DBA : ภาวะผู้นำกับการบริหารองค์กรสมัยใหม่


ภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำสมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่าผู้นำจะต้องมาจากความสามารถเฉพาะบุคคลที่เกิดขึ้นจากตระกูลผู้นำ หรือไม่ก็เป็นความสามารถเฉพาะบุคคล แนวคิดเรื่องภาวะผู้นำที่เกิดจากเฉพาะบุคคลเริ่มหายไปเมื่อมีนักวิชาการหลายท่านศึกษา ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในอดีพมีหลายท่าน เช่น พ่อขุนรามคำแหง  พระเจ้านโปเลียน พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น  มีนักวิชาการให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลายท่าน อาทิเช่น

       McFarland (1979 : 214 – 215 ) ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่า ผู้นำคือบุคคลที่มีความสามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่างๆที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

     Huse (1978 : 227) ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้ว่า ผู้นำคือ ผู้ที่สามารถชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ

       YuKl ( 1989 : 3-4)  ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมายบุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือคือผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อยหรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆก็ตาม

      ประพันธ์ ผาสุกยืด (หน้า 2541, หน้า 87) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ความสามารถในการนำหรือภาวะผู้นำว่า เป็นคุณสมบัติหรือทักษะส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่สามารถสร้างขึ้นได้ หากได้รับการพัฒนาฝึกฝน ผู้นำที่เราพบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้อาจจะไม่มีความสามารถในการนำที่ดีพอก็ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายทั้งในระดับองค์กรและในระดับประเทศ พูดง่าย ๆ ก็คือ คนที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ( leader )นั้น ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเพียบพร้อมซึ่งคุณสมบัติ และการสามารถในการนำ (leadership) เสมอไป แต่ในทางตรงกันข้าม ใครกามที่มีภาวะผู้นำ(leadership) เขานั้นแหละมีความพร้อม และเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำ (leader)

       จากความหมายต่างๆ พอสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำคือ ความสามารถของบุคคลที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเองได้เป็นคุณสมบัติของบุคคลในการที่จะนำพาองค์กรหรือกลุ่มไปยังเป้าหมายด้วยความประสบความสำเร็จโดยสามารถจูงใจให้คนในกลุ่มทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความเต็มใจในการที่ทำงานนั้น 

       มีทฤษฏีเกี่ยวกับภาวะผู้นำมากมายแต่ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอทฤษฏีภาวะผู้นำของ McGregor’s : Theory X  and  Theory  Y

       Douglas McGregor  เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา ซึ่งทฤษฏีเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจและทฤษฏีความต้องการขั้นพื้นฐานของมาสโลว์ ซึ่ง McGregor มีความเห็นว่า การทำงานกับคนจะต้องคำนึงถึง ธรรมชาติของมนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์ คือ มนุษย์มีความต้องการพื้นฐาน และต้องการแรงจูงใจ ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้สิ่งที่ผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการจึงจะทำให้เกิดความศัทธา และกระตือรือร้นช่วยกันปฏิบัติงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

       Theory X พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน พื้นฐานคนขี้เกียจ อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

       Theory Y  เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี  มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน  มีกาเรียนรู้  มีการพัฒนาตนเอง  พัฒนางาน  มีความคิดสร้างสรร  และมีศักยภาพในตนเอง

       จากความหมายและทฤษฏีที่กล่าวมาข้างต้นนั้นผู้เขียนเห็นว่า ในเรื่องภาวะผู้นำพอจะนิยามได้ดังนี้  ภาวะผู้นำ คือ ผู้ซึ่งมีความฝันและสร้างสร้างฝันนั้นสำเร็จด้วยพลังของคนในกลุ่ม และคนในกลุ่มนั้นทุ่มเท กำลังกายและกำลังใจที่จะทำให้งานนั้นให้ประสบความสำเร็จ ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า ผู้นำนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น  4  แบบกล่าวคือ

 

  1. ผู้นำแบบมุ่งงาน  ผู้นำลักษณะนี้มีลักษณะมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ของงานสูง โดยไม่สนใจผู้ตามหรือลูกน้องภายในกลุ่ม ผู้เขียนเองเคยมีประสบการณ์ทำงานกับผู้นำองค์กรลักษณะเช่นนี้มา ในช่วงเวลา การทำงานผู้นำลักษณะนี้เน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นอย่างมากโดยไม่สนว่าลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาจะคิดเช่นไร ลักษณะการทำงานของผู้นำแบบนี้เป็นในลักษณะของการสั่งการมากกว่าจะเป็นการขอความร่วมมือ  เมื่อมีการประชุมผู้นำลักษณะนี้มักจะเอาความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่เสมอ หากผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอความคิดเห็นมา เขาก็จะไม่ค่อยรับฟังแนวความคิดของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าไหร่ ผู้นำองค์กรลักษณะนี้โดยส่วนมากเป็นที่ต้องการของเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไปเพราะเขาสามารถทำงานได้ผลสัมฤทธิ์สูงแต่ในทางกลับกันลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ชอบผู้นำลักษณะแบบนี้

  2. ผู้นำแบบมุ่งคน ในมุมมองของผู้เขียนมองว่าผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ยึดคนหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นศูนย์กลางเขามีความเชื่อว่า หากเขาสามารถทำให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีความสุขกับการทำงานแล้วผลสัมฤทธิ์ของงานก็จะเพิ่มขึ้น ผู้เขียนเองเคยมีประสบการณ์ทำงานกับผู้นำลักษณะเช่นนี้  การทำงานเป็นลักษณะของผู้นำองค์กรหรือผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้ทำเต็มที่ แล้วให้อิสระทางความคิด อย่างเต็ม การทำงานในลักษณะแบบนี้ทำให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

  3. ผู้นำแบบผสมระหว่างมุ่งงานและมุ่งคน  ผู้นำแบบนี้เป็นการผสมกันระหว่างผู้นำแบบมุ่งงานและผู้นำแบบมุ่ง การทำงานของผู้นำแบบนี้มักให้ความสำคัญของงานและความสำคัญของคนนั้นหมายถึงความสำคัญของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่ากัน ผู้ประเภทนี้มักมุ่งและกำหนดเป้าหมายของผลสัมฤทธิ์การทำงานที่มากเป็นพิเศษและในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เช่นเดียวกัน ผู้เขียนเองเคยได้เห็นการทำงานของผู้นำประเภทนี้ กล่าวคือในระหว่างการทำงานผู้นำประเภทนี้จริงจังกับงานมาก รวมถึงต้องการให้ผู้บังคับบัญชาจริงจังด้วย แต่หลังจากเลิกงานหรือในระหว่างที่ไม่มีงานก็จะให้ความสำคัญกับผู้บังคับบัญชา ทำให้บรรยากาศการทำงานของผู้นำแบบนี้ในขณะทำงานดูเข้มแข็งเอาจริงเอาจังแต่ในขณะเดียวกัน พอหลังจากงานเสร็จผู้นำก็ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างแท้จริง

4.ผู้นำที่เน้นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นศูนย์กลาง ผู้นำประเภทนี้ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบันจะสังเกตุว่าการบริหารงานนั้นต้องให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะว่าการทำงานจะสำเร็จก็ด้วยผู้บังคับบัญชา มีหลายองค์กรที่ประสบความสำเร็จและมีหลายองค์กรที่ล้มเหลวอันเนื่องมาจากการบริหารงานของผู้บริหาร ดังนั้นการบริหารงานของผู้นำแบบมุ่งคนเป็นศูนย์กลางนั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้นำเอเชียที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะมีความเชื่อว่าหากบริหารแบบคนเป็นศูนย์กลางแล้วก็สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 500895เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท