บทเรียน การทำกิจกรรมในโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ของอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง (น้องใหม่สุดของทีมลำปาง ที่มาร่วมวง ถอดบทเรียนกันในครั้งนี้)
ชมรมตัวแทนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ของอำเภอวังเหนือ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนี้ ก็คือ ชมรมผู้สูงอายุตำบลร่องเคาะ ซึ่งมีการก่อตั้งชมรมฯ มาตั้งแต่ปี 2536 มีการทำกิจกรรมฌาปนกิจ ดนตรีพื้นเมือง กิจกรรมจักสาน การเสริมอาชีพ มีการจัดมหกรรมสุขภาพในทุกหมู่บ้าน มีกิจกรรมออกกำลังกาย และได้รับการสนับสนุนเครื่องเสียงเพื่อการออกกำลังกายในหมู่บ้าน แต่ช่วงนี้ ยังไม่มีการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
ร่องเคาะเริ่มต้นจากองค์การบริหารส่วนตำบลร่องเคาะ ได้ก่อตั้งชมรม ตอนนี้ยังมีผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน เราทำเริ่มที่ฌาปนกิจ มีดนตรีพื้นเมืองนำก่้อน ตามมาด้วยมหกรรมสุขภาพของหมู่บ้าน มีการออกกำลังกาย ใช้ดนตรีนำ เพราะคนเราชอบดนตรี ก็จะมีการประกวดดนตรีขึ้นมา เมื่อมีการออกกำลังกาย ก็จะมีการเชิญคุณหมอเข้ามา
ช่วงปี 36 ถึง 52 ยังไม่มีเรื่องสุขภาพเข้าไป แต่มีฌาปนกิจอยู่ตลอด เป็นตัวยึดมั่นของร่องเคาะ
ร่องเคาะ list รายชื่อเครือข่ายได้มากมาย แสดงได้ว่า กิจกรรมในชุมชนเขาเข้มแข็งจริงๆ
ดังนั้น เมื่อปี 2552 ท่านปลัดฯ กับคุณหมอ ได้ไปประชุมที่เชียงใหม่ ไปรับนโยบายมา เชิญผู้สูงอายุมารับฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่จะมีจำนวนมากขึ้น เป็นห่วงว่า จะมีใครมาดูแล และอาจเพิ่มปัญหาให้กับสังคม ร่องเคาะเริ่มทำกิจกรรมตามนโยบายของจังหวัดลำปาง จึงได้ดำเนินการรวมทุกกลุ่มที่มีอยู่มาเป็นกลุ่มเดียว แต่งตั้งผู้รับผิดชอบการทำกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในระดับตำบล เพื่อความสะดวกในการประสานงาน และจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุทั้งตำบล ร่วมกันผลักดันให้เกิดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้ผู้สูงอายุ
กรรมการชุดต่างๆ ของกลุ่มนี้ จะมีการแต่งตั้งเป็นฝ่ายต่างๆ อาทิเช่น ฝ่ายสวัสดิการฌมปนกิจ ฝ่ายการเงิน ฝ่านศาสนา ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายนันทนาการ ฝ่ายส่งเสริมอาชีพ ฝ่ายทะเบียน
มีการประชุมผู้มีส่วนร่วมทำกิจกรรม ทุกวันที่ 7 ของเดือน เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ร่องเคาะทำ ได้แก่
ปี 2554 โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเข้มข้นขึ้น โดยมีการจับคู่กัน และตรวจคัดกรองความเสี่ยง ในช่องปากผู้สูงอายุ ทำในวันศุกร์ เพราะว่า จันทร์ พุธ จะมีการออกกำลังกาย เป็นการจับคู่ตรวจฟัน ย้อมสีฟัน และแปรงฟัน โดยชมรมผู้สูงอายุเขียนงบประมาณขึ้นมา โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนสุขภาพตำบล
ผู้สูงอายุจะมีการเริ่มทำสมุดคู่มือสุขภาพ ที่มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยง จะมีการบันทึกไว้ประจำทุกเดือน และการตรวจสุขภาพช่องปาก ที่เริ่มดูแลกัน โดยการเป็นคู่หู ที่ดูแลสุขภาพกัน ผลัดกันวัดความดัน ตรวจฟัน ย้อมสีฟัน และตรวจดูฟันกันเป็นคู่
ทำให้ได้ร่องเคาะโมเดล เป็นแนวทางเพื่อให้ที่อื่นได้มาดู ที่วางเป้าหมายการปรับปรุงกิจกรรมไปเรื่อยๆ จนผู้สูงอายุพอใจ และต่อยอดขยายไปเรื่อยๆ จากหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน เป็น 2 หมู่บ้าน จากตำบล ขยายไปทั่วทั้งอำเภอ
จากการทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ร่องเคาะ ถึงจะยังวัดไม่ได้ว่า สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุดีขึ้นหรือไม่ แต่ก็ได้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีความสนใจมากขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมในวัดร่วมกัน ของพระ ผู้สูงอายุ และคุณหมอ ด้วยการไปทำวัตรเย็น ทำบุญตักบาตรร่วมกันเป็นประจำ และนำข้าวสารอาหารแห้งไปบริจาคต่อ
ในเรื่องของการจัดการความรู้ ... ร่องเคาะเริ่มด้วยการสร้างความรู้ จากการไปศึกษาดูงานจาก ชมรมผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม ลำปาง เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีตั้งแต่สภากาแฟ โดยเชิญแกนนำตำบลมาคุยกัน ตั้งแต่ตำรวจ ข้าราชการทุกหน่วยงาน รวมทั้งคุณหมอด้วย มีการประชุมหัวหน้าส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และในกลุ่มอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุด้วย
การถ่ายทอดการทำกิจกรรมผ่านศูนย์การเรียนรู้ และมหกรรมสุขภาพระดับตำบล อำเภอ
การเก็บความรู้ ในรูปของเอกสารวิชาการ การบันทึกเทป วิดีโอ การประชุม รูปถ่าย และข้อมูลอิเลคทรอนิกส์
ร่องเคาะบอกว่า ... "ร่องเคาะทำงานด้วยใจ"
สวัสดีคุณหมอนนท์ เห็นเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมมากมายอย่างนี้ ชมรมผู้สูงอายุก็เคลื่อนงานได้สบายๆ