณถ้าคุณไม่สนใจคนอื่น” ท่านไม่สามารถจูงใจนักเรียนถ้าไม่รู้จักนักเรียน ไม่มีการเรียนรู้ถ้าไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันหรือนับถือกัน ข้อเสนอแนะในการสร้างสัมพันธภาพ 6ขั้นตอนเริ่มจาก

  รู้จักกัน >เข้าใจกัน > ยอมรับกัน >นับถือกัน >ไว้เนื้อเชื่อใจกัน >มีพันธะต่อกัน(เรียนรู้ร่วมกัน)

         เมื่อไรก็ตามเมื่อคุณถามนักเรียนว่า คุณกำลังทำอะไร คุณมีวิธีการอย่างไร คุณหมายถึงอะไร คุณได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจหรือไม่ในการไปเยี่ยมชั้นเรียนของครูคนอื่นหรือไปสังเกตการสอนของผู้อื่น คุณรู้จักนักเรียนที่คุณสอนทุกคนหรือไม่ คุณมีประเด็นที่จะพูดคุยกับนักเรียนทุกคนในห้องเรียนที่สอนทุกวัน คุณยิ้มได้กับวันที่ยุ่งยากกับพวกเขาหรือไม่ วันที่เลวร้ายของคุณอาจเป็นวันที่สนุกที่สุดของนักเรียนบางคนของคุณ  ติดต่อกับ..................ของชั้นเรียน (เติมชื่อนักเรียนที่สร้างแรงกดดันคุณ)

         ความเข้มงวด กล่าวถึงความต้องการจำเป็นของนักเรียนทั้งหมดและผลักดันให้เขาอยู่เหนือเกณฑ์คุณภาพ ให้เขาได้ยืดขยายและผลักดัน ให้เขายอมรับการเรียนรู้จากความผิดพลาด

         ความเข้มงวดในชั้นเรียน มิใช่หมายถึงใบงาน มิใช่การการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายหรือตรวจงานในตอนท้าย มิใช่นักเรียนอ่านแล้วตอบคำถามท้ายบท มิใช่ครูเท่านั้นที่จะเป็นผู้ส่งมอบเนื้อหาความรู้ผมคิดว่าคุณคงเข้าใจในจุดนี้ เราหมายถึงการเข้มงวดในมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

         ความเข้มงวดในชั้นเรียน นักเรียนได้สร้างสรร เพิ่มผลผลิตและการค้นคว้าวิจัยจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ มิใช่การเติมคำลงในช่องว่าง การเติมสีในฟองสบู่ หรือการสำรอกความจริงออกมา ต้องพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน เช่นการทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหา การคิดวิพากษ์ ความร่วมมือ การสื่อสาร มิใช่เพียงนั่งฟังครู

          ความตรงประเด็น  ทำไมฉันต้องเรียนหรือต้องทำความเข้าใจกับสิ่งนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอยู่ในหลักสูตร หรือเป็นสิ่งที่ครูชอบ หรือมีอยู่ในการทดสอบการเข้าศึกษาต่อ การเข้าถึงจิตใจนักเรียน ต้องเชื่อมต่อชีวิตประจำวันนักเรียน ต้องช่วยให้เนื้อหาหลักสูตรตรงประเด็นกับชีวิตประจำวัน

           การให้การเรียนรู้ตรงประเด็น ตัวอย่าง การเขียนบทความสำหรับผู้อ่านที่แท้จริงเช่นให้เขียนบล๊อก ส่งให้คนอื่นอ่านแล้วเสนอแนะกลับ (ไม่เพียงเขียนให้ครูอ่านเท่านั้น) การเขียนของนักเรียน ให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ คิดสำรวจ ออกแบบผลผลิตให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีซึ่งเป็นปรกติอยู่แล้วเพื่อให้เขาได้แสดงความเชี่ยวชาญ

           ยอมให้ผู้เรียนได้เลือก วิธีการสร้างสรรและออกแบบหรือทำวีดีทัศน์ ไม่ต้องไปบอกเขาทั้งหมด เขาอาจทำเป็นโปสเตอร์ ให้สิทธิเขาเลือก มีช่องทางให้เขาได้ระบายออกแบบฟรีค่าใช้จ่ายมากมายในผลงาน หรือการสร้างสรรค์ผลงาน โดยข้อเท็จจริงมีเครื่องมือในการนำเสนอมากกว่าที่เราปฏิบัติ โปรดจำไว้ว่านักเรียนในปัจจุบันเขาเกิดในยุคดิจิตอล เขามีเครื่องมือมากกว่าเรา

            ท่านมีลักษณะนิสัยทั้งสามประการอยู่แล้วสิ่งแรกคือการสร้างสัมพันธ์คุ้นเคย เข้าใจนักเรียน การเปลี่ยนแปลงก็เกิด ความเข้มงวดกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพจัดประสบการณ์เนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องตรงประเด็นกับชีวิตประจำวันท่านได้ชื่อว่าเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ ในทัศนะของท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเชิญอภิปรายร่วมกัน

       

หมายเลขบันทึก: 503962เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท