เครือข่ายการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนใน Gotoknow.org (เปิดเรื่อง)...


เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติการทางออนไลน์ด้านกระบวนการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนใน Gotoknow.org”

 

กาลครั้งหนึ่ง

 

เป็นความโชคดีอย่างมหาศาลกับการได้รับการสนับสนุนให้ขับเคลื่อนเครือข่ายเกี่ยวกับเรื่อง “เด็กและเยาวชน” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ภายใต้ชื่อโครงการที่ผมเป็นผู้รับผิดชอบหลักคือ “เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติการทางออนไลน์ด้านกระบวนการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนใน Gotoknow.org”

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่  15 ธันวาคม 2549  เป็นครั้งแรกที่ผมพาตัวเองเข้ามาเป็นสมาชิกในชุมชนแห่งมิตรภาพและการเรียนรู้ที่มีชื่อว่า “Gotoknow.org”

 

กาลครั้งนั้น  ผมเขียนบันทึกสั้นๆ เป็นบันทึกแรกในชื่อ “ห้วงแรกของการพบพาน”  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/67960  และจากวันนั้นจนวันนี้วันเวลาล่วงเลยเกินกว่า 5 ปี  ผมมีบันทึกเป็นของตัวเองมากโขไม่ใช่ย่อย 

 

 

 

 

 

ผมมีความเชื่อและศรัทธาเกี่ยวกับการเขียนในหลายมิติ  แต่ที่พูดบ่อยๆ มากเป็นพิเศษก็คือการเขียนคือการบันทึกจดหมายเหตุชีวิตของตัวเอง  การเขียนคือการบันทึกเรื่องราวขององค์กร  รวมถึงการเขียนคือการเจียระไนความคิดและความรู้ของเราเอง

 

ซึ่งทั้งปวงนั้น  ในบันทึกที่ชื่อว่า “การเขียนเพื่อการจัดการความรู้ (2) : เขียนเพื่ออะไร ...ทำไมคุณถึงต้องเขียน”  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/449429  คงทำหน้าที่อธิบายถึงความเชื่อและความศรัทธาของผมได้  และนั่นยังรวมถึงวิธีคิดของผมที่มีต่อ “Gotoknow.org”

 

ครับ, โดยภาพลักษณ์อันเป็นตัวตนของผม  งานเขียนที่ผ่านมาติดยึดอยู่กับประเด็นสำคัญๆ คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา (กิจกรรมนอกหลักสูตร)  -เรื่องเล่าจิตอาสา-เรื่องเล่าเกี่ยวกับวิถีชีวิตส่วนตัว อันหมายถึงบ้านเกิด (เปลือยความสุข)  ฯลฯ  บางเรื่องเป็นเรื่องเล่า  บางเรื่องกึ่งสารคดี บางเรื่องเป็นลำนำ บทกลอน  บางเรื่องเน้นภาพถ่ายล้วนๆ  เพื่อให้ภาพถ่ายบอกเล่าเรื่องราวของมันเอง

และในงานเขียนเหล่านั้น ก็เป็นที่มาที่ไปของวาทกรรมสำคัญๆ ที่เป็นแบบฉบับของตัวเองหลายวาทกรรม  เช่น  เปลือยความสุข –ใจนำพาศรัทธานำทาง-เพราะมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน-โลกไม่เงียบเหงา เพราะมีคนให้เราได้คิดถึง  ส่งลูกไปเรียนพิเศษที่บ้านนอก  หรือแม้แต่วาทกรรมอันเป็นหนังสือเล่มแรกของผมคือ “เรียนนอกฤดู”

 

 


 

กาลครั้งนี้

 

กาลครั้งนี้ การขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติการทางออนไลน์ด้านกระบวนการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนใน Gotoknow.org  เป็นการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดหลัก 3 ประการคือ

          1.เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนผ่านกิจกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนด้วยกลไกของการจัดการความรู้ในเว็บบล็อก gotoknow.org
          2.เพื่อสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนผ่านกลไกของการจัดการความรู้ในเว็บบล็อก gotoknow.org สู่สาธารณะ
          3.เพื่อเสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เข้มแข็งและยั่งยืนในระบบออนไลน์ของเว็บบล็อก gotoknow.org

 

 

 

 

โลกไม่เงียบเหงา
"เพราะเราร่วมด้วย...ช่วยกัน”

 

ผมเป็นคนที่เชื่อและศรัทธาว่าโลกไม่เงียบเหงา เพียงเพราะมีคนให้เราได้คิดถึง...
ครับ-เพียงเราคิดถึงใครสักคน ใครสักคนก็กำลังคิดถึงเราเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้  ในฐานะที่เราล้วนเกิดมาด้วยอาณัติของการเป็นทูตแห่งความดี ผมจึงขออนุญาตเรียนเชิญกัลยาณมิตรได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับการขับเคลื่อนเรื่อง “เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติการทางออนไลน์ด้านกระบวนการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียนใน Gotoknow.org” ร่วมกัน 

และด้วยความที่แนวคิดหลักผูกโยงอยู่กับเรื่องราว “กิจกรรมสร้างสรรค์”  ที่เกี่ยวโยงกับกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นเสมือน “ลมหายใจของสังคม”  คือ “เด็ก เยาวชน” หรือ นิสิต นักศึกษาและนักเรียน”   ทั้งในระบบการเรียนการสอน (ในชั้นเรียน)  การเรียนรู้นอกหลักสูตร (นอกชั้นเรียน)  หรือแม้แต่วิถีชีวิตในแต่ละวัน  ผมจึงขออนุญาตให้กัลยาณมิตรได้เขียนบันทึกและใส่คำสำคัญอันเป็นวาทกรรมที่เกี่ยวข้องคำใดคำหนึ่ง  คือ

  • เรียนนอกฤดู

  • ใจนำพา ศรัทธานำทาง

  • เครือข่ายการพัฒนานิสิตนักศึกษาและนักเรียน

  • นิสิต นักศึกษา

  • นักเรียน

  • เด็ก และเยาวชน

ครับ, เรื่องราวที่เขียนถึงนั้น  เน้นเรื่องราวอันเป็นความสุขของการเรียนรู้ หรือเรื่องราวอันเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ต่อเด็กและเยาวชน อันหมายถึง นิสิต นักศึกษาและนักเรียนที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียน  ยิ่งหากเป็นกระบวนการของการใช้กิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้ (Activing-Based Learning)  ยิ่งเป็นเรื่องอันดียิ่ง  เพราะเป็นภาพที่ชัดเจนและมีพลังต่อการพัฒนาให้ “ผู้เรียน” อันหมายถึงนิสิตนักศึกษาและนักเรียนได้เกิดทักษะในการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Action Learning) ห นุนส่งให้ผู้เรียนได้ซึมซับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning by doing)  อย่างมีชีวิตชีวา  

นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นภาพและกระบวนการของจิตสาธารณะ (Public Mind)  หรือ จิตอาสา (volunteer)  ที่เกิดขึ้นกับ นิสิต นักศึกษา  นักเรียน

 

ครับ-... โลกไม่เงียบเหงา เพียงเพราะเราช่วยกัน

และนี่คือผู้ร่วมชะตากรรมหลักเบื้องต้นที่ปลงใจเดินทางมาร่วมกัน
เริ่มต้นจากคนรอบกาย เติมพลังให้กัน  เพื่อให้คนเพียงไม่กี่คนกลับมามีชีวิตชีวาและนำพาไปสู่การสร้างเครือข่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

นุ้ยcsmsu  (จันเพ็ญ ศรีดาว)

รางวัล ฅKM มมส.

ขุนแผ่นดินเย็น  (สมปอง  มูลมณี)

Large_dsc_0411

แดนไท (เยาวภา  ปรีวาสนา)

Blank

 

หมายเลขบันทึก: 502212เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2012 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เมื่อคุณแผ่นดินเปิดเรื่อง ... ผมจึงเปิดความเห็น ;)...

อ.วัส Wasawat Deemarn

Blank
 
ขออนุญาตบอกเล่าเรื่องโรงเรียนแห่งความสุขฯ เมื่อเดือนต้นปีมาบรรจุในบันทึกโครงการฯ นี้นะครับ  (ได้เวลาซะที) ...

และเรียนเชิญเป็นผู้ช่วยชะตากรรม เช่นกัน นะครับ

ยินดีนำประเด็น "โรงเรียนแห่งความสุข" เข้าไปอยู่ด้วยครับ ;)...

วิ๊ดวิ้ววว ครับผม ;)...

เป็นการแบ่งปันความรู้ที่มีคุณค่ามากค่ะ..

Large_photo70h 

เรียนท่าน อจ. Was... อ่านบทความของท่านแล้ว....  "พบความสุข + ความจริง..ของความจริง (ตามธรรมชาติ/ตามกฏแห่งธรรมะ  ..นะคะ) ... จริงๆๆค่ะ  ขอบคุณท่านมากค่ะ 






        เรียนท่าน  "แผ่นดิน" 

 
         Blank
 
อ่านบทความท่านแล้ว...โลกไม่เงียบเหงา...."เพราะเราร่วมด้วย...ช่วยกัน”  

ชอบมากตรงนี้นะคะ  

 

......“กิจกรรมสร้างสรรค์”  ที่...เกี่ยวโยงกับกลุ่มเป้าหมายหลัก...ที่เป็นเสมือน

“ลมหายใจของสังคม”  คือ “เด็ก เยาวชน” หรือ... นิสิต นักศึกษาและนักเรียน”


                





 





 


สุดยอด งานจิตอาสาเพื่อพัฒนาพื้นถิ่น มีความสุขกับงานนะคะ

ลึกซึ้ง ตั้งแต่ปกหน้า และบุคคลที่ให้คำนิยมที่ปกหลัง

ภาพขาวดำ แดง แสดงอุดมการณ์ที่เข้มข้น
กับ สีเขียว ทำให้เห็นความงอกงามทางปัญญา

ขอบคุณแรงบันดาลใจและตัวอย่างดีๆ นี้คะ

ชื่นชมโครงการดี ๆ ค่ะ

ใครคะ...คุณเยาวภา

สวัสดีครับ คุณชาดา ~natadee

Blank

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจ...
ถ้ามีโอกาส  ขอความกรุณาช่วย tag ด้วยคำสำคัญดังในบันทึก นะครับ

จะได้ช่วยบอกเล่าเรื่องราวดีๆ และจัดหมวดหมู่เรื่องราวในประเด็นเหล่านี้ให้ศึกษาค้นคว้าได้ง่ายขึ้น

ขอบคุณครับ

  • อ้าวคุณหมอแซวข้างบนแล้ว
  • 555
  • มาเชียร์เลย
  • มีหลายประเด็นที่น่าสนใจมาก
  • มีอะไรพอช่วยได้บอกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท