DBA : การคิดเชิงมโนทัศน์


การคิดเชิงมโนทัศน์

การคิดเชิงมโนทัศน์

การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการคิดรวบยอด เมื่อเรากล่าวถึงการคิดเชิงมโนทัศน์ เราอาจใช้แทนคำว่า แนวคิด ความคิดเห็น ความคิดรวบยอด เป็นต้น

 

ความหมายของมโนทัศน์

       มโนทัศน์ หมายถึง ภาพในความคิดที่เปรียบเสมือน ภาพตัวแทน หมวดหมู่ของวัตถุ สิ่งของแนวคิด หรือปรากฏการณ์ ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ ไป คล้ายกัน  ดังนั้นหากเราจำกัดความของคำว่ามโนทัศน์ ก็คือ ภาพที่เกิดขึ้นในใจซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งหลายสิ่งที่ต่างกัน แต่มีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน เช่น สุนัข มโนทัศน์ทั่วไปของสุนัข คือ เฝ้าบ้าน เป็นต้น

มโนทัศน์และจินตนาการแตกต่างกันอย่างไร  มโนทัศน์ เป็นการเข้าใจว่าอะไรคืออะไร ภาพไม่ชัด เป็นเพียงเค้าราง เช่น มโนทัศน์ของเสือ ส่วนจิตนาการ คือ การวาดภาพบางอย่างในสมองของเรา ที่จำเพาะเจาะจงไม่ได้สะท้อนของหมวดหมู่นั้นทั้งหมด เช่น จิตนาการถึง ห้องนอน เป็นต้น

มโนทัศน์กับ นิยาม ต่างกันอย่างไร มโนทัศน์ มักถูกแทนที่ด้วยคำ หรือ ข้อความ เช่น เสือ หมายถึง สัตว์ป่า หน้าตาคล้ายแมว เป็นต้น ส่วนคำว่านิยาม นั้นเป็นการกำหนดข้อความหรือรายละเอียดให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

 

         สมองสร้างมโนทัศน์อย่างไร

               

หากกล่าวถึงมโนทัศน์สมองช่วยในการสร้างมโนทัศน์ เช่น อะไรเอ่ยเดินช้าๆ กินผักบุ้ง มีกระดอง ในสมองของเราก็จสร้างมโนทัศน์ขึ้นมา และสามารถตอบคำถามได้ว่าคือ เต่า

การสร้างมโนทัศน์นั้นสมองของเรามีกระบวนการจัดหมวดหมู่มโนทํสน์อย่างเป็น ลำดับชั้น กล่าวคือ  หมวดหมู่ในระดับสูง จะมีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่า เช่น สิ่งมีชีวิต เป็นการจัดหมวดหมู่ในระดับสูง เป็นต้น หมวดหมู่ในระดับรองๆ ลงมา จะมีลักษณะเป็นรูปธรรมมากกว่า  เช่น แมว เป็นหมวดระดับลองลงมาของสิ่งมีชีวติ เป็นต้น สมองเลือกหมวดหมู่ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่างๆ เช่น  มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในบ้าน ชอบกินปลาทู มีขนหนุ่ม กับ คำว่า แมวอาศัยอยู่ในบ้าน ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น  สมองแยกแต่ละมโนทัศน์ก่อนเชื่อมโยงเป็น ความเข้าใจ เรื่องเดียวกัน   สมองจะทำการแยกมโนทัศน์ออกมาก่อน จากนั้นค่อยรวมมโนทัศน์เข้าด้วยกันเราสามารถเห็นภาพมโนทัศน์อย่างชัดเจน เช่น ปากกา ประกอบด้วยมโนทัศน์  หมึก ใส้ปากกา ที่กดปากกา ก่อนอื่นเราต้องรู้มโนทัศน์ของสิ่งเหล่านี้ แล้วเราจึงเรามโนทัศน์จนกลายเป็น ปากกา เป็นต้น

 

 

 

มโนทัศน์มีลักษณะอย่างไร

                การพัฒนาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์นั้นมีความสำคัญสำคัญมาก ในที่นี้จะได้กล่าวถึงลักษณะของมโนทัศน์ว่ามีลักษณะอย่างไร

1.มโนทัศน์เป็นความคิดรวบยอด   มโนทัศน์มีลักษณะเป็นความความคิดรวบยอด เช่น เมื่อเรากล่าวถึงคำว่า แม่ สมองเราสร้างมโนทัศน์คือ ผู้หญิงมีลูก และเราเห็นผู้หญิงตั้งครรภ์เราสามารถบอกได้ว่า อีกไม่นานเขาจะเป็นแม่

 2. มโนทัศน์เป็นการรวมกันของ ลักษณะร่วม  เช่น มโนทัศน์ของปากกา ไม่ว่าจะเป็นปากกาแดง ปากกาน้ำเงิน ปากกาสีเขียว สีดำ หรือสีอะไรก็แล้วแต่ ล้วนเรียกว่าปากกาทั้งสิ้น ดังนั้นมโนทัศน์คือปาก

3. มโนทัศน์เปรียบเหมือนตะแกรงเชื่อมโยงกัน   กรอบตะแกรงเปรียบเหมือนเค้าโครงของแกนสิ่งนั้น เช่น สุนัขเป็นโครงสร้างภานอก ส่วนประกอบคือ หาง ตา เห่า หอน เป็นต้น

4. มโนทัศน์ส่วนใหญ่มีขอบเขตคลุมเครือ โดยทั่วไปนั้นมโนทัศน์ที่อยู่ตามธรรมชาติมักเป็นมโนทัศน์ที่คลุมเครือ เช่น นกเพนกวิน เป็นนกใช่หรือไม่ 

5.มโนทัศน์เชื่อมโยงเหตุผลเป็น ตาข่ายนามธรรม  เช่น การเชื่อมโยงผู้หญิงกับดอกไม้

6.มโนทัศน์ถูกกำหนดภายใต้อิทธิพลบริบทแวดล้อม  เช่น ในการแยกแยะสีนั้นบางสังคม แยกสีออกมาเป็นแค่สีออ่นกับสีแก่ แต่บางสังคมแยกออกมาเป็น สีแดง สีเขียว สีดำ ในขณะอีกบางสังคมแยกออกมาเป็นว่า สีแดงเลือดหมู สีแดงอมชมพู แล้วแต่สังคมและบริบท

 

มโนทัศน์ทำหน้าที่อะไร

มโนทัศน์มีความสำคัญมากในการกำหนดความเป็นมนุษย์เพราะมโนทัศน์นั้นทำหน้าที่สำคัญดังนี้

1.มโนทัศน์สร้างกรอบและข้อสมมติ เพื่อเข้าใจสิ่งรอบตัว  สมองของเราจะสร้างกรอบคร่าวๆว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพื่อให้สมองได้สร้างมโนทัศน์ให้ชัดเจน

2.มโนทัศน์สร้างเลนส์ในการมองโลก  มโมทัศน์เปรียบเหมือนกับการมองผ่านเลนส์ ในแต่ละคนที่มองผ่านเลนส์นั้นขึ้นอยู่กับมโนทัศน์ต้นแบบที่เรามี ดังนั้นในการมองนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป

 

ความหมายของการคิดเชิงมโนทัศน์

       การคิดเชิงมโนทัศน์ หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ชัดแจ้ง เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

       ในการคิดเชิงมโนทัศน์นั้นเป็นการคิดในลักษณะกว้างๆ เป็นโครงสร้างหรือโครงร่างของสิ่งนั้น แต่ไม่ได้จดจำรายละเอียดของสิ่งนั้นเป็นต้น

เหตุใดจึงต้องคิดเชิงมโนทัศน์

       เหตุผลในการคิดเชิงมโนทัศน์คือ

1. การคิดเชิงมโนทัศน์ช่วยเพิ่ม เลนส์ในการมองโลก  กระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์จนทำให้เราสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆทำให้เราสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ความจนทำให้หิว เรารับรู้ว่าความจนคือการไม่มีเงินหรือมีเงินน้อยดังนั้น เมื่อไม่มีเงินก็ไม่สามารถซื้อของกินได้ ทำให้หิว เราเชื่อมโยงคำว่าหิวและคนจนเข้าด้วยกันเป็นต้น

2. การคิดเชิงมโนทัศน์ช่วยแยกแก่นออกจากกระพี้   กระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์ช่วยทำให้เราสามาระแยกแก่นออกจา กระพี้หรือเปลือกนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ได้ แก่นนั้นจะเป็นกรอบในการสร้างมโนทัศน์ทำให้เราสามารถรับรู้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    3. การคิดเชิงมโนทัศน์ช่วยเปิดประตูกรงขังแห่งประสบการณ์  การคิดเชิงมโนทัศน์นั้นอาศัยตัวแบบในการในการคิด โดยปกติแล้วนั้นการคิดอาศัยตัวแบบในการคิดเชิงมโนทัศน์แต่บางครั้งตัวแบบก็ไม่สามารถอธิบายได้ ด้วยประเพณี เช่น การทักทายกัน บางประเทศใช้วิธีลูบหัวแต่บางประเทศการลูบหัวเป็นการดูหมิ่นกัน เป็นต้น

 

ปฏิบัตการหาแก่น

       การคิดเชิงมโนทัศน์นั้นสำคัญคือกระบวนการหาแก่นของเรื่องนั้นว่าเป็นอย่างไร วิธีการหาแก่น เริ่มด้วยการสังเกตบริบทของสิ่งที่เรารับรู้ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุ สิ่งของ คน เหตุการณ์ แนวความคิด หรืออะไรก็ตาม จากนั้นให้ค้นหาความเหมือนกัน แม้เพียงบางส่วนแต่สามารถครอบคลุมเพื่อบ่งบอกความเป็นไปได้ ย่อมสามารถเป็นลักษณะร่วมที่บงบอกความเป็นไปได้

 

ปฏิบัติการตีความเชื่อมโยงมโนทัศน์

มโนทัศน์จะเป็นการเชื่อมโยง เช่น หากเรามีมโนทัศน์เกี่ยวกับ คน เราจะเชื่อมโยงกับการมีคุณค่า  ดังนั้นเราสามารถตีความได้ว่า คนเป็นสิ่งมีคุณค่า และ หากเราเชื่อมโยง ทองคำ คือความรวย เมื่อเราเห็นคนใส่ทองคำมา เราก็สามารถเชื่อมโยงได้ว่า คนนั้นเป็นคนรวยเ เป็นต้น

 

ปฎิบัติการฝนเลนส์มโนทัศน์

การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์นั้น เป็นการแยกองค์ประกอบเพื่อให้เราสามารถเข้าใจได้ชัดเจน ว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด เป็นต้น นอกจากนั้นหากเราต้องการให้กระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์ชัดเจนให้ใช้กระบวน วิเคราะห์มโนทัศน์ของคำ ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์มโนทัศน์ เปรียเทียบกับมโนทัศน์เดิม สังเคราะห์ความคิดจากการวิพากษ์  ขยายกรอบมโนทัศน์เพื่อสร้างมโนทัศน์ใหม่

การใช้กระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์นั้นบางครั้งสามารถนำมาออกแบบในตัวโลโก้ของสินค้านั้นได้อย่างดีเยี่ยม เช่น โลโก้ ของ ไนกี้ เป็นต้น เมื่อเราเจอสัญลักษณ์ของไนกี้แล้ว ทำให้เรานึกถึงมโนทัศน์ของไนกี้

การพัฒนานิสัย นักคิดเชิงมโนทัศน์นั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะและควรมีการฝึกบ่อยๆเพื่อให้เกิดความเคยชิน ลักษณะนิสัยของนักคิดเชิงกลยุทธ์คือ การเป็นคนช่างสังเกต  เป็นคนชอบใคร่ครวญเพื่อให้เข้าใจสิ่งนั้นได้ชัดเจน  และต้องชอบเป็นคนสะสมความรู้และความคิด เป็นต้น

                               

อ้างอิง : การคิดเชิงมโนทัศน์  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์

หมายเลขบันทึก: 500907เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท