วัตถุประสงค์ของระบบการศึกษาจากคำพูดของ Noam Chomsky


ผมไปเจอวีดิโอของ Chomsky ให้สัมภาษณ์เมื่อปีที่แล้ว รู้สึกประทับใจ ก็เลยแปลเป็นภาษาไทยเอาไว้ กะไว้อ่านเอง การถอดเสียงภาษาอังกฤษจากวีดิทัศน์และพิมพ์เป็นภาษาไทย เสียเวลาแยะกว่าที่คิด ก็เลยเอามาแชร์ด้วย คิดว่าจะเป็นประโยชน์ครับ


ได้ย่อคำพูดของเขา ที่แปลมาเป็นช่วงๆ (Excerption) ไว้ข่างล่างนี้ ในเครื่องหมายคำพูดทั้งหมด

สำหรับบทถอดความแปลจากวีดิโอฉบับเต็ม (ฉบับมือสมัครเล่น) สำหรับผู้สนใจ ดาวนโหลดที่นี่ วีดิโอภาษาอังกฤษสามารถ ไปดูที่นี่

"วัตถุประสงค์ของระบบการศึกษาคืออะไร ?

"มีแนวทางประเพณีนิยม ที่ตีความตามแนวปรัชญา enlightenment ว่าเป้าหมายสูงสุดในชีวิต คือถามหาความรู้ (inquire) เพื่อสร้าง เพื่อค้นหาความรุ่มรวยในอดีต พยายามนำเข้าไปสู่จิตใจ ส่วนไหนที่สำคัญสำหรับคุณ พาไปกับตัวคุณ ในการเดินทางเพื่อค้นหา (quest) เพื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น ให้คุณก้าวไปในทางที่คุณเลือก"

"อีกมโนทัศน์หนึ่งก็คือ การนำ(เยาวชน)มาฝึกเพื่อปลูกฝังหลักการเข้าไป (indoctrination) บางคนมีความคิดว่า ควรต้องเอาเด็กและเยาวชนไปวางไว้ในกรอบการทำงาน เพื่อให้พวกเขาทำตามคำสั่ง ในกรอบ โดยไม่ท้าทาย(คำสั่ง)ออกมาเป็นอาการภายนอก"

"มีการขัดแย้งกันในเรื่องนี้อยู่เสมอๆ ในระดับ วิทยาลัย ในโรงเรียน ว่าในโรงเรียนนั้น คุณฝึกเด็กเพียงเพื่อให้สอบผ่าน หรือว่าคุณฝึกเพื่อให้เขาสามารถสอบถามเพื่อสร้างจินตนาการ (creative inquiry) ติดตามเรื่องราวที่สนใจต่อจากเนื้อหาบทเรียนที่กระตุ้นไว้ และเรื่องที่เขาต้องการจะติดตามต่อ ไม่ว่าจะโดย(ศึกษา)แต่ละคนเอง หรือว่าโดย(ศึกษา)ร่วมมือกับคนอื่น ก็ตาม (วิธีนี้ใช้ได้)นี่ไปได้ตลอด (จากระดับโรงเรียน) จนถึงระดับบัณฑิตวิทยาลัย (ปริญญาโท เอก) ระดับวิจัย"

"เทคโนโลยีนั้น จริงๆ แล้วมีความเป็นกลาง"

"นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลคือบุคคลที่รู้ว่าจะไปค้นหาอะไร และบ่มเพาะความสามารถนั้น เพื่อตามหาสิ่งที่มีนัยสำคัญ(seek what is significant) มีความใส่ใจเสมอๆ ที่จะตั้งคำถาม(ตัวเอง)ว่า เรากำลังมาถูกทางหรือเปล่า นั่นก็คือเป็นเรื่องว่่าการศึกษาควรจะทำให้(คน)เป็นอย่างไร"

"เราต้องการมีสังคมของปัจเจกชนที่(แต่ละคน)เป็น อิสระ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถตระหนักรู้และซึมซับความรู้สึกดีๆ ได้ประโยชน์จาก ความสำเร็จเชิงวัฒนธรรม (cultural achievement) ในอดีต และมีสุนทรียภาพ เราต้องการอย่างนั้นไหม หรือว่าเพียงแค่ต้องการคนที่สามารถเพิ่ม GDP (กันแน่)"

"การศึกษาในแบบที่ Bertrand Russell, John Dewey พูดนั่นเป็นคุณค่าในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่ว่าผลกระทบต่อสังคม จะเป็นอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมนุษย์ที่ดีกว่า นั่นคือระบบการศึกษาที่ควรจะเป็น"

"ลองมาดูเทคโนโลยีที่เราเพิ่งพูดกัน พวกนั้นมาจากไหน จริงๆ แล้วหลายๆ อย่างก็พัฒนาขึ้นที่ที่เรานั่งคุยกันอยู่นี่"

"นั่นคือทางที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้น นั่นคือทางที่ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น โดยทั่วไป
ถ้าไม่มีวัฒนธรรมและระบบการศึกษาที่มีชีวิตชีวาที่ช่วยขับเคลื่อน สนับสนุนการสำรวจหรือทดลองเชิงสร้างสรรค์ โดยไม่ขึ้นกับแนวคิด(เดิม) เต็มใจที่จะท้าทาย ข้ามพรมแดน ความเชื่อเดิมที่คนมีอยู่แล้ว(ในสังคม) และอื่นๆ ถ้าคุณไม่มีพวกนี้ คุณก็ไม่ได้เทคโนโลยี สิ่งที่สามารถนำมาซึ่งส่วนเพิ่มทางเศรษฐกิจ"

"การสอบก็มีประโยชน์บ้าง ต่อทั้งคนเข้าสอบ และคนสอน"
"มันเป็นแค่รั้วกั้นที่คุณจะต้องกระโดดข้ามไป มันอาจจะกลายเป็นการรู้ที่ไม่มีความหมาย และนำคุณออกไปพ้นจากสิ่งทีคุณรู้่ว่าคุณจะออกไปใช้ทำงาน"

"การสอบผ่านไม่ได้เทียบได้เลยกับ กับการค้นคว้า ติดตาม หัวข้อ ที่ทำให้เราติดพัน ที่ทำให้เราตื่นเต้น นั่นมีนัยสำคัญมากกว่าการสอบผ่าน และจริงๆ แล้ว ถ้านั่นเป็นโอกาสทางการศึกษาที่คุณเฝ้าดำเนินตาม คุณจะจำได้ว่าคุณไปค้นคว้าอะไร"

"มีนักศึกษาถามนักฟิสิกส์ที่สำคัญของโลกว่า "เทอมนี้จะสอนเรื่องอะไรบ้าง" เขาตอบว่า "ไม่สำคัญหรอกว่า เราจะสอนเรื่องอะไรกัน แต่สำคัญที่ว่าคุณจะค้นพบอะไรมากกว่า"

"การสอนควรจะสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนค้นพบด้วยตัวเอง การสอนควรท้าทาย ถ้าพวกเขาไม่เห็นด้วย ก็ไปมองหาทางเลือกที่อาจจะดีกว่า ดูซิว่าเขาเจอไหม การลุยผ่านความสำเร็จในอดีต และลองทำดูเองถ้าเขาสนใจเรื่องนี้ นั่นเป็นทางหนึ่งที่การสอนเป็นไป และนักเรียนก็ได้(ประโยชน์)จากการเรียน พวกเขาจะจำได้ และเขาจะได้ใช้มัน ถ้ามีโอกาส และการศึกษา จริงๆ ก็มุ่งจะช่วยไปถึงจุดที่พวกเขาเรียนรู้ได้เอง เพราะว่านั่นคือสิ่งที่พวกเขาจะทำต่อไปจนตลอดชีวิต"

 

หมายเลขบันทึก: 501503เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่นี่มีคุณครู อาจารย์ นักการศึกษาแยะ ผมก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านเหล่านั้นครับ

ผมเองสมัยยังสอนหนังสือ ก็ทำหน้าที่ไปโดยที่ไม่เคยคิดเหตุผลลึกๆ เหมือนกันว่าปรัชญาคืออะไร มีอะไรที่กว้างกว่าโลกใบแคบๆ ของเราหรือไม่ เป็นเพราะความผิดพลาดในอดีต ผู้มีอำนาจในระบบการศึกษาของประเทศไทยสมัยก่อนไม่เห็นความสำคัญของปรัชญา เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เรียน ปรัชญาไม่ใช่วิชาที่ผู้บริหารการศึกษาระดัาติให้ความสำคัญ คนไทยก็เลยขาดความคิดลึกๆ ไปมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท