ลูกเมี่ยงของช้านนน


ทักษะในการดูแลและเฝ้าระวังจะเป็นตัวช่วยเราได้ดีในการตัดสินใจเรื่อง ความพอเหมาะ พอเพียง เอ้า.. ขยันๆหน่อยนะ ทีมงาน

ช่วงนี้อยู่เวรทีไร เหมือนได้รับการต้อนรับน้องใหม่ยังไง ยังงั้น .. ผู้ป่วยแต่ละรายของเรา (คิวของเรา) มันช่างเหมาะสมกับความอาวุโสในการทำงานเสียจริงๆ ว่าแล้วก็ -- รีบมาเลยค่ะ ทีมงาน -- 

   วันนี้มีน้องเด็กเมี่ยง (ทารกที่มีน้ำหนักประมาณไม่เกินหนึ่งกิโลครึ่ง) มาทำผ่าตัดลำไส้ เห็นแล้วนึกถึงลูก แมวเหมียว เลยอ่ะ..  

ปัญหาของเด็กเมี่ยงที่ประเมินได้ และอาจเกิดขึ้นในขณะผ่าตัด คือ 

1. การทำงานของปอดไม่ค่อยดีเพราะเป็นเด็กที่เกิดก่อนกำหนด

เราต้องช่วยหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเลือกขนาดท่อหายใจ  ความลึกที่ใส่ เสียงลมที่ผ่านเข้าออกของปอดทั้ง 2 ข้างเท่ากัน หรือไม่  รักษาระดับความเข้มข้นของออกซิเจนที่อวัยวะส่วนปลายให้ให้ได้ 99 - 100 % สายตาเราต้องมองที่เลือดในบริเวณผ่าตัดว่าสีเลือดเป็นเช่นไร  และกลับมามองที่ตัวเด็กเช่น มือ ปาก สีอะไร  ส่วนหูต้องฟังเสียงจาก Mornitoring ว่าจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นอย่างไร เร็ว ช้า  แล้วความดังของเสียงเป็นเช่นไร ดังสม่ำเสมอหรือ แผ่วลง 

2. มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ จากการที่มีการเปิดเผยพื้นที่ผิวกายมากเพราะต้องทำผ่าตัดหน้าท้อง

เราต้องใช้เครื่องเป่าลมร้อนให้เด็กตลอดเวลา ให้สารน้ำที่อุ่น และปิดแอร์ทำผ่าตัด มือเราต้องคลำตัวเด็กด้วยว่าตัวเย็นหรือไม่ 

3. เสี่ยงต่อภาวะพร่องสารน้ำและเลือด  เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่

เราต้องให้สารน้ำอย่างระมัดระวังและทดแทนในส่วนที่สูญเสียทั้งน้ำและเลือดในขณะผ่าตัดให้เพียงพอ -- คำว่าเพียงพอให้การสังเกตจากสัญญาณชีพและจำนวนปัสสาวะที่ออก--  สายตาเราต้องดูทั้งตัวเด็กและบริเวณผ่าตัดเพื่อประเมินน้ำและเลือดที่สูญเสียระหว่างผ่าตัด

4. ประเมินความปวดในขณะผ่าตัด

เราต้องสังเกตจากสัญญาณชีพของผู้ป่วย ชีพจรอาจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดอาจสูงขึ้น -- การประเมินทั้งข้อ 3 และข้อ 4 ใกล้เคียงกันมาก หากเราคิดว่าเราทดแทนในข้อ 3 ได้เพียงพอ ข้อ4 ก็อาจมีความเป็นไปได้ อาจเพิ่มยาแก้ปวดให้ผู้ป่วยได้เลย

5. ประเมินระบบหายใจในระยะหลังผ่าตัด

เราต้องดูจากประวัติของผู้ป่วย เด็กเมี่ยงนี้เกิดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย เด็กกลุ่มนี้การทำงานของปอดยังไม่ดีพอ อาจหยุดหายใจในระยะหลังผ่าตัดได้ เราควรพิจารณาใส่ท่อหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจไปก่อนนะ  

นี่เป็นการบรรยาย.. บรรยากาศคร่าวๆ ในงานวิสัญญี ที่คนไข้น้อยคนนักจะมีโอกาสได้รับรู้ .. 

สรุป.. ว่าเด็กเมี่ยงรายนี้ได้รับการผ่าตัด ตัดต่อลำไส้เล็ก ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆในขณะผ่าตัดและขณะได้รับยาระงับความรู้สึก สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดการผ่าตัด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเมื่อกลับไปที่ตึก 

-- ปลอดภัยทั้งเด็กเมี่ยง ปลอดภัยทั้งป้าที่ดมยา พอเสร็จผ่าตัดทีมงานถึงกับ บ่น กันอุบ เพราะเหมือนเพิ่งออกมาจากห้องอบซาวน่า - ยังไง ยังงั้น -- เอาน่าเพื่อคนไข้ นะ ทีมงาน.. :>

-- การให้ยาระงับความรู้สึกเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นอกจากตำราการดมยาแล้ว ทักษะในการดูแลและเฝ้าระวังจะเป็นตัวช่วยเราในการประเมินคำว่าพอเหมาะ เหมาะสมและเพียงพอ  -- 

หมายเลขบันทึก: 501525เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 ทักษะในการดูแลและการเฝ้าระวัง....สำคัญจริงๆค่ะ ... ขอบคุณมากค่ะ

รพ.ใหญ่ - ทีมงานพร้อม - เครื่องมือครบชุด - ความสามารถถูกใช้เต็มที่ ช่วยน้องเมี่ยงได้เยอะจริงๆ ขอบคุณมากค่ะ

 

  • ตัวเล็กมากเลยนะครับ
  • ขอชื่นชมทีมหมอและพยาบาลครับ

ขอบคุณนะคะ Dr.Ple ,คุณพี่ kunrapee ,ท่าน อ.ขจิต และทุกๆกำลังใจ ที่ส่งให้ทีมงานของเรา สิ่งเล็กๆเหล่านี้เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงและสร้างพลังให้ทีมงานของเราในการผลิตผลงานออกมาได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ .. -- หลายๆคนอาจไม่อยากเชื่อว่าทีมงานผ่าตัดของเราดียังไง -- การันตรีจากหมอผ่าตัดได้เลยว่า ขอเอาผู้ป่วยจากเอกชนมาผ่าที่นี่ได้ป่าว เพราะทีมพร้อมมาก ราคาโคตรถูกส่วนคุณภาพนั้น หมอเอ่ยปากเองนะ ฮึ่ม..น่าภูมิใจนะ ทีมงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท