ความคิดสร้างสรรค์


ความคิดสร้างสรรค์

 

ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงผู้นำจำเป็นต้องมีลักษณะของผู้นำโดยเฉพาะผู้นำทางการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดขององค์กร  เพราะในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้เพียงแค่ผู้นำที่ย่ำเท้าอยู่กับที่ก็เท่ากับพาองค์กรถอยหลัง  ในขณะเดียวกันผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงต้องมีศักยภาพในการพัฒนาคนให้มีการพัฒนาใจ   เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี  มีคุณธรรม และสามารถนำสังคมก้าวหน้าพัฒนาชาติไทยได้
 แนวคิดการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเจริญเติบโต  (SURVIVAL & GROWTH) ขององค์กร ต้องมีการตัดสินใจเชิงกลยุทธ  ชุดการตัดสินใจ ต้องมีการปรับในเรื่อง
1. ระบบโครงสร้าง (Structure System)
2. ระบบเทคโนโลยี (Technology System)
3. ระบบงาน (Work / Task System)
4. ระบบทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources System)

ขีดความสามารถ (Competency) ที่จำเป็นต้องมีในยุคโลกาภิวัตน์ / โลกไร้พรหมแดน / . Com ที่ต้องพัฒนาให้เกิดประกอบด้วย
1. Customer Satisfaction :  สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
  2.  Cost Reduction :  การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
            3.  Competitive Advantage : สร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน
            4.  Creditability :  ความน่าเชื่อถือในผลการดำเนินงาน
 5. Corporate Culture :  สร้างวัฒนธรรมองค์การ
 6. Communication : การสื่อสารทั่วถึง
  7. Connection :  สร้างพันธมิตรทางการค้า
  8. Cooperative Mind  :  ร่วมใจทำงานเป็นทีม
  9. Creative Thinking  :  พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
10. Continuous Improvement   ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

วิทยายุทธ์ 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
Fifth Disciplines for  Learning Organization By Peter M. Senge 
1. Personal Mastery :  บุคคลผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้
2. Mental Model       :  กรอบความคิดใหม่แห่งภูมิปัญญา
3. Shared Vision       :  วิสัยทัศน์ร่วม
4. System Thinking  :  การคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
5. Team Learning    :  การเรียนรู้เป็นทีม

พฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior)
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่าง(ค่อนข้างจะ)  ถาวร โดยอาศัยการเน้นย้ำเสริมแรง (Reinforcement) ให้กำลังใจ จนผู้เรียน ตระหนักเห็นความสำคัญ เกิดความรู้ ความเข้าใจ   ทัศนคติที่ถูกต้อง และมีทักษะความชำนาญงาน  ทั้งนี้ภายใต้ การให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาการรับรู้และการเรียนรู้ของมนุษย์
 มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ  รู้จักคิด  รู้จักหาเหตุผล  มีพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง จึงทำให้สามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้   สาเหตุที่สำคัญก็เพราะมนุษย์มีทักษะความสามารถในการคิดนั่นเอง  คิดทั้งสมองซีกซ้าย (ว่าด้วยความคิดเชิงระบบ)  และสมองซีกขวา (ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์)  รวมกันเป็นสมองที่ปราดเปรื่องและอัจฉริยะ
การคิดของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้  เริ่มต้นจากการรับรู้ซึ่งเป็นกระบวนการในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ โดยผ่านช่องทางต่าง ๆ ในการสื่อสารและการรับรู้ของประสาทสัมผัส  เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็จะมีการเก็บสะสม มีการจัดกลุ่มมีการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ มีการทดลองนำไปใช้ประโยชน์  ประเมินค่า ผลดี ผลเสีย แล้วพัฒนาสู่การเรียนรู้ใหม่ และ / หรือมีการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ สู่การสร้างความรู้ใหม่ ๆ
  พัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง ย่อมส่งต่อศักยภาพและความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและนี่คือความก้าวหน้าของมนุษยชาติอย่างแท้จริง

 

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อย่างค่อนข้างถาวร     โดย การสังเกต  พิจารณา  ไตร่ตรอง แก้ปัญหา  ควบคู่กับ การเน้นย้ำเสริมแรง (Reinforcement) และให้กำลังใจ จนผู้เรียนเกิดความมั่นใจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี คุณภาพ ตรงตามมาตรฐานมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ  โดยสิ่งที่ช่วยในการจดจำของผู้เรียนมากที่สุดคือการได้เห็น

วิธีการเรียนรู้ (learning Method)
 1. การสังเกตธรรมชาติ                
2. การลองผิดลองถูก
3. การอาศัยประสบการณ์  
4. วิธีการตรรกศาสตร์ (Logic)  [การนิรนัย(อนุมาน)  และ  การอุปนัย(อุปมาน)] 
5. การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของ Mill.
6. วิธีการทางวิทยาศาสตร์
7. การฝึกอบรมและพัฒนา

 ผู้นำองค์กรจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องวิสัยทัศน์  พันธกิจ Core Value ขององค์กร  และต้องมีส่วนร่วมในการคิด  ทั้งนี้เพราะ Share Value  มีความหมายว่าเมื่อองค์มีการกำหนดวิสัยทัศน์ออกมา  ผู้นำในแต่ละหน่วยต้องนำหน่วยของตนให้เดินไปสู่วิสัยทัศน์ขององค์กรให้ได้  โดยการกำหนดแผนยุทธศาตร์ที่สอดรับกับพันธกิจของตนที่มุ่งสู่วิสัยทัศน์ของตนเองที่สอดรับกับขององค์กรนั่นเอง  ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในผู้นำองค์กรยุคใหม่  เพราะความคิดสร้างสามารถสร้างความได้เปรียบในทางแข่งขัน  อุปสรรค์ของความคิดสร้างสรรค์คือความคิดที่ติดอยู่กับกรอบไม่ชอบการพัฒนา แต่ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ฝึกได้โดยการสร้างสถานการณ์ให้สมองซีกขวาได้คิด คิดบ่อย ร่วมกับการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้คิดอย่างอิสระ  ไม่กดดัน
   ........................โดย      คนึงนิจ อนุโรจน์

หมายเลขบันทึก: 50380เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

           I am ok. I have Just  agree  with your article. I want to add some thinking. The leader must have The Positive Thinking and Thinking Big to contact with power. And Reinforcement to the aim of work.  your best

ในโลกแห่งผู้นำนั้น จะต้องคิดพัฒนาตนเองตลอดเวลา

และจะต้องคิดนอกกรอบ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การพัฒนาแบบคิดนอกกรอบ จะนำมาใช้ในระบบราชการไม่ได้ เพราะในราชการมีกฎระเบียบซึ่งไม่สามารถ ออกนอกกรอบได้เลย

ดังนั้น เมือทุกอย่างต้องอยู่ในกรอบ ก็คงไม่ต้องถามหา การพัฒนา...และประสิทธิภาพสูงสุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท