เก็บเกี่ยวข้าวแล้วคะ


ความรู้สึกของชาวนาอาชีพครู

ตอนนี้เก็บเกี่ยวข้าวแล้วคะ ข้าวที่ทำเราลงพันธุ์ข้าวนาปรัง ข้าวชัยนาทเพราะนำ้ท่วมนา 2 ปีชาวนาที่โกสุมพิสัยบางส่วนจึงจำต้องลงข้าวนาปรังทั้ง ๆที่เป็นฤดูข้าวนาปี พอดีเราไม่ได้ทำประทวนทำให้ต้องขายข้าวตามมีตามเกิดแล้วแต่โรงสีราคาเขากำหนดเอง ชาวนาได้แต่นั่งนิ่ง ราคาข้าวจ้าวชัยนาทขายได้กิโลละ 8.80 บาท นาแปดไร่ได้ข้าว 3 ตัน ขายเสร็จรู้เลยว่าเกือบขาดทุน เพราะเราทำต้นทุนสูง ทั้งปุ๋ย ค่าแรงคน เราไม่มีเวลาทำเอง เพราะเวลาส่วนหนึ่งก็สอนที่โรงเรียน แต่คิดว่าทำหน้าอีก2 เดือนข้างหน้ารู้แล้วว่าเราต้องลดต้นทุนตรงไหน โดยเฉพาะเราต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพ ให้มากที่สุด และที่จะตั้งใจทำคือนาโยน เพราะจะประหยัดจำนวนพันธุ์ข้าว เดินตามปรัชญาของพ่อหลวงทุกประการถูกที่สุดแล้วคะ ชาวนาส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อเรื่องปุ๋ยเคมีที่จะช่วยเพิ่มผลผลิต แต่มันไม่เสมอไปนะคะ ควรใช้เคมีร่วมกับชีวภาพในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อรักษาดินด้วย นาโยนที่จะทำมีชาวนาหลายคนอยากเห็นว่าครูทำนาจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ความรู้ที่ได้จากนักเรียนและปราชญ์ชาวบ้านที่ให้มา เรามีความรู้มากขึ้นแล้วคงจะทำนาในรอบต่อไปให้ดีมากขึ้น ชาวนาอย่างเพิ่งอิจฉาเวียดนามนะคะ ภูมิประเทศเราต่างกันแค่นั้น แต่ความคิดเราไม่แตกต่าง ถ้าคนไทยคิดสร้างสรรค์อยู่ก็คงช่วยประเทศได้ ตอนนี้การทำนาที่หนองเหล็กทำช้ากว่าปีที่ผ่านมาเพราะพิ่งฝนตกคะ นักเรียนบอกว่าทำนายากมาก ว่านและไถกลบไปหลายแปลงเพราะไม่มีนำ้ในช่วงแรก บางคนก็สักหลุ่ง ได้ยินที่แรกก้ไม่เข้าใจเหมือนกัน สักหลุ่งคือการทำไม้ไปสักที่แปลงนาและปลูกต้นกล้าลงไปเพราะดินไม่พอนำ้จึงต้องทำแบบนี้ ก้ได้ความรู้อีกแบบจากเด็ก ๆ นะคะ จอบใจเด็กๆที่แบ่งปันความรู้เรื่องการทำนาให้ครูคะ นี่คือความในใจจากชาวนาคนหนึ่งคะ

หมายเลขบันทึก: 502767เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2012 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สู้ต่อไปครับ อ.อ๋อย ปีนี้ชาวนาเกือบทั่วอีสาน เจอปัญหาคล้ายกัน ดังนี้ครับ

  1. ต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจากว่าต้องจ่ายค่าจ้างไถ่แปร 2 ครั้ง 3 ครั้ง เพราะฝนมาช้าทำให้ต้นทุนต่อไร่สูงขึ้น 
  2. ต้นทุนสูงขึ้น จากที่ต้องหว่านกล้า 2 ครั้งบ้าง หรือต้องใช้พันธุ์ข้าวเพิ่มเพื่อ "แซม" ในพื้นที่ที่เสียหายจากภัยแล้ง
  3. ต้นทุนสูงขึ้นเพราะค่าแรงเพิ่ม
  4. ต้นทุนสูงขึ้นเพราะยังใช้ปุ๋ยเคมีเหมือนเดิม
  5. ฯลฯ

สรุปแล้ แม่ผมที่ทำนาที่บ้าน ขาดทุนครับ แต่ท่านก็ยังมีความหวังและฝืนคำลูกชายที่จะทำนาแบบเดิมต่อไป ..... 

 

ขอบคุณอ.ต๋อยมาก ที่ให้กำลังใจ ตอนนี้กำลังคิดลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน อะไรทำได้ก็ต้องทำเอง แต่ต้องมีเครื่องจักรช่วย เพราะค่าแรงกับค่าเครื่องจักร พอ ๆกัน สู้ตายคะสำหรับรอบต่อไป เราเป็นครูทำนา ก็มีคนคอยจับตาดูเยอะทีเดียวว่า ครูจะท้อมั้ย เพราะ ไม่มีเวลา ทำเองไม่ได้ ครูจะสู้หรือ ถอยกับการขาดทุน ถ้าประกันราคาอยู่ที่ 10 บาทขึ้นไป อยู่ทุน ต่ำกว่านี้ ขาดทุน และชาววนาต้องฟังข่าวการเข้าโครงการต่าง ๆให้ดี ดิฉันลงประทวนนาปีแต่ทำนาปรังทำให้เข้าประทวนไม่ได้และวันที่เขาให้เปลี่ยนประทวน เราไม่ได้ฟังเลยเสียโอกาส อีกอย่างประทวนนาปรัง เขากำหนดวันหมดเขต ซึ่งข้าวบางพื้นที่มันแก่ไม่ทัน เพราะข้าวมันยืนต้นตาย หว่าใหม่ รัฐต้องเข้าใจตรงนี้ ว่าชาวนาเปลี่ยนแปลงการทำนาเพราะหนีน้ำท่วมด้วย ตอนนี้ทางฝั่งแม่น้ำชี ก้เฝ้าติดตามนำ้ท่วมอย่างใกล้ชิดทีเดียว ปัญหาชาวนาควรเป็นปัญหาระดับชาติ เพราะข้าวคือสิ่งที่ทุกคนต้องกิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท