รับฟังความคิดเห็นเกษตรกรชาวสวนผลไม้


รับฟังความคิดเห็นเกษตรกรชาวสวนผลไม้

เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร จังหวัดชุมพร  จังหวัดชุมพรจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรจังหวัดชุมพร โดยมีวัตถุประสงค์               เพื่อประเมินความคิดเห็น และนำข้อเสนอแนะที่ได้ มาพิจารณาร่วมกับความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด

มีผู้เข้าร่วมประชุม ๒๙๗ ราย ประกอบด้วย หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ๑๐ คน หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น ๑๕ คน องค์กรพัฒนาเอกชน/นักวิชาการ/สถาบันการศึกษา ๕ คน เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ๒๔๓ คน และผู้ประกอบการด้านการเกษตร ๒๕ คน

นายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรเป็นประธานเปิด และบรรยายยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชุมพร

ดร.รังสิต ภู่ศิริภิญโญ สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

บรรยายผลกระทบภาคการเกษตรไทยกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี ๒๕๕๘

                จากนั้นได้มีการจัดทำแบบประเมินเพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็น

                ๑.ท่านเห็นด้วยกับจังหวัดชุมพร ในการกำหนดวิสัยทัศน์ “ชุมพรน่าอยู่ สู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ในด้านการเกษตรกำหนดยุทธศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรและเพิ่มผลิตภาพสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัย หรือไม่

สรุป ผู้เข้าประชุมเห็นด้วย ร้อยละ ๑๐๐ (N=๒๙๗)โดยมีผู้ให้เหตุผลประกอบ ๙๐ ราย (N=๙๐) ชุมพรมีศักยภาพด้านการเกษตร (n=๖๖ , ร้อยละ ๗๓.๓) สอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัด (n=๒๙ , ร้อยละ ๓๒.๒) มีการส่งเสริมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง (n=๒๙ , ร้อยละ ๓๒.๒) ชุมพรมีผลไม้หลากหลาย (n=๑๙ , ร้อยละ ๒๑.๑) เป็นประโยชน์กับเกษตรกร (n=๑๙ , ร้อยละ ๒๑.๑) เศรษฐกิจจังหวัดดีขึ้น (n=๑๙ , ร้อยละ ๒๑.๑) ชุมพรเป็นเมืองเศรษฐกิจ (n=๑๐ , ร้อยละ ๑๑.๑) เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร (n=๑๐ , ร้อยละ ๑๑.๑)

                ๒.ความคิดเห็นต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศไทย ผลกระทบต่อการ

ผลิตสินค้าเกษตร เกษตรกรควรปรับตัว และพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรอย่างไร จากผลกระทบการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                สรุป ความเห็นของผู้เข้าประชุม จากผู้แสดงความคิดเห็นทั้งหมด ๑๕๔ คน ๑.พัฒนาคุณภาพผลผลิต และมาตรฐานการผลิตเพื่อการส่งออก (n=๑๕๓ , ร้อยละ ๙๙.๔) ๒.ลดต้นทุนการผลิต (n=๓๘ , ร้อยละ ๒๔.๗) ๓.เพิ่มผลผลิตต่อไร่ (n=๓๘ , ๒๔.๗) ๔.รัฐต้องให้ความรู้กับเกษตรกร (n=๑๙ , ร้อยละ ๑๒.๓) ๕.ผลิตนอกฤดูไม่ซ้ำกับแหล่งผลิตอื่น (n=๑๙ , ร้อยละ ๑๒.๓) ๖.รับข่าวสารด้านการเกษตรอาเซียน (n=๑๐ , ร้อยละ ๖.๕) ๗.สินค้าต้องมีการตรวจสอบ (n=๑๐ , ร้อยละ ๖.๕) และ ๘.อยู่อย่างพอเพียง (n=๑๐ , ร้อยละ ๖.๕)

ข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมประชุม

๑.การให้ความรู้เกษตรกร

-ความรู้/ข่าวสาร

-สัมมนาบ่อยครั้งขึ้น

-เยี่ยมเยียนเกษตรกรถึงแปลง

                ๒.การบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ผลิต – รวบรวม – ตลาด)

                ๓.ราคาผลผลิตดีและคงที่

                ๔.ปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต

                ๕.ควรแบ่งโซนนิ่งพืชเศรษฐกิจให้ชัดเจน

                ๖.ไม่ควรนำเข้าสินค้าเกษตรที่เกษตรกรภายในประเทศผลิต (มะพร้าว,ปาล์มน้ำมัน)

                ๗.ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์

                ๘.ให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร

                ๙.ส่งเสริมการลงทุนด้านการเกษตร

คำสำคัญ (Tags): #cs5
หมายเลขบันทึก: 501555เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ส่งกำลังใจ มาช่วย ชาวบ้านผลไม้ / ชาวสวนผลไม้.....ด้วยนะคะ

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท