เห็นด้วยหรือไม่ ?


การขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษาโดยการนำร่องพัฒนากฎหมาย เพื่อคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษานิติบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       จากข่าววงการการศึกษาที่ออกสื่อทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็น ข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และสื่อทางอินเตอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าข่าวที่น่าสนใจในวงการการศึกษาเห็นจะเป็นเรื่องของการขับเคลื่อนสถานศึกษาให้เป็นนิติบุคคลเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการศึกษาของไทยให้ก้าวหน้าเทียบเทียมกับกลุ่มอาเซียน
       จากแหล่งข่าวทั้งหลายจะเห็นได้ว่าการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาในประเทศไทยตามกฎหมาย ยังไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่แท้จริงของนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 39 ทำให้สถานศึกษาไม่มีอำนาจในการบริหารและการจัดการศึกษาด้วยตนเอง แต่ได้รับอำนาจจากการกระจายอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการให้บริหารจัดการ 4 ด้าน คือ วิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป จึงทำให้อำนาจที่ได้รับมีอยู่อย่างจำกัด
       ส่วนสภาพปัญหาที่สถานศึกษานิติบุคคลประสบปัญหา ที่ได้ศึกษามาไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ พบว่ามีปัญหาทุกด้าน เช่น
       1. งานด้านวิชาการ 
       - งานหลักสูตรการศึกษาไม่มุ่งเน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ และการจัดคาบการสอนตามหลักสูตรไม่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และสถานศึกษาไม่มีอิสระในการบริหารจัดการในการเปิดห้องเรียนพิเศษ ปัญหาความความอิสระในการจัดสื่อ เป็นต้น
       2. งานบริหารงานทั้วไป
       - อำนาจในการขออนุญาตไปราชการต่างประเทศของสถานศึกษา
       3. งานบริหารงานบุคคล
       - พบว่าขาดการวางแผนอัตรากำลังครูทดแทนกรณีเกษียณอายุราชการ การบรรจุแต่งตั้งไม่เป็นไปตามความต้องการของสถานศึกษา
       4. งานบริหารงบประมาณ
       - พบว่ายังไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
       ข้อดีในการจัดตั้งสถานศึกษานิติบุคคล ได้แก่
       1. สถานศึกษามีการจัดการศึกษาได้อย่างเป็นอิสระ คล่องตัว และสามารถบริหารจัดการศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจและการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน
       2. สถานศึกษาสามารถบริหารงานบุคคล ในเรื่องการสรรหา แต่งตั้ง หรือจัดจ้างบุคลากร ได้เองตามความต้องการ
       3. สถานศึกษามีอำนาจในการจัดการศึกษา และยังมีอำนาจในการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  ซึ่งบัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครองดูแล บำรุงรักษา ใช้ สามรถบริหารจัดการทรัพย์สินของโรงเรียนเพื่อหาประโยชน์ได้เอง
       4. สถานศึกษามีอิสระคล่องตัวในการบริหารจัดการงบประมาณ จัดซื้อพัสดุเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนนั้น ๆ
       จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เป็นตัวการสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารการศึกษาของไทย ปัจจุบันมีการนำร่อง 24 โรงเรียน (โรงเรียนประจำจังหวัด) ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนเยอะ งบประมาณเยอะ บุคลากรมีให้คิดสรรค์เพียงพอ เห้นด้วนหรือไม่ที่จะมีการนำร่องโรงเรียนขนาดเล็กด้วยเพื่อกระจาย งบประมาณ งานวิชาการ การบริหารงานทั่วไป และงานบริหารงานบุคคลเพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่มากมีคุณภาพ และมีบุคลากรดีในโรงเรียนที่สำคัญเป็นการส่งข้าราชการครูกับสู่บ้านเกิดเพื่อให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 501914เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท