เชื้อรามากับฝน คนจะทำอย่างไร?


ความจริงไม่อยากจะให้ซีเรียสเคร่งเครียดกับเรื่องที่ห่างไกลตัวเกินไปนัก ควรจะรู้กันพอหอมปากหอมคอเพื่อจะได้หาวิธีการป้องกันดูแลแก้ไขได้อย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่จะต้องรู้ให้นิ่งจริงแท้คือเรื่องของลักษณะพันธ์พืชที่เกษตรกรนำมาปลูกว่ามีลักษณะนิสัยในแต่ละสายพันธุ์เป็นอย่างไร

ได้รับฟังข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่าฝนกำลังจะลดปริมาณลงเหลือเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงปริมาณน้ำฝนที่กังวลกันว่าจะมากมายจนทำให้กรุงเทพฯหรือจังหวัดใกล้เคียงจะท่วมเหมือนกับปีที่แล้วเสียอีก ซึ่งก็ธรรมดาสำหรับคนที่เคยโดนเคยผ่านเหตุการณ์ที่สร้างความเดือดร้อนความยากลำบากให้แก่การดำรงชีวิตในสถานการณ์น้ำท่วม ได้ยินได้ฟังจังหวัดสุโขทัย ปราจีนบุรี สระแก้วที่ปีนี้มีน้ำท่วมอยู่บ้างแต่ก็กินเวลาไม่นานนักแถมยังมีการเบี่ยงเบนเปลี่ยนวนสลับกับมาท่วมทางฟากตะวันออกบ้าง ตอนแรกนึกว่าจะท่วมไล่ไหลลงมาเรื่อยๆจากเหนือจนถึงบางขุนเทียน, แม่กลองซึ่งเหมือนกับปีที่แล้ว แต่ก็ถือว่าโชคดีที่มวลน้ำมหึมาปีนี้ยังไม่มีวี่แววแว่วลงมาให้หัวใจระทึก เพราะขืนมากอีกครา ชาวประชาฯและบริษัทอุตสาหกรรมหลายเจ้าหลายรายคงแทบสิ้นเนื้อประดาตัวกันไปอีกแน่แท้

เมื่ออยู่ในภาวะที่มีทั้งฝนทั้งน้ำจึงย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องเชื้อราโรคพืช, จึงมีเกษตรกรหลายรายที่สอบถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องเชื้อราโรคพืชโดยส่วนใหญ่จะถามในเรื่องตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่อาศัย อยากรู้ว่าอยู่อย่างไร จะอยู่ข้างล่างหรืออยู่ข้างบน  อยู่ใต้ดิน อยู่ลำต้น หรือจะอยู่ที่ใบเพียงอย่างเดียวและมีกี่ชนิดอะไรบ้าง? บางคนอยากรู้สายพันธุ์แหล่งที่มาไม่ว่าจะเป็นเชื้อ ฟัยท็อพทอร่า phytophthora spp., พิธเทียม pythium spp., ไรซอคทอเนีย rhizogtonia spp. และ สเคอโรเที่ยม  Sclerotium spp. ฯลฯ จนลืมปัญหาที่อยู่ตรงหน้าว่าพืชที่ปลูกนั้นกำลังเจอกับอะไรอยู่ เป็นโรคอะไร... ซึ่งความจริงไม่อยากจะให้ซีเรียสเคร่งเครียดกับเรื่องที่ห่างไกลตัวเกินไปนัก  ควรจะรู้กันพอหอมปากหอมคอเพื่อจะได้หาวิธีการป้องกันดูแลแก้ไขได้อย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่จะต้องรู้ให้นิ่งจริงแท้คือเรื่องของลักษณะพันธ์พืชที่เกษตรกรนำมาปลูกว่ามีลักษณะนิสัยในแต่ละสายพันธุ์เป็นอย่างไรมากกว่า

สรุปว่าปัญหาที่มักจะมากับฝนและน้ำนั้นส่วนใหญ่ก็จะหนีไม่พ้นเรื่องเชื้อราและหนอน โดยเฉพาะเชื้อรานั้นสามารถที่จะพบการระบาดได้ทั้งภาคส่วนของพืช ให้ใช้วิธีการหมั่นสั่งเกตุ (ทุกวันได้ก็จะยิ่งดี)  ทั้งชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน จะต้องหมั่นเดินสำรวจแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงที่เอื้อต่อการให้เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด และไม่ต้องกลุ้มกังวลใจว่าจะมาจากทางไหน (เพราะเขาสามารถมาได้ทุกทิศทาง) ให้สังเกตดูตามความเป็นจริงนะครับ ว่ามีสิ่งผิดสังเกตไปจากเดิมที่ใดบ้าง  ถ้าพบเห็นที่ใบก็ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทำการฉีดพ่นรักษาไปที่ตรงบริเวณนั้น พบทางดินก็ใช้ใส่หรือราดรดทางดิน พบทางใบก็ฉีดพ่นหรือราดรดทางใบ นี่คือเกษตรกรรมไม่สามารถทำให้ได้เร็วหรือเนรมิตได้อย่างงานวิศวกรรมอื่นๆ ที่เม็ดเงินเพียงอย่างเดียวใส่ลงไป ก็จะได้ในผลลัพธ์ที่ต้องการ เพียงคนคุมงาน ช่าง จับกัง ไม่โกงไม่ตุกติกก็ต้องได้อย่างแน่นอน ส่วนเกษตรกรรมนั้นต้องใช้ใจในการทำงาน ต้องหมั่นดูแล ตั้งหมั่นสังเกต และค่อยๆ แก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการปรับกรดด่างของดิน การฉีดพ่นรักษา ล้วนต้องอาศัยกลไกและสิ่งเกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์ทั้งสิ้นจึงจะสำฤทธิ์ผลได้

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 503356เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้รับความรู้ใหม่ๆ นะคะ  ขอบคุณมากค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท