No.19 The Tip of the Iceberg ยอดภูเขาน้ำแข็ง (System Thinking)


การคิดที่ถูกต้องมีผลอย่างมากต่อการกระทำ ถ้าเราสามารถคิดเชื่อมโยงได้อย่างเป็นระบบ เราก็จะสามารถทำงานหรือใช้ชีวิตได้อย่างดีและมีสุข

                             

 

                   The Tip of the Iceberg: ยอดของภูเขาน้ำแข็ง

                          (System Thinking: การคิดเชิงระบบ)

 

            การคิดเชิงระบบ คือ การคิดที่วางอยู่บนหลักการที่ว่า ผลลัพธ์ทั้งหลายที่ปรากฎขึ้น ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมารวมกัน มีทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น มีทังที่รู้ได้หรือมิอาจรู้ได้ อันเนื่องมาจากโครงสร้างที่ซับซ้อนของเหตุและผลในโลกของเรา

            ตามหลักกฎแห่งธรรมชาติ “อิทัปปัจจัยยตา” กล่าวถึงทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนมีที่มาจากเหตุและปัจจัยต่างๆมากมาย มิได้เกิดขึ้นมาเอง หรือเกิดขึ้นมาง่ายๆโดยปัจจัยเล็กๆน้อยๆอย่างสองอย่าง แต่มีการเชื่อมโยงต่อกันอย่างเป็นระบบ ดังประโยคที่เราเคยได้ยินกันว่า “เด็ดดอกไม้กระทบดวงดาว” อย่างนี้เป็นต้น

             ระบบเล็กจะวางซ้อนๆกันอยู่ในระบบใหญ่เช่น ร่างกายมนุษย์เราเป็นระบบ ชีวิตของเราก็เกี่ยวข้องกับระบบที่ไล่ขึ้นมาตั้งแต่ ตัวเรา ครอบครัว ชุมชน สังคม เชื้อชาติ โลก จักรวาล เชื่อมโยงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล

             สรุปง่ายๆ การคิดเชิงระบบก็คือ การคิดที่สามารถเชื่อมโยงเหตุและผลของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเชื่อมโยงไปถึงปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งมักไม่สามารถใช้ความคิดง่ายๆเเบบเดิมๆเช่น การคิดเชิงเส้น(Linear Thinking)อธิบายได้

             การที่จะคิดเชิงระบบได้นั้น เราจะต้องคิดและทำอยู่บนระบบ เพื่อจะได้เห็นภาพรวมทั้งหมด ถ้าเราไปคิดหรือทำอยู่ในระบบแล้ว เราก็จะถูกระบบนั้นๆกลืนเราเข้าไป ดีที่สุดคือคิดออกแบบระบบที่ดีซะเลย แล้วคอยตรวจสอบดูว่ามีเหตุปัจจัยอื่นที่มาทำให้ระบบที่เราออกแบบไว้แปรปรวนไปหรือไม่อย่างไร 

             ประโยชน์ที่เราจะได้รับจาการคิดเชิงระบบก็คือ การปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 

             การฝึกคิดเชิงระบบก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการฝึกทักษะอื่นๆคือ ต้องฝึกฝนบ่อยๆจนเกิดความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การหยุดคิดก่อนลงมือทำทันที การพูดคุยกันอย่างเปิดอก การขอคำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์มาก่อน การตั้งคำถามว่า ทำไม(สัก5ครั้ง)เพื่อเจาะลึกถึงสาเหตุของปัญหาของเหตุการณ์ ไม่หมกมุ่นอยู่กับการคิดแบบใดแบหนึ่ง มองไกลๆ ดูนานๆ ไตร่ตรอง แล้วจึงลงมือทำ และเฝ้าดูติดตามผล

 

              นิทานเรื่องนี้เล่าถึง นกเพนกวินกลุ่มหนึ่งบนเกาะภูเขาน้ำแข็ง ที่ชอบกินหอยกาบ ที่พื้นทะเลใต้เกาะเป็นแหล่งที่มีหอยกาบมาก แต่เจ้านกเพนกวินเหล่านี้ไม่มีกำลังพอที่จะลงไปเอา จึงขอความช่วยเหลือจากตัววอรัส แรกๆผลลัพธ์ก็ออกมาดี แต่ภายหลังมีเหตุปัจจัยอื่นๆเข้ามาแทรก ทำให้เกิดผลเสียตามมา สปาร์กีเพนกวินผู้ชาญชาญ สามารถใช้ความคิดเชิงระบบเชื่อมโยงและอธิบายปรากฎการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ไหวตัวแก้ไขสถานการณ์ให้ลุล่วงไปได้ แต่ทุกอย่างล้วนเป็นพลวัตไม่หยุดนิ่ง สปาร์กีกับหมู่เพนกวินก็ยังคงต้องคิดเชิงระบบ และรับมือต่อไปกับเหตุการณ์ต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต

            

คำสำคัญ (Tags): #system thinking
หมายเลขบันทึก: 503357เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

System Thinking: การคิดเชิงระบบ....ดีจริงๆๆค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท