DBA : การคิดเชิงเปรียบเทียบ


การคิดเชิงเปรียบเทียบ

การคิดเชิงเปรียบเทียบ

 

การคิดเชิงเปรียบเทียบเป็นกระบวนการคิดอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์และคนในสังคมไทยควรได้รับการฝึก หากเราสามารถพัฒนาระบบการคิดเชิงเปรียบเทียบได้เป็นอย่างดีแล้วเราก็จะเป็นคนที่คิดอย่างรอบคอบไม่ด่วนตัดสินและเป็นการคิดหาทางเลือกที่ดีที่สุด

 

ความหมายของการเปรียบเทียบ

                การเปรียบเทียบนั้นสามารถสื่อได้ 2 ความหมายคือ การเปรียบเทีบในลักษณะเทียบเคียงและลักษณะการเปรียบเปรย  ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับลักษณะเทียบเคียงกันเลย

การเปรียบเทียบในลักษณะเทียบเคียง หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงสิ่งต่างๆ ตั้งแต่สององค์ประกอบขึ้นไป เพื่อให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันระหว่างสิ่งเหล่านั้น

เช่น  การนำรถสองคันมาเปรียบเทียบกัน เป็นต้น

                                การเปรียบเทียบในลักษณะเปรียบเปรย หมายถึง  การเปรียบเปรย สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เฉพาะส่วนที่มีความคล้ายคลึงกันในบางด้าน มักจะใช้เพื่อช่วยในการอธิบายสิ่งที่ผู้ฟังไม่รู้ โดยนำเอาสิ่งที่ผู้ฟังมาเปรียบเทียบให้เห็น เพื่อให้ผู้ฟังเกิดภาพในความคิดช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

การเปรียบเทียบในลักษณะเปรียบเปรยนี้ มีจุดมุ่งหมายดังนี้ เพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น  เช่น สมองสามารถบัณทึกความจำได้เท่ากับสารนุกรม 100 เล่ม เป็นต้น  เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้รับ เช่น เธอเปรียบเหมือนเสียงเทียนที่คอยส่องทางให้ฉัน  และสุดท้ายคือ เพื่อจุดประกายการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นต้น

 

                ความหมายของการคิดเชิงเปรียบเทียบ

                                การคิดเชิงเปรียบเทียบ หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และความแตกต่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ รวมทั้งความสามารถในการเปรียบเปรยสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตอบสนองเป้าหมายที่ต้องการ

                                การคิดเชิงเปรียบเทียบแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ การคิดเชิงเปรียบเทียบในลักษณะการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่าง สิ่งของ แนวคิด หรือ คน ตั้งแต่ 2 อย่างเป็นต้นไป  การคิดเชิงเปรียบเทียบในลักษณะสร้างสรรค์ การคิดในลักษณะอุปมา เป็นการกระตุ้นให้เกิดจิตนาการ เช่น เธองามเปรียบเหมือนนางฟ้า เป็นต้น

               

 

 

                เหตุใดเราต้องคิดเชิงเปรียบเทียบ

                                หากถามว่าเหตุใดจึงต้องมีการคิดเชิงเปรียบเทียบ พบว่ามีมากมาย เช่น

        1.เพื่อช่วยให้เห็นความต่างในความคล้าย หากเราพิจารณาให้ดีแล้วเราสามารถเห็นของสองสิ่งที่แตกต่างกัน

2.เพื่อลดความผิดพลาด ในการอ้างเหตุผลเปรียบเทียบ   เช่น นาย ก ติดเชื่อ HIV มีอาการลักษณะผอม มีไข้ ผิวหนังพุพอง และนาย ข ผอม เป็นไข้ ผิวหนังพุพอง เราก็คาดว่าติดเชื้อ HIV ดังนั้นหากเราใช้กระบวนกาคิดเชิงเปรียบเทียบ เขาอาจะไม่ได้ติดเชื้อ HIV ก็ได้ ดังนั้นกระบวนการคิดเชิงเปรียบเทียบลดความผิดพลาดได้

3. ช่วยให้เราค้นพบข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ การเปรียบทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งเล็กน้อยๆ หรือรายละเอียด จนทำให้เราสามารถค้นพบข้อเท็จจริงได้

4. เพื่อทำให้เข้าใจเรื่องยากและซับซ้อนได้ง่ายขึ้น   การคิดเชิงเปรียบเทียบสามารถทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น

5. เพื่อทำให้เข้าใจตรงกันในมาตรฐานที่แตกต่าง  เช่น มีไขมันสามารถมาทำสบู่ได้ 7 ก้อน ซึ่งการพูดเช่นนี้ทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น

6. เพื่อช่วยลดเวลาในการอธิบาย   การอธิบายบางครั้งทำให้ผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจได้ ต้องเปรียบเปรย เช่น การกระทำของเธอเปรียบเหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟ เป็นต้น

7. เพื่อจูงใจให้เกิดการคล้อยตาม  การคิดเชิงเปรียบเทียบทำให้ผู้ฟังสามารถคล้อยตามได้ เช่น ถ้าเราหว่าสิ่งที่ดี ผลออกมาย่อมดี เป็นต้น

8.เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่น การที่คนเราอยากบินได้เหมือนนก จนนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตเป็นเครื่องบิน

 

หลักนักคิด  ของนักคิดเชิงเปรียบเทียบ

       หากเราต้องการเป็นนักคิดเชิงเปรียบเทียบที่ดี เราต้องยึดหลักการคิดเชิงเปรียบเทียบดังนี้

       1. หลักเทียบเคียงและสังเกต เป็นลักษณะของการนำสองสิ่ง หรือมากว่านั้นมาเทียบเคียงกันเพื่อให้เห็นสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่างกัน

       2. หลักแจกแจงตามเกณฑ์  หลักการนี้คือ ก่อนอื่นเราต้องตั้งเป้าหมายก่อนจากนั้นกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบขึ้นมา เพื่อนำมาเปรียบเทียบและสามารถให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

       3. หลักยืดหยุ่นความคิด ผู้เป็นนักคิดเชิงเปรียบเทียบนั้นต้องเป็นผู้มีความยืดหยุ่นกับความคิด โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยถือปฏิบัติมา

       4. หลักตรวจสอบก่อนตัดสินใจ หลักการนี้ก่อนตัดสินใจควรใช้กระบวนการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนการตัดสินใจ

       หลักคิดทั้ง 4 หลักดังกล่าวนับเป็นพื้นฐานของนักคิดเชิงเปรียบเทียบหากหากฝึกให้ดีแล้วสามารถแยกแยะความเหมือนในความแตกต่างได้

 

 

กระบวนการค้นหาความเหมือนกับความแตกต่าง

       การคิดเชิงเปรียบเทียบว่าสิ่งใดเหมือนกันหรือแตกต่างกันนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ควรใช้หลักเหล่านี้มาช่วย

  1. การเปรียบเทียบในลักษณะขั้นกว่า  เช่น หนังสือสองเล่มนี้เล่มไหนอ่านสนุกกว่ากัน

  2. เปรียบเทียบแนวคิด หลักเกณฑ์และกฏเกณฑ์ เปรียบเทียบการทำงานของ นาย ก และ นาย ข ในตำแหน่งผู้ว่าราชการเหมือนกัน

  3. เปรียบเทียบให้เห็นข้อเท็จจริง เปรียบเทียบในมุมมองต่างๆ  เช่น เปรียบเทียบระหว่างลูกคนโต คนกลาง และคนเล็ก

  4. เปรียบในลักตัวแบบหรือต้นแบบ เช่น นาย ก  อาจใช้ ข เป็นต้นแบบในการทำงาน

 

การบวนการหาทางเลือกที่ดีกว่า

       กระบวนการคิดเชิงเปรียบเทียบนั้นทำให้เราสามารถวิเคราะห์ทางเลือกที่ดีกว่า โดยใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ คือ

-               เทียบตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรขึ้น จากนั้นก็วิเคราะห์ตามเกณฑ์ที่ตั้งขึ่น ประเมินทางเลือก และสรุปผล 

 

ฝึกใช้สมองเปรียบเทียบแบบเปรียบเปรย

       การคิดเชิงเปรียบเทียบมีลักษณะการคิดแบบเปรียบเปรย จนเราสามารถนำมาเชื่อมโยงกัน จนสามารถนำมาแก้ไปปัญหาได้ การฝึกการคิดเชิงเปรียบเทียบสามารถใช้กระบวนการเหล่านี้ คือ

       - ฝึกแจกแจงแล้วดึงความเหมือน เช่น เต่า กับ รถถัง หากเราดึงลักษณะเด่นออกมาแล้วเราจะพบว่า มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ มีเกราะป้องกันตัวเอง

      - ฝึกดึงลักษณะเด่นแล้วเปรียบเทียบ เช่น ดวงอาทิตย์เป็นตัวแทน จากนั้นดึงลักษณะเด่นของดวงอาทิตย์ คือ ความร้อน และความร้อนเปรียบเหมือนความโกรธ

      

เปรียบเปรยเพื่อสื่อสารและสร้างสรรค์

       การคิดเชิงเปรียบเทียบเป็นกระบวนการคิดแบบเปรียบเปรย การสื่อสารที่มีความเข้าใจยากหากใช้กระบวนการคิดแบบเปรียบเปรยจะทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสามารถนำกระบวนการคิดไปใช้ในการแก้ขปัญหาได้

 

อ้างอิง : การคิดเชิงเปรียบเทียบ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 

หมายเลขบันทึก: 500905เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท