ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 10


- สนธิ คำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ

- ศัพท์เพิ่มเติม 

 

มาบทนี้ ไม่มีอะไรมาก นอกจากทำแบบฝึกทบทวน อย่าลืมว่าหลักไวยากรณ์นั้นแทบไม่มีความหมายเลย ถ้าไม่ได้ทำแบบฝึกหัด หัดอ่านหัดเขียน ระหว่างนี้ ให้เขียนๆ อ่านๆ อยู่ตลอดเวลา

 

1. สนธิพยัญชนะ และสระ

เมื่อคำข้างหน้าเป็นพยัญชนะ (อักษรที่มีจุดข้างใต้ เช่น ราชนฺ, ชยนฺ, เทวานฺ, อคฺนิมฺ) แล้วมีสระตามมา ให้ประสมสระนั้นเข้ากับพยัญชนะได้เลย ไม่ต้องเว้นวรรค เช่น ชนานฺ อิทานีมฺ (जनान् इदानीम्)> ชนานิทานีมฺ  (जनानिदानीम्)

กรณีอย่างนั้น จะพบมากเมื่อคำหน้าเป็นการกที่ 2 เอกพจน์, พหูพจน์ ส่วนการกที่ลงท้ายด้วย สฺ ให้ระวัง เพราะมักจะสนธิเป็น ร บ้าง วิสรรคะบ้าง หรือเป็นตัวอื่นๆ (ในโอกาสต่อไป)

*แต่เวลาเขียนเป็นอักษรโรมัน มักจะเว้นไว้อย่างนั้น janān idānīm 

 

2. คำศัพท์

ธาตุหมวด 1

√รุหฺ ruh रुह् (โรหติ) งอก, เติบโต, ขึ้น

รุหฺ > โรหฺ > โรหติ (ทำคุณ และแจกปกติ ลืมหรือยัง)

 

ธาตุหมวด 6

√กฺฤตฺ krt कृत् (กฺฤนฺตติ) ตัด, เชือด

√มุจฺ muc मुच् (มุญฺจติ) ปล่อย (โมกฺษ ก็มาจากธาตุนี้)

√ลิปฺ lip लिप् (ลิมฺปติ) ทา, ฉาบ

√ลุปฺ lup लुप् (ลุมฺปติ) ทำลาย, ยื้อแย้ง, ปล้น

* ธาตุหมวด 6 กลุ่มนี้แทรกอนุสวารทั้งหมด แล้วแปลงอนุสวาร เป็น พยัญชนะตัวที่ 5 ของวรรคเดียวกับตัวข้างหลัง

 

นาม

(ดูเหมือนจะมาก แต่ก็อีกนั่นแหละ หลายคำเรารู้จักผ่านภาษาไทยมาแล้ว คราวนี้จำเพศให้ได้ ไม่งั้นแจกรูปผิด) ปุ. = पुंलिङ्ग (เพศชาย), นปุ. = नपुंसकलिङ्ग (เพศกลาง)

อคฺนิ ปุ. ไฟ, พระอัคนิ, ชื่อเฉพาะ

อริ ปุ. ศัตรู

อสิ ปุ. ดาบ

ฤษิ ปุ. ฤษี

กวิ ปุ. กวี, ฤษีผู้รจนาพระเวท

คิริ ปุ. ภูเขา

ชน ปุ. คน, ชน

ทุะข นปุ. ความทุกข์ (อย่าลืม ะ หลัง ทุ ด้วย อ่านว่า ดุหุขะ)

ปาณิ ปุ. มือ

ปาป นปุ. บาป

ราม ปุ. ชื่อเฉพาะ (คนอินเดียชื่อนี้มาก), พระราม

ศิว ปุ. พระศิวะ, ชื่อเฉพาะ

สตฺย นปุ. ความจริง, ความยุติธรรม

สุข นปุ. ความสุข

หริ ปุ. พระหริ (พระวิษณุ), ชื่อเฉพาะ

 

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

स्दा देवा जनान्मुञ्चन्ति पापात् | १.

नृपस्य पुत्रौ क्व वसतः | २.         

ऋषिर्दुःखात्पुत्रं रक्षति | ३.

नृपो ऽसिनारेः* पाणी कृन्तति | ४.

(*คำขยาย มักอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย ตัวนี้ ऽ แทนเครื่องหมาย อวคฺรหะ ซึ่งพิมพ์ในนี้ไม่ได้)

कवयो हरिं शंसन्ति | ५.

अरयो जनानां धनं लुम्पन्ति | ६.

जलं गिरेः (abl.) पतति | ७.

शरान्विषेण लिम्पथ | ८.

वृक्षा गिरौ रोहन्ति | ९.

ऋष्योः पुत्रौ तत्र मर्गे तिष्ठतः | १०.

हरिः कविभ्यां दानानि यच्छति | ११.

ऋषिभी रामो  वसति | १२.

अग्निनारीणां गृहाणि नृपा दहन्ति | १३.

हरिं क्षीरेण यजतः | १४.

 

2. แปลเป็นสันสกฤต ตามลำดับตัวเลข ตัวเอนคือคำที่ไม่ต้องแปล

15. Śiva1 dwells3 (√भू) in the mountains2.

16. Both enemies1 hurl4 (√अस्) spears2 at the king3 (dative.)

17. Rāma1 touches4 his two sons3 wih his hands2.

18. Fire1 burns3 the trees2.

19. Seers1 speak2 the truth3.

20. Through righteousness1(instrumental) happiness3 arises4 (ใช้ √भू) for mankind2 (जन, genitive. pl.).

21. The seer’s1 two hands2 touch3 water4.

22. Fruits1 are3 (ใช้ √स्था) on the trees2.

23. People1 remember3 Hari2.

24. Rāma1 hurls4 the sword3 from his hand2.

 

หมายเลขบันทึก: 503598เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

อาจารย์คะ ''คฤหาสน์'' ในภาษาไทย มาจาก คฤห ในสันสกฤตหรือเปล่าคะ

แล้วก็ อย่างพระนามพระศิวะ ทราบว่าก็เป็นชื่อเฉพาะด้วย แต่หนูก็เคยเห็นที่แปลว่าผู้สงบอะไรประมาณนี้ ตกลงมันได้ทั้งชื่อเฉพาะและมีความหมายได้ด้วยเหรอคะ

บทนี้หนูอาจส่งช้าหน่อย เพราะมีเรื่อง สฺ ที่ต้องตรวจทานอย่างละเอียดก่อนส่งมากขึ้น เสียวพลาดเหมือนกัน อิอิ

ขอบคุณมากคะ

*คฤหาสน์ คงจะมาจาก คฺฤห สมาสกับ อาสน = คฺฤหาสน

แต่ในภาษาสันสกฤตไม่มีศัพท์นี้ แสดงว่าคนไทยนำมาสมาสเอง หรือรับคำสมาสมาอีกทีหนึ่ง

*ศิว เป็นพระนามพระเจ้าก็ได้, เป็นนามทั่วไป ก็ได้ แปลว่า ความสงบ นั่นแหละ

ส่วนที่มานั้นเป็นแต่สันนิษฐาน ยังไม่มีการสืบประวัติคำที่ชัดเ้จน...

อาจารย์อย่าลืมแปล ''กาลีอัษฐกัม'' ของพระกาลีให้หนูด้วยนะค่ะ อิอิ ใกล้จะนวราตรีแล้ว

ตอนนี้เกิดความโลภคะ อยากเรียนภาษาทมิฬกรีก ละติน ฮิบรู อาหรับ คงจะมีประโยชน์มากๆในเชิงศาสนาศาสตร์และเทววิทยาที่หนูสนใจ อย่างน้อยๆก็จะได้อ่านพระคัมภีร์ในศาสนาต่างๆจากภาษาต้นฉบับด้วยตนเองเลย

แต่ก็ได้แค่ฝันลมๆแล้งๆคะ เพราะสันสกฤตยังไม่ถึงไหนเลย

ปล.. จริงๆเมื่อไม่ถึงเดือนนี้เห็นที่ศิลปากรเขาก็เปิดรับอบรมภาษาทมิฬในเบื้องต้น หนูก็ไปลงกับเขาคะ แต่มีเหตุให้ต้องยกเลิกไปเพราะคนลงน้อยเกิน

อาจารย์ไม่ว่าอะไรนะค่ะ มายืมพื้นที่บ่นนิดหน่อย ก่อนจะเริ่มตะลุยทำการบ้านคะ ฮิๆ อาจารย์ก็ศึกษาโหราศาสตร์เหรอค่ะ สันสกฤตเอาเข้าจริงเวลาแปลจากพวกบทร้อยกรอง ในคัมภีร์ต่างๆ เช่นคัมภีร์โหราศาสตร์ ชโยติษ นี่โอกาสแปลผิดและคลาดเคลื่อนสูงนะค่ะ ถ้ายังไม่แน่นพอ เสียวจังคะ ถ้าตีความผิดไป

กาลีอัษฐกัม ลืมไปแล้ว อิๆๆ ขอบคุณที่เตือน

 

ผมก็เคยอยากศึกษาเยอะๆ ทีนี้ มันอยู่ที่ความขยันของเรา

ที่บ้านผมมีหนังสือเยอะแยะ ทั้งทมิฬ มอญ พม่า ฮินดี ฮิบรู อาหรับ มลายู อินโด กรีก ละติน ฯลฯ

แต่ขยับจริงๆ ได้แ่ค่นิดหน่อย ถ้าต้องการอย่างนั้นจริงๆ ต้องทุ่มเท ใช้เวลาติดต่อกันให้นานพอ

เรียนๆ หยุดๆ แทบจะไม่ได้อะไรเลย ...

 

สำหรับคัมภีร์ศาสนานั้น ควรอ่านพื้นฐานและตำราที่เกี่ยวข้องไปด้วย เพราะภาษาอย่างเดียว ช่วยไม่ได้

ต้องมีพื้น มีภูมิหลัง ทั้งนี้ก็เพราะว่าคำศัพท์หลายคำต้องตีความ เรารู้แต่ศัพท์ จะเข้าใจความผิดเพี้ยนได้

ดูอย่างคัมภีร์ฤคเวท ฉบับของ Griffith แปล กับของ Wilson แปล ออกมาคนละทิศกันเลย

แถมยังแย้งกับอรรถกถาจารย์อย่างสายณะด้วย เพราะตีความศัพท์ และภูมิหลังนั่นเอง

 

ศัพท์ศาสนา กับศัพท์ปรัชญา หรือวรรณกรรม ยังใช้ต่างกัน อย่างเช่น ทฺรวฺย (ทรัพย์) มีความหมายต่างกันเลย

 

ถ้าแนะนำ, ให้เรียนบาลีคู่ไปด้วย (หาตำรา และหนังสือแปลมาอ่านเอา) จากนั้นค่อยไปละติน กรีก

(ผมกำลังแปลไวยากรณ์ละติน ใกล้เสร็จแล้ว ไว้จะขาย อิๆๆ) จากนั้นไปอ่านเปอร์เซียคงจะได้อยู่หรอก

แต่ผมก็ไม่เคยศึกษา, ส่วน อาหรับ ฮิบรู นี่ผมไม่กระดิกหูเลยจริงๆ...

*อย่าเพิ่งเริ่มเรียนภาษาอื่น จนกว่าจะจบ 4 ลการแรกก่อน

 

(ลองอ่านประวัติของวิลเลียม โจนส์ ที่รู้และเชี่ยวชาญนับสิบภาษา ผมเคยเรียบเรียงไว้ ลงนิตยสารที่ไหนสักแห่ง..)

ดูเหมือนเขาจะแปลภาษาสันสกฤตเป็นละติน แปลเปอร์เซียเป็นฝรั่งเศส แปลสันสกฤตเป็นอังกฤษ ฯลฯ

ผลงานเยอะ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการศึกษาภาษาสันสกฤตด้วย...

อ้อ ที่สำคัญ ต้องคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษเก่าสักหน่อยด้วย

 

โหราศาสตร์ก็มีศัพท์เทคนิคเฉพาะตัวเหมือนกัน แต่ผมไม่มีความรู้ทางนี้ครับ ;)

 

สำหรับภาษาทมิฬ ผมว่าถ้ายังไม่มีเวลาไปเรียน ก็หัดเขียนอักษรก่อนก็แล้วกัน ทมิฬ เบงกาลี เตลุคู กันนฑะ พวกนี้ใช้บ่อย

 

คุยได้ครับ ไม่มีปัญหา ปกติก็ไม่ค่อยมีใครคุยเรื่องแนวนี้อยู่แล้ว อิๆๆๆ

เรื่องการแทรกเสียงอนุสวารในธาตุหมวดที่หกนี้ เราจะดูยังไงว่าจะต้องแทรกเสียงอนุสวารเข้าไปอะค่ะ หรือดูไปตามกฎเกณฑ์ที่อาจารย์เคยให้ไว้ว่า เปลี่ยนเป็นตัวนี้ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะตัวนี้ หรือว่าในหมวดธาตุที่หกจะมีบอกไว้หมดแล้วว่าตัวไหนต้องเปลี่ยน

การแทรกเสียง ต้องจำให้ได้ ว่าตัวไหนแทรก ตัวไหนไม่แทรก

ใช่บ่อยๆ ก็จำได้เอง อย่าง ลิมฺปติ ลุมฺปติ สิญฺจติ มุญฺจติ ฯลฯ

แต่เมื่อให้ศัพท์ใหม่ ผมจะบอกไว้

หรือเวลาเราเปิดพจนานุกรม คำว่า สิจฺ อย่างนี้ ถ้าแจกรูปพิเศษ พจนานุกรมก็จะแจกรูป -ติ ให้ดูเป็นตัวอย่าง

แต่แทรกอนุสวารแ้ล้วเปลี่ยนเป็นนาสิก (ง ญ ณ น ม) ตัวไหน ก็ดูตามวรรค

อยากอ่านงานนี้ของอาจารย์คะ ภูมิปัญญาสันสกฤต : บทนำ (ตอน 1) โดย อาร์เทอร์ เอ. แมคโดเนลล์

หาอ่านได้ที่ไหนค่ะ นิตยสารวิภาษานี่ต้องเป็นสมาชิกเหรอค่ะ แล้วหาซื้อหรือสั่งได้ที่ไหน แล้วถ้าเป็นฉบับย้อนหลังจะหายังไงอะค่ะ

แบบฝึก

  1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

स्दा देवा जनान्मुञ्चन्ति पापात् | १. = เหล่าเทวดาปลดปล่อยชนทั้งหลายจากบาปเสมอ

नृपस्य पुत्रौ क्व वसतः | २. = บุตรชายทั้งสองอาศัยอยู่ ณ ที่ใดของพระราชา

ऋषिर्दुःखात्पुत्रं रक्षति | ३. = ฤาษีหนึ่งตนได้ดูแลบุตรหนึ่งคนให้พ้นจากความทุกข์ยาก

नृपो ऽसिनारेः* पाणी कृन्तति | ४. = ข้อนี้ติดอยู่คำเดียวคือ ''สินาเระ'' หนูแงะออกมาได้เป็น นฤโปสฺ+อสิ แต่ไม่รู้ว่านาเรสฺ มาจากไหนคะ แหะๆ

नृपस्य पुत्रौ क्व वसतः | २. = บุตรชายทั้งสองอาศัยอยู่ ณ ที่ใดของพระราชา

ควรแปลว่า โอรสทั้งสองของพระราชา.... (โปรดสังเกต เจ้าของ อยู่หน้าคำนามที่เป็นเจ้าของ)

नृपो ऽसिनारेः* पाणी कृन्तति | ४. นฺฤโปสฺ ไม่มีนะ, อย่างนี้ "นฺฤปสฺ อสินา อเรสฺ..." อันนี้แหละ พิษสงของสนธิ อิๆๆ

 

วิภาษา ฉบับย้อนหลังต้องสั่งซื้อครับ https://sites.google.com/site/vibhasamagazine/

แต่ถ้าไม่สะดวก เดี๋ยวผมส่งอีเมลเฉพาะบทความไปให้ก็ได้ครับ

6 โมงยังไม่นอนอีก...

ตามอ่านแบบเงียบ ๆ ไม่เป็นไรใช่ไหมครับ ? [ยิ้มมม...]

โห ..ภาพข้างบนที่มาแทนภูเขาสีน้ำเงินสวยจังคะ อิอิ

คุณ Blank Sanskrit Lover เชิญครับ มิต้องเกรงใจ...

 

คุณ Blank คุณ ศรี บรมอีศวรี ได้มาจากหนังเรื่อง जोधा अकबर (Jodhaa Akbar) ครับ เป็นภาษาฮินดี หาที่เป็นสันสกฤตสวยๆ แต่ไม่มีอารมณ์แบบนี้ อิๆๆ พอกลอมแกล้มนะ

 

कवयो हरिं शंसन्ति | ५. เหล่ากวีทั้งหลายได้สรรเสริญพระหริ

अरयो जनानां धनं लुम्पन्ति | ६. ...ปล้นทรัพย์สินของชนทั้งหลาย (ข้อนี้ติดคำว่า''อรโย''มาจากคำว่าอริเปล่าคะ)

जलं गिरेः (abl.) पतति | ७. สายน้ำสายหนึ่งไหลลง(ตก)จากภูเขา

शरान्विषेण लिम्पथ | ८. ท่านทั้งหลายทาลูกศรเหล่านั้นด้วยยาพิษ

वृक्षा गिरौ रोहन्ति | ९. ต้นไม้ทั้งหลายเติบโตบนภูเขา

ऋक्ष्योः पुत्रौ तत्र मर्गे तिष्ठतः | १०. (ข้อนี้ทำไม่ได้คะติดคำนี้ ऋक्ष्योः)

हरिः कविभ्यां दानानि यच्छति | ११. พระหริได้ประทานรางวัลแด่กวีทั้งสองท่าน

ऋषिभी रामो वसति | १२. พระรามอาศัยฤษี

अग्निनारीणां गृहाणि नृपा दहन्ति | १३. (ข้อนี้ติด อคฺนินารีณา̊ พระราชาเผาบ้านแล้วอะไรต่อคะฮ่าๆ)

हरिं क्षीरेण यजतः | १४เขาทั้งสองบวงสรวงพระหริด้วยน้ำนม

โอย!! หนูจะตกม้าตายก็เพราะสนธินี่ละ มันยากมาก ขอร้องหน่อยคะ โอย โอยย.. ลำพังแจกรูปนามกับกริยายังพอรับไว้ แต่สนธิมันดิ้นไปตลอดจริงๆ ทั้งที่ดูกฎการสนธินี้แลดูน้อยกว่าผันกริยาอีกนะค่ะ แต่เวลามันสำแดงฤทธิ์เดชขึ้นมาก็ไม่เบาเลย แบบฝึกหัดอาจารย์แค่ยังประมวลเอาศัพท์เฉพาะที่เราเรียนกันมาในแต่ละบทยังขนาดนี้ และถ้าต่อไปหนูไปเจอประโยคอะไรไม่รู้ที่มันกว้างมากๆจะแปลยังไงค่ะเนี่ย ตอนนี้ชักเริ่มอยากจะเห็นหน้าค่าตาว่าใครเป็นคนคิดสันสกฤตแล้วคะ โอยยยย

คุณครูกับศิษย์คุยกันสนุก นะคะ

ตามอ่านแต่ไม่กระดิกเลย

ยากจังนะคะ

สวัสดีตอนเช้าครับ พี่ Blank ภูสุภา

สนุกดีเหมือนกันครับ อ่านไปเรื่อยๆ

ยากบ้าง ง่ายบ้าง สลับกันครับ อิๆๆ

कवयो हरिं शंसन्ति | ५. เหล่ากวีทั้งหลายได้สรรเสริญพระหริ

(อย่าใช้คำว่า "ได้", เพือให้เห็นลการชัดเจน ว่าเป็นปัจจุบัน)

 

अरयो जनानां धनं लुम्पन्ति | ६. ...ปล้นทรัพย์สินของชนทั้งหลาย (ข้อนี้ติดคำว่า''อรโย''มาจากคำว่าอริเปล่าคะ)

อรยสฺ + ชนานำ = อรโย ชนานำ, อริ ครับ, เดาถูกแล้วก็น่าจะลองผันดู

 

ऋक्ष्योः पुत्रौ तत्र मर्गे तिष्ठतः | १०. (ข้อนี้ทำไม่ได้คะติดคำนี้ ऋक्ष्योः)

คำนี้ต้องเป็น ऋष्योः ฤษฺโยะ, ขอโทษครับ เขียนผิด อิๆๆ, แก้ในบทเรียนแล้ว... (ถ้าแปล ฤกฺษ ก็ได้ แปลว่า หมี)

 

हरिः कविभ्यां दानानि यच्छति | ११. พระหริได้ประทานรางวัลทั้งหลายแด่กวีทั้งสองท่าน

ऋषिभी रामो वसति | १२. พระรามอาศัยกับฤษี

 

अग्निनारीणां गृहाणि नृपा दहन्ति | १३. (ข้อนี้ติด อคฺนินารีณา̊ พระราชาเผาบ้านแล้วอะไรต่อคะฮ่าๆ)

อคฺนินา+อรีณามฺ ลองแปลใหม่นะ

 

ทำได้ดีแล้วครับ พยายามต่อไป, ให้ฝึกอ่านที่ สุภาษิตสันสกฤต และสุขาวตีวยูหสูตร นะครับ มีศัพท์ที่ผมแจกสนธิไว้ จะได้คุ้นเคย

ข้อนี้งงค่ะ

ऋषिभी रामो वसति | १२. พระรามอาศัยกับฤษี

กับฤาษีอาจารย์ใช้การกที่ 3 เหรอค่ะ ,ฤษิเป็นนามเพศชายลงท้ายเสียงอิ

แล้วทำไมมันถึงเป็นฤษิภี หนูงงตรง ภี ที่เป็นสระอีนี่ละคะ

ऋषिभी रामो वसति | १२.

พระรามอาศัย(ด้วย)กับฤษีทั้งหลาย

สนธิตรงนี้ใช้กฏ 2 ข้อ คือ 1) เปลี่ยน สฺ เป็น ร, เมื่อ สฺ อยู่หน้าเสียงก้อง; 2) ตัด รฺ ตัวหน้าทิ้ง แล้วยืดเสียงสระหน้า รฺ ที่เปลี่ยนมาแล้วนั้น

ฤษิภิสฺ รามสฺ วสติ. > ฤษิภิรฺ ราโม วสติ. > ฤษิภี ราโม วสติ.

อาจารย์ค่ะ พระวิษณุปางนี้มีชื่อว่า विराट रूप คำว่า विराट มันแปลว่าอะไรเหรอค่ะ ปางนี้เห็นคนไทยชอบเรียกกันว่านารายณ์เปิดโลก ก็ไม่รู้ทำไมเรียกกันแบบนั้น เราเรียกว่าวิศวรูป ได้ไหมค่ะ

อันนี้เอาตามกฎข้อที่หนึ่งนะค่ะ หนูขอยกตัวอย่างมั่วๆของหนูมาก่อนว่าถูกไหม โรหฺ เอทานีม = โรเหทานีม ?

จริงๆ วิราฏฺ (ฏ ใส่วิราม) คือ รูปใหญ่ (ขนาดมหึมา ที่ทรงอำนาจไพศาจ) ของเทพเจ้า

ฏ เป็น รูป สมาส, จริงๆ รูปเดิมคือ วิราชฺ

พระพรหมก็ได้ พระนารายณ์ก็ได้

โรเหทานีม ก็ได้นะ...

กรณีของ หฺ มีเรื่องต้องคุยมากครับ,

ยกตัวอย่าง ธรฺมมฺ อิติ = ธรฺมมิติ แบบนี้ดีกว่า

  • อคฺนินฺ + อิทานีม = อคฺนินิทานีมฺ (ข้อนี้ นิสองตัวเป็นอะไรไหมค่ะ )

  • เทวมฺ + อิทานีม = เทวมิทานีม

  • พฺรหฺมนฺ + เอว = พฺรหฺมเนว

ถูกไหมค่ะ

  1. The seer’s1 two hands2 touch3 water3. ข้อนี้อันไหนสามอันไหนสี่คะอาจารย์

กุนฺตานฺ ราชาย ดึงมาเป็น กุนฺตานาชาย อันนี้ผิดใช่ไหมค่ะ ?

สวัสดีค่ะคุณครู

แวะมาแอบข้างๆ ประตูดูการเรียนการสอน... ไม่รู้เรื่อง...ฮาาาา

อย่าเคร่งเครียดมากนะคะ

กาแฟยามบ่ายค่ะ ร้อนและหอมกรุ่นค่ะ มีความสุขมากๆ ค่ะ  :)

 

ขอบคุณมากครับ คุณ Blank หยั่งราก ฝากใบ

มีกาแฟตอนเที่ยงด้วย

บทนี้ไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่เป็นไร บทต่อไปไม่รู้เรื่องกว่านี้อีกครับ อิๆๆๆ

กลัวว่าจะสนธิผิดจังคะ

(15.) ศิว คิเรา วสติ

(16.) อรี กุนฺตานฺ ราชาย กฺษิปตะ

(17.) ราโม หสฺตาภฺยํา ปุเตฺรา สฺปฺฤศติ

(18.) อคฺนิรฺ วฺฤกฺษานฺ ทหติ

(19.) ฤษฺโย วทนฺติ สตฺยานิ

(20.) สตฺเยน นเรภฺยสฺ สุขํ ภวติ

(21.) ฤเษรฺ หสฺเตา สฺปฺฤศติ ชลานิ

(22.) ผลานิ วฺฤกฺเษษุ ติษฺฐนฺติ

(25.) นรา หริํ สฺมฺฤนฺติ

(24.) ราโม หสฺถาตฺ อสิํ กษิปติ

ศิวสฺ คิเรา วสติ > ศิโว คิเรา วสติ (อสฺ อยู่หน้าพยัญชนะเสียงก้อง ค)

อรี กุนฺตานฺราชาย กฺษิปตะ      (เขียนชิดกัน) 

อคฺนิรฺวฺฤกฺษานฺทหติ (เขียนชิดกัน)

ฤษฺโย วทนฺติ สตฺยานิ. ใช้ "สตฺยมฺ" จะดีกว่า

สตฺเยน ชนานำ สุขํ ภวติ. 

*ชน นิยมใช้การกที่ 6 พหูพจน์ ตามโจทย์

** มฺ เปลี่ยนเป็น อนุสวารเมื่ออยู่หน้า ร ห หรือ ศ ษ ส

ฤเษสฺหสฺเตา สฺปฺฤศตะ ชลมฺ. ฤเษรฺหสฺเตา สฺปฺฤศโต ชลมฺ. (เขียนชิดกัน)

(มือทั้งสองเป็นประธาน)

นรา หรึ สฺมรนฺติ. (หริมฺ > หรึ, สฺฤ ทำคุณและลง อะ > สฺมร > สฺมร+อนฺติ > สฺมรนฺติ)

ราโม หสฺถาตฺ อสิํ กษิปติ.

*ความจริงแล้ว หสฺถาตฺ กับ อสิ ต้องสนธิกัน เพราะพยัญชนะ ตามด้วยสระ ต้องสนธิ แต่ไม่เป็นไร

สงสัยโจทย์ลืมบอกว่ามือทั้สอง ซึ่งจะได้ ราโม หสฺถาภฺยามสิํ กษิปติ

** สำหรับรูปนี้ ราโม หสฺถาตฺ อสิํ กษิปติ.  ตามหลักสนธิจะเป็น ราโม หสฺถาทสิํ กษิปติ.

(เปลี่ยน ตฺ เป็น ทฺ, เมื่อสระตามมา อันนี้เรายังไม่ได้เรียน)

โห ..ผิดให้พรึ่บ อาจารย์ค่ะ กุนฺตานฺราชาย ข้อนี้ตอนแรกหนูคิดว่า นฺ อยู่ท้ายก็จริง แต่ลบตัว ร ที่อยู่ข้างหน้าไม่ได้

เพราะไม่เป็นไปตามกฎจึงไม่ต้องดึงมาเขียนรวมกัน เลย งง ๆคะ

ถ้าจะดึงมาเขียนชิดกันนี้ต้องมีกฎอะไรบ้างค่ะ คือมีพยัญชนะที่เป็นตัวสะกด หรือมีจุดอยู่ที่ท้ายคำเหรอค่ะ

ถ้าเป็นแบบนี้ก็ดึงมาชิดกันให้หมดแม้ว่ามันจะไม่เป็นไปตามกฎที่ว่าต้องมีสระตามมาค่อยนำมาสนธิแล้วเขียนติดกัน

เรื่องชิดกันนี่ไม่เกี่ยวกับสนธิ เป็นหลักในระบบเขียนของเทวนาครีเท่านั้นเอง
หลายคำสนธิแล้วไม่ชิดก็มี อย่าง ฤษิภี ราโม... ที่เึคยเจอ

ถ้าเมื่อไหร่ คำสองคำอยู่ติดกัน ก็ต้องพิจารณาทำสนธิ

ถ้าทำไม่ได้ แต่คำหน้าลงท้ายพยัญชนะ ก็ต้องไปชิดกับคำหลัง

อิติ อิทมฺ อย่างนี้สนธิ เป็น อิตีทมฺ
ราชนฺ นที อย่างนี้ไม่มีหลักให้สนธิ ก็เป็น ราชนฺนที
ถ้าเขียนเทวนาึครีก็ใช้พยัญชนะสังโยค राजन्नदी

ข้อยกเว้นที่ไม่สนธิคือ

1.กรณีที่เป็นคำร้องเรียก (การก 8) กับ

2. รูปทวิพจน์(ทั้งนามและกริยา) ที่ลงท้าย อี อู เอ)

ถ้าเป็นไปได้วันนี้ขออนุญาติอาจารย์ขึ้นบทใหม่คะ ถ้าอาจารย์ว่างนะค่ะ แต่ถ้าไม่ว่างก็ไม่เป็นไร หนูว่าต่อไปจะเขียนการบ้านส่งเป็นเทวนาครีแล้วสแกนเอา แต่ก็แอบอายๆลายมือตัวเองนิดนึง หรืออาจแอบส่งเอาทางอีเมลคะ ฮ่าๆ

อ่อ..อีกเรื่องหนูลืมไปว่าอยากจะได้ธาตุในหมวดที่หนึ่งที่บอกคำแปลไว้ด้วย และที่มีสระหลากหลาย เช่นสระ อะอา อิอี อุอู ฤ แบบนี้ในเวปฝรั่งมีไหมค่ะ จำได้ว่าอาจารย์เคยให้มาอยู่ครั้งหนึ่งแต่ไม่เห็นมีคำแปล

ขอบคุณคะ

ตั้งใจจะขึ้นบทใหม่วันนี้พอดีครับ ส่งเทวนาครีมาเลยก็ดีครับ เขียนสะดวกหน่อย อิๆๆ

ธาตุ ผมจำไม่ได้ว่าเอามาจากเว็บไหน รวบรวมไว้แล้ว แต่ยังแปลไม่เสร็จ จะลองโหลดไว้ให้

โหลดแล้วจะลบออก หรือจะส่งทางอีเมลก็ว่ากันอีกที

เจอแล้ว http://www.hindunet.org/hindu_history/sarasvati/dictionary/9ROOTS.HTM

มา 10 หมวดเลย บอกคำแปลด้วย แต่การสะกดเขาใช้อีกแบบ ลองสังเกตดูก็พอจะเทียบเคียงได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท