DBA : กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์


การคิดเชิงวิเคราะห์

การคิดเชิงวิเคราะห์

การคิดเชิงวิเคราะห์นับว่าเป็นพื้นฐานการคิดในมิติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ทำให้เราทราบความเป็นไปเป็นเป็นมา รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ดังนั้นในสังคมไทยควรมีการฝึกการคิดแบบการคิดเชิงวิเคราะห์

 

ความหมายของการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนก แยกแยะ องค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่าทำมาจากอะไร มีองค์ประกอบอะไร ประกอบขึ้นมาได้อย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร และหากเราจะแจกแจงหน้าของการวิเคราะห์สามารถแจกแจงได้ดังนี้  แจกแจงเพื่อให้รู้ว่าสิ่งนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง การวิเคราะห์ทำให้เรารู้ว่าสิ่งนั้นทำมาจากอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ดังนั้นการวิเคราะห์มความสำคัญมากทำให้เราสามารถยแกแยะประเด็นได้ การวิเคราะห์มีหลายประเภท เช่น การวิเคราะห์ข่าวทำให้เราสามารถเข้าใจที่ไปที่มาของข่าว การวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้เราสามารถเข้าใจสภาพทางเศรษฐกิจได้

 

สมองวิเคราะห์ได้อย่างไร

โดยปกติแล้วการคิดวิเคราะห์ของคนเรานั้นจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้เหตุผล มนุษย์เราใช้การวิเคราะห์ 2 แบบเพื่อหาข้อสรุป คือ การใช้เหตุผลแบบอุปนัย และการใช้เหตุผลแบบนิรนัย  สมองเกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์โดยทำหน้าที่ดังนี้

-                   ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ

-                   หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง

-                   ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ

-                   แจงแจงองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

 

ความหมายของการคิดเชิงวิเคราะห์

การคิดเชิงวิเคราะห์คือ ความสามารถในการแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น  เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น

การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้เราสามารถค้นพบข้อเท็จจริง และองค์ประกอบการคิดเชิงวิเคราะห์มีดังนี้

-        ความสามารถในการตีความ   เราจะไม่สามรถวิเคราะห์สิ่งต่างๆได้ หากเราไม่เข้าใจในสิ่งนั้น การที่เราจะเข้าใจในสิ่งนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องวิธีการตีความ การตีความอาจจะเกิดจาก การตีความจากประสบการณ์ การตีความจากข้อเขียนเป็นต้น

-        ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์  เราจำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี เพราะจะช่วยให้เรากำหนดขอบเขตได้

-          ความชั่งสัเกต ช่างสงสัยและช่างถาม นักวิเคราะห์จะต้องเป็นคนชั่งสัเกตุ ช่างสงสัย และช่างถาม เพื่อให้เราสามารถหาองค์ประกอบในการวิเคราะห์ได้อย่างครบถ้วน

-        ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล นักวิเคราะห์จะต้องมีความสามารถในการเชื่อมโยง รู้ว่าอะไรเชื่อมโยงกับอะไร

 

เหตุใดจึงต้องคิดเชิงวิเคราะห์

การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นการคิดในระดับพื้นฐานหากเราต้องการประสบความสำเร็จและลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เราจำเป็นจะต้องมีวิธีการคิดแบบนักคิดเชิงวิเคราะห์การคิดเชิงวิเคราะห์พอสรุปประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

-                   การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยส่งเสริมความฉลาดทางสติปัญญา

-                   ช่วยให้คำนึงถึงความสมเหตุสมผลของขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

-                   ช่วยลดการอ้างประสบการณ์ส่วนตัวเป็นข้อสรุปทั่วไป

-                   ช่วยขุดค้นสาระของความประทับใจครั้งแรก

-                   ช่วยตรวจสอบการคาดคะเนบนฐานของความรู้

-                   ช่วยวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ส่วนบุคคล

-                   การคิดวิเคราะห์ เป็นพื้นฐานการคิดในมิติอื่นๆ

-                   การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยในการแก้ไขปัญหา

-                   การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยในการประเมินและการตัดสินใจ

-                   การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์สมเหตุสมผล

-                   การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้เข้าแจ่มกระจ่าง

 

สำรวจสถานะการคิดเชิงวิเคราะห์

นักจิตวิทยาได้ค้นพบหลักการสำคัญในการอธิบายกระบวนการรับรู้ของมนุษย์ สมองจะถูกจัดระเบียบที่มีลักษณะแยกย่อย ๆ ให้เป็นสิ่งที่มีความหมาย โดยใช้ 4 หลักในการรวมองค์ประกอบย่อยๆ เพื่อแปลความหมาย ได้แก่  หลักการเปิดช่องว่าง หลักความใกล้ชิด หลักความคล้ายคลึง  และหลักความเรียบง่าย

 

ว่ากันตามเนื้อผ้า

                      หลักการคิดเชิงวิเคราะห์โดยพื้นฐาน เป็นการจำแนกออกเป็นส่วนๆ และตรวจสอบรายละเอียดของส่วนต่างๆ นั้นเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล นักคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดีจะต้องฝึกการมองสิ่งนั้น ตามเนื้อผ้า หมายความว่า ฝึกมองสิ่งนั้นเท่าที่มันเป็นอยู่ ไม่ด่วนสรุปและหาปัจจัยต่างๆเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นโดยกระจ่างชัด นักคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดีจะต้องพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดย

  1. รับข้อมูลอย่าด่วนสรุป ตีความให้กระจ่าง

- กำหนดนิยามให้ตรงกัน  คำบางคำอาจมีมความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อรับข้อมูลมาแล้ว สิ่งสำคัญจะต้องตรวจสอบความหมายให้ตรงให้ระหว่างคู่สนทนา

                 -  ตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล  นักคิดเวิเคราะห์จะต้องใช้ความใช้ความสามารถเชิงเหตุผล และพัฒนาทักษะการใช้เหตุผลขั้นพื้นฐาน ย่อมทำให้เราเข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้อง

-  พิจารณาสิ่งสื่อความหมายสัมพันธ์กัน  ในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นสำคัญจะต้องมีการเชื่อมโยงความหมายที่สัมพันธ์กัน เช่น เมื่อกล่าวถึงพ่อ ย่อมทำให้เราทราบว่า มีความสัมพันธ์กับลูก

2. ปัญหาอย่าด่วนแก้ ตรวจสอบให้แน่ว่า อะไรคือปัญหา มีปัญหาจะทำอย่างไร

        -   นักคิดเชิงวิเคราะห์นั้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะไม่ด่วนสรุปแก้ไขปัญหาทันที แต่จะต้องมีกระบวนการแก้ไขปัญหาดังนี้คือ เมื่อเกิดปัญหา ให้ทำการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้พบปัญหาที่แท้จริง จากนั้นก็กำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหา

3. ฝึกตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์  การคิดเชิงวิเคราะห์นั้นแท้ที่จริงคือการตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบ ขอบเขตของคำถามที่เกี่ยวข้องพอจะจำแนกได้ดังนี้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะเหตุใด  และอย่างไร หากเราตอบคำถามเหล่าเราก็จะสามารถวิเคราะห์ประเด็นได้อย่างชัดเจน

 

คิดเชิงวิเคราะห์ เรื่องอะไร อย่างไร

       การคิดเพื่อการตัดสินใจนั้นสำคัญจะต้องรู้ที่มาที่ไปของปัญหา รู้ผลดีผลเสีย รู้แนวโน้มของอนาคตที่จะเกิดขึ้น จากนั้นค่อยกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญหาในทีนี้หากเราจะวิเคราะห์เรื่องอะไร และอย่างไร นั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ดังนี้

-                   วิเคราะห์เพื่อจำแนกแจกแจงความคลุมเครือให้ชัดเจน

-                   วิเคราะห์ความน่าจะเป็น

-                   การวิเคราะห์ความเป็นไปได้

การพัฒนานิสัยนักคิดเชิงวิเคราะห์

การที่จะเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ที่ดีนั้นจะต้องมีนิสัยดังต่อไปนี้ ช่างสังเกต ช่างสงสัย และช่างใคร่คราญ หากเราสามารถฝึกและพัฒนาลักษณะนิสัยเหล่านี้ก็จะทำให้เราเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง : การคิดเชิงวิเคราะห์ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หมายเลขบันทึก: 500902เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท