DBA : การคิดเชิงสร้างสรรค์


การคิดเชิงสร้างสรรค์

การคิดเชิงสร้างสรรค์

       ในสังคมปัจจุบันยังขาดความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์อยู่มาก ดังนั้นจะเห็นจากการทำงานของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือการทำงานของรัฐบาลที่มักจะเอาต้นแบบเดิมมาใช้ในการแก้ไขปัญหา ขาดการคิดเชิงสร้างสรรค์

      

       ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

          ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมและก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม  องค์ประกอบของความคิดเชิงสร้างสรรค์นั้นจะต้องเป็นสิ่งใหม่        ใช้การได้ และมีความเหมาะสม  ความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้  2 รูปแบบคือ เริ่มจากจินตนาการแล้วย้อนกลับไปสู่สภาพความเป็นจริง เช่น หากเรามีจินตนาการเราสามารถสร้างสรรค์จินตนาการให้ประสบความสำเร็จได้  และ เริ่มจากความรู้ แล้วคิดต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่  ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะนี้สามารถต่อยอดนำไปสู่สิ่งใหม่ๆได้

 

       ความหมายของการคิดเชิงสร้างสรรค์

       การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

       ลำดับขั้นของการคิดเชิงสร้างสรรค์  กำหนดเป้าหมายของการคิด แสวหาแนวคิดใหม่  การประเมินและคัดเลือกแนวคิด เช่น เรามี 3 วันในการเตรียมตัวสอบเพื่อให้ได้ A เราต้องกำหนดเป้าหมาย จากนั้นแสวงหาแนวคิด เช่น อ่านหนังสือให้มาก ให้เพื่อนติว จากนั้นเลือกแนวคิด

      องค์ประกอบที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

ทัศนคติและบุคลิกลักษณะที่ดี  มีความสามารถด้านสติปัญญา มีความรู้ มีรูปแบบการคิดที่ดี  มีแรงจูงใจในกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมต้องเอื้ออำนวยการการคิดเชิงสร้างสรรค์ด้วย

 

                เหตุใดต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์

                การคิดเชิงสร้างสรรค์ หากกล่าวพิจารณาถึงความจำเป็นแล้ว อาจกล่าวได้ดังนี้

  1. ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ช่วยให้เราแก้ไขปัญหาได้ลงตัวกับปัญหา

  2. ความคิดเชิงสร้างสรรค์ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่หยุดหยั้ง

  3. ความคิดเชิงสร้างสรรค์ช่วยให้เราได้สิ่งที่ ดีกว่า แทนการจมอยู่กับสิ่งเดิมๆ

  4. ความคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความฉลาด

 

 

                สำรวจสถานะความคิดสร้างสรรค์

 

                       การสำรวจสถานะความคิดนั้นสามารถสำรวจได้ จากแหล่งอิทธิพล 2 แหล่งคือ อิทธิพลจาก บริบทของสังคมไทย และ จากความเป็นตัวเรา

       1.สถานะความคิดสร้างสรรค์ผลพวงจากบริบทของสังคมไทย  อุปสรรคที่ทำให้สังคมไทยไม่มีความคิดสร้างสรรค์พอสรุปได้ดังนี้ สังคมไทยพึ่งพิงผู้ใหญ่มากกว่าการพึ่งพิงตนเอง เรามักจะทราบว่าสังคมไทยเป็นสังคมอุปภัมย์ ดังนั้นสังคมไทยมักเป็นสังคมผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือผู้น้อยตลอดไป  ระบบการศึกษา สอนให้จำ มากกว่า สอนให้คิด ระบบการศึกษาไทยการสอนมักเน้นกระบวนการจำมากกว่ากระบวนการคิดจึงทำให้ สังคมขาดกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์  สังคมให้คุณค่า ความดัง มากกว่า ความสร้างสรรค์  สังคมไทยให้ความเหมือนมากกว่าความแตกต่าง  สังคมไทยชอบบอกว่า สิ่งนั้นต้องเหมือนสิ่งนี้ สิ่งนี้ต้องเป็น เช่นนี้ เป็นต้น  สังคมไทยดำเนินตามสถานการณ์ ไม่ช่างคิด สังคมไทยเป็นลักษณะเป็นคนไม่ช่างคิด มักทำตามสถานการณ์ไปเรื่อยๆ  สังคมลงโทษความคิดสร้างสรรค์ด้วยการลอกเลียน สังคมเรามักลอกเลียนแบบผลงานของคนอื่นๆ เป็นต้น

2. สถานะความคิดสร้างสรรค์ผลพวงจากความเป็นตัวเรา  อุปสรรคทางความคิดที่มีอิทธิพลต่อการคิดสร้างสรรค์ เป็นดังนี้ การตอบสนองตามความเคยชิน คนเรามักทำแบบเดิมๆ หากเราลองเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนกระบวนการทำงาน จะทำให้เราเป็นคนมีความสร้างสรรค์ อุสรรคอีกอย่างคือ การมองว่าตนเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์    เต็มไปด้วยความคิดแง่ลบ  ความกลัวว่าตัวเองจะเป็นแกะดำ  ความกลัวต่อความผิดพลาดล้มเหลว  การยึดติดกับความรู้และความเชี่ยวชาญมากเกินไป  การยึดติดกับกรอบความคิดเดิม สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์

 

ปฏิบัติการแหวกม่านประเพณี  

                การฝึกมองในมุมมองที่แตกต่างนั้น หรือการมองในแบบที่เรียกว่าแหวกม่านประเพณีนั้นจะทำให้เราสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ดี การฝึกมองในรูปแบบการมองแบบแหวกม่านประเพณีนั้นต้องปฏิบัติการดังนี้ ต้องฝึกการมองต่างมุม การมองต่างมุมทำให้เราเห็นในอีกมุมหนึ่งมิติหนึ่ง ต้องฝึกสร้างจินตนาการอิสระ  ต้องฝึกขยายขอบเขตของความเป็นไปได้  คือ การที่เราลองมองต่างมุมทำให้เราได้แค่คิด หรือเห็นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ฝึกตั้งคำถามแบบมองต่างมุม การเป็นนักคิดเชิงสร้างสรรค์ต้องพยายามตั้งคำถามในการมองต่างมุม คือ เรื่องนี้มองได้กี่มุม เป็นต้น

ฝึกเป็นคนไม่พออะไรง่ายๆ แล้วตั้งคำถามต่อว่า ทำไม..  และฝึกเป็นคนตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดคือ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า…  ฝึกมองมุมตรงข้ามตั้งคำถามและหาคำตอบ ฝึกเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย  ฝึกคิดทางลัด  ฝึกคิดหาข้อบกพร่องเพื่อการพัฒนา และการฝึกคิดเองทำเอง เป็นต้น

เรียนรู้เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์

                การแห้ไขปัญหาโดยอาศัยเทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์นั้นมีหลายเทคนิค ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์จะต้องเลือกดูว่าจะใช้เทคนิคอะไรดังนี้

                1. หาความคิดใหม่ที่หลากหลายด้วยการระดมสมอง  เทคนิคการระดมสมองเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ การะดมสมองควรให้มีความหลากหลายจากผู้เข้าร่วมระดมสมอง

                2. ทำของเก่าให้เป็นของใหม่ด้วยแผ่นตรวจสอบของออสบอร์น  เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ เป็นอย่างดี

                3. ขยายขอบเขตปัญหาจาก รูปธรรม สู่ นามธรรม แล้วค่อยคิด  เช่น หากเราคิดจะผลิตรถยนต์ อย่านึกเพียงว่าจะผลิตรถยนต์ ให้นึกถึงการผลิตวัตถุที่สามารถเคลื่อนที่ได้

                4. ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสำหรับการคิด   สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถคิดสร้างสรรค์ได้

                5. กลับสิ่งที่จะคิดแล้วลองคิดในมุมกลับ  หากเราสามารถคิดในมุมกลับได้ ก็อาจจะเป็นความคิดเชิงสร้างสรรค์ดีดี

                6. จับคู่ตรงข้าม เพื่อหักมุมสู่สิ่งใหม่   เป็นเทคนิคที่เหมือนในข้อ 5 แต่เป็นการหักมุมโดยเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าจะเป็น เช่นนี้  นอกจากนี้ก็มีอีกหลายเทคนิค เช่น

คิดแหวกวงความน่าจะเป็น ย้อนกลับมาหาความเป็นไปได้   หาสิ่งไม่เชื่อมโยง เป็นตัวเขี่ยความคิดสร้างสรรค์  ใช้เทคนิคการสังเคราะห์ส่วนประกอบ ใช้การเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นมุมมองใหม่ๆ เป็นต้น

 

พัฒนาทัศนคติและนิสัยนักคิดสร้างสรรค์

การพัฒนานิสัยนักคิดเชิงสร้างสรรค์มีหลักการพัฒนาดังนี้ 

-                                           อย่าคิดแง่ลบ ให้คิดในแง่บวก  ในการคิดเชิงสร้างสรรค์นั้นหากเราเป็นคนคิดในแง่บวกย่อมทำให้เราประสบความสำเร็จได้ และในทางตรงข้ามหากคิดแง่ลบก็จะทำให้เราล้มเหลวได้

-                                           อย่าชอบพวกมาก ลากไป ต้องลองหัวเดียวกระเทียมรีบดูบ้าง  หากความคิดของเราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกก็ควรเดินหน้าต่อไป

-                                           อย่าปิดตัวเองในวงแคบ ต้องเปิดรับประสบการณ์ใหม่ การเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ทำให้เราได้รับความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น

อย่ารักสบายทำไปเรื่อยๆ ลงแรง ทุ่มเท เพื่อความสำเร็จ  อย่ากลัว ต้องกล้าเสี่ยง  อย่าหมดกำลังใจเมื่อไม่พบคำตอบ ต้องอดทนต่อความคลุมเครือ  อย่าท้อใจจากความผิดพลาด ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว อย่าละทิ้งความคิดใดๆ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์ อย่ากลัวการเผยแพร่ผลงาน  ต้องกล้าเผยแพร่ผลงานแหวกวง

 

อ้างอิง : การคิดเชิงสร้างสรรค์ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หมายเลขบันทึก: 500908เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท