เศรษฐกิจพอเพียง


การดำเนินชีวิตแบบ “สายกลาง”

Sufficiency Economy 

Sufficiency Economy is a philosophy bestowed by His Majesty the King through royal remarks on many occasions over the past three decades. The provides guidance on appropriate conduct covering numerous aspects of life  economic crisis in 1997, His Majesty reiterated and expanded on the “Sufficiency Economy” in remarks made in December 1997 and 1998. The philosophy populace for  recovery that will lead to a more resilient and  sustainable economy, better meet the challenges arising from globalization and other changes. 

เศรษฐกิจพอเพียง 

เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสดำรัสต่อประชาชนชาวไทย ถึงวิธีการดำเนินชีวิตมานานผ่านมาประมาณ 30 ปี ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2540 และต่อมาได้ทรงเน้นย้ำอีกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 และ เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้นำเศรษฐกิจของประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติดังกล่าว และเพื่อให้มีความมั่นคง ยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 

Philosophy Sufficiency Economy 

“Sufficiency Economy” is a philosophy that stresses the middle path as all principle for appropriate conduct by the populace at all levels. This applies too starting form the level of families, communities, as well as the level of nation development and administration so as to modernize in line with the forces of globalization. “Sufficiency” means moderation, reasonableness, and need immunity for sufficient of knowledge with due consideration and prudence essential. In particular great care is needed in the utilization of theories and methodologies for planning and implementation in every step. At the same time essential to strengthen the moral fiber of the nation, so that everyone, participate officials, academics, businessmen at all bevels, a way of life based on patient perseverance, diligence, wisdom and prudence is indispensable to create balance able to cope appropriately  with critical challenges arising from extensive and socioeconomic, environmental, and cultural changes in the world.”       

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ให้เห็นวิธีการดำรงชีวิตอยู่ และการปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ ทั้งด้านการพัฒนาประเทศ การบริหารจัดการประเทศให้ยึดการดำเนินชีวิตแบบ สายกลาง โดยทรงเน้นย้ำในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์  ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง ความมีเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวต่อผลกระทบที่จะตามมา อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ  ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการด้วยความรอบรู้ รอบคอบ และมีความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการด้านต่าง ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน  และในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจของคนทุกคน ทั้งในชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์ มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร การมีสติ ปัญญา มีความสมดุลและมีความพร้อมที่จะรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 

    

หมายเลขบันทึก: 50356เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท