DBA : การคิดเชิงสังเคราะห์


การคิดเชิงสังเคราะห์

การคิดเชิงสังเคราะห์

 

การคิดเชิงสังเคราะห์เป็นการคิดอีกมิติหนึ่ง ที่ผู้คนในสังคมไทยควรได้รับการฝึกการคิดแบบนี้ ความจริงแล้วในชีวิตประจำวันเราคุ้นเคยกับกระบวนการคิดเชิงสังเคราะห์ ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวผัดที่เรารับประทานเกิดจากการสังเคราะห์ ข้าว กุ้ง หมู เครื่องปรุงรส เป็นต้น ดังนั้นหากเราฝึกการคิดเชิงสังเคราะห์ให้ดีแล้ว เราก็จะจะเป็นนักคิดที่มีคุณภาพ

 

ความหมาย ของการสังเคราะห์

       การสังเคราะห์ หมายถึง การผสมผสานรวมกันอย่างกลมกลืนของส่วนประกอบ ต่างๆ จนกลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติเฉพาะ

สิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์จะมีอยู่ 2 ลักษณะกล่าวคือ

1.เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดจากการหลอมรวม ส่วนประกอบย่อยต่างๆ จนไม่สามารถมองเห็นส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้น  ดังนั้นการสังเคราะห์คือการรวมส่วนประกอบย่อยๆจนไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดได้ เช่น ยาเม็ดต่างๆ มีส่วนผสมอะไรบ้างเราไม่สามารถรับรู้ได้เลย

2. ถักทอ หรือ หลอมรวม องค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ภายใต้โครงร่างเดียวกัน  การสังเคราะห์เป็นการนำองค์ประกอบต่างมาถักทอรวมกัน หรือนำมาร้อยเรียงกัน เช่น การสัมมนาเรื่อง การพัฒนาสถาบันอดุมศึกษาในอนาคต มีผู้เข้าร่วมสัมมนามากมาย และมีข้อคิดเห็นมากมาย จากนั้นนำมารวมกัน โดยวิธีการสังเคราะห์โดยนำมาทักทอร้อยเรียงใหม่ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นว่าการสังเคราะห์เป็นการนำองค์ประกอบต่างๆมารวมกัน จนกลายเป็นสิ่งใหม่ นับว่าการสังเคราะห์นั้นสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้

 

ความหมายของการคิดเชิงสังเคราะห์

       การคิดเชิงสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการคิดที่ดึงองค์ประกอบต่างๆ มา หลอมรวมถักทอภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

   การคิดเชิงสังเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อ 

-  เราจำเป็นต้องหาทางเลือกใหม่   อันเนื่องมาจากวิธีการเก่าๆไม่สามารถใช้ได้แล้ว เราจึงควรเลือกวิธีการใหม่หรือวิธีการใหม่ เช่น อาจารย์แก้ไขนักศึกษาเรียนไม่เข้าใจบทเรียน อาจารย์ศึกษาปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาไม่เข้า จากนั้น หาแนวทางมาแก้ไข สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขต่อไป

- ทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

- หาข้อสรุปที่กระจัดกระจาย เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากเรื่องนั้นกระจายอยู่ต้องหาข้อสรุปในเรื่องนั้น

การคิดเชิงวิเคราะห์ในที่นี้หากจัดประเภทสามารถนำมาจัดประเภทได้ดังนี้

-  การคิดสังเคราะห์เชิงวิพากษ์  เป็นการวิพากษ์เรื่องราวบางอย่างเพื่อให้ได้ข้อสรุป และนำมาใช้ได้

-                   การคิดสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์  เป็นการนำแนวคิดมาเชื่อมโยงกัน จนเกิดสิ่งใหม่

 

เหตุใดเราต้องคิดเชิงสังเคราะห์

       การคิดเชิงสังเคราะห์มีความสำคัญมาก ช่วยให้กระบวนการคิดมีความสอดคล้องและมีความสัมพันธ์กัน หากจะถามว่าเหตุใดเราต้องคิดเชิงสังเคราะห์มีหลายประการ เช่น

-  เพื่อช่วยหาทางออกของปัญหา โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ การคิดเชิงสังเคราะห์ทำให้เราไม่ต้องแก้ปัญหาใหม่เริ่มจากศูนย์เราสามารถนำสิ่งที่เคยสามารถแก้ไขปัญหาได้มาสังเคราะห์ลัวปรับเข้ากับบริบทของเราได้

- เพื่อช่วยให้มีความเข้า ที่คบชัดและคบถ้วนในเรื่องราวต่างๆ  การคิดเชิงสังเคราะห์ทำให้เราเข้าใจในประเด็นที่ชัดเจน ไม่ต้องลองผิดลองถูกอีกต่อไป เราสามารถนำสิ่งที่เคยประสบความสำเร็จแล้วนำมาปรับเข้ากับบริบทได้

- เพื่อช่วยขยายขอบเขตความสามารถของสมอง  การคิดเชิงสังเคราะห์ทำให้เราสามารถขยายขอบเขตของความสามารถของได้ เราจะพบว่าสมองเรามีข้อจำกัดในเรื่องการจดจำ หากเราใช้กระบวนการคิดเชิงสังเคราะห์เราก็จะสามารถเพิ่มความสามารถในการคิดได้

- เพื่อช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่  การคิดเชิงสังเคราะห์ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เช่น โทรศัพท์มือถือ เกิดจากการสังเคราะห์ความสามารถด้านต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เช่น เครื่องคิดเลข อินเตอร์เน็ต MP4 วิทยุ ทีวี เป็นต้น

 

คิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่

การคิดเชิงสังเคราะห์สามารถแบ่งรูปแบบการคิดออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่

1 การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ อุปกรณ์ต่างๆที่เป็นสิ่งใหม่

2. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ อันเป็นการค้นหาแนวคิดใหม่

การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่มีแนวคิดสังเคราะห์ดังนี้

-  หลักจินตนาการสร้างสรรค์  คือ การคิดเชิงสังเคราะห์คือการคิดเชิงสร้างสรรค์นั่นเอง หากเราสามารถฝึกการคิดเชิงสังเคราะห์ได้ดีแล้ว เราก็จะสามารถนำสิ่งต่างๆมาเชื่อม ถักทอ เรากัน เป็นสิ่งใหม่ๆได้

-  หลักสังเคราะห์ส่วนประกอบ  หลักการนี้เป็นรูปแบบการคิดสังเคราะห์ที่สามารถให้เราสามารถเลือกทางเลือกได้ดีที่สุด โดยกำหนดวัตถุไว้ก่อน แล้วเขียนลักษณะที่ต้องการไว้แกนด้านหนึ่ง และเขียนลักษณะที่เกี่ยวข้องไว้อกนอีกด้านหนึ่ง เราก็จะมีทางเลือกให้เราตัดสินใจได้

- หลักขยับส่วนผสม  มีลักษณะเช่นเดียวกับการผสมเฉดสี เช่น สีเหลืองมีหลายเสดสี หากนำมาผสมกับสีแดงเฉดต่างๆ ก็จะทำให้ได้สีแตกต่างไปอีก หลักการนี้เป็นอีกหลักการหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดเชิงสังเคราะห์ได้เป็นอย่างดี

 

การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่

กระบวนการคิดเชิงสังเคราะห์มีกระบวนการคิดที่สำคัญ 7 ขั้นตอนคือ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการคิดเชิงสังเคราะห์   การกำหนดวัตถุประสงค์หรือการตั้งเป้าหมายนั้นจะทำให้เรามีเป้าหมายที่เราต้องเดิน ดังนั้นการเป็นนักคิดเชิงสังเคราะห์ต้องเริ่มกระบวนการกำหนดเป้าหมาย

  2. กำหนดขอบเขตของประเด็นที่เกี่ยวข้อง  หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว จะต้องกำหนดขอบเขตเพื่อให้เราทราบว่าขอบเขตที่เราต้องศึกษานั้นมีขอบเขตกว้างแค่ไหน มีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องศึกษา

  3. กำหนดลักษณะและขอบเขตของสิ่งที่จะนำมาสังเคราะห์   จากนั้นก็กำหนดขอบเขตที่จะนำมาสังเคราะห์ เช่น ข้อมูลที่นำมาเฉพาะประเทศไทยหรือทั่วโลก เป็นต้น

  4. การดึงเฉพาะแนวคิดที่เกี่ยวข้องมาใช้ จากนั้นก็เอาเฉพาะแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะสังเคราะห์มาใช้ การดึงแนวคิดนั้นคือ การคัดสรรเฉพาะแก่นความคิดของข้อมูลที่ตอบวัตถุประสงค์ของเรา โดยไม่สนใจรายละเอียดหรือประเด็นอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง เมื่อได้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆแล้วจากนั้นนำข้อมูลมาผสมผสานกัน และดึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องมาใช้ การดำแนวคิดที่เกี่ยวข้องมาใช้มีเทคนิคดังนี้  เทคนิคการระดมสมองเชิงสังเคราะห์  เป็นการะดมสมองจากหลายคนๆ   เทคนิค เดลฟายเชิงสังเคราะห์ เป็นการใช้ประโยชน์จากมันสมองของผู้เชี่ยวชาญในการช่วยคิด และเทคนิคชั้นกรองแนวคิด เป็นการนำแนวคิดเครื่องกรองน้ำมาปรับใช้กับกระบวนการคิด

  5. การจัดเรียงแนวคิดตามโครงสร้างที่ตั้งไว้ หรือสร้างแกนความคิดใหม่ เพื่อตอบวัตถุประสงค์  เป็นการจัดเรียงข้อมูลที่ได้มาเพื่อให้สามารถตอบวัตถุประสงค์ได้

  6. ขั้นทดสอบโครงร่างใหม่ เมื่อเราได้โครงร่างใหม่ให้เราทดสอบว่าโครงร่างที่เราสร้างขึ้น ดีหรือยัง พร้อมหรือยัง

  7. การนำสิ่งที่สังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์  เป็นขั้นตอนสุดท้ายเมื่อเราได้โครงร่างที่สมบูรณืแล้วเราก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

 

การพัฒนาทัศนคติและนิสัยนักคิดเชิงสังเคราะห์

ทักษะการคิดเชิงสังเคราะห์นั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่เรามาตลอด ในชีวิประจำวันเราอยู่เราพบการคิดเชงสังเคราะห์ตลอดเวลา เราจะมาฝึกการคิดเชิงสังเคราะห์โดยวิธีการ ไม่ชอบดังต่อไปนี้ ไม่พอใจสิ่งเดิมชอบถามหาสิ่งใหม่  ไม่นิ่งเฉยแต่ชอบการสะสมข้อมูล  ไม่จับแพะชนแกะแต่ชอบการเชื่อมโยงเหตุและผล             ไม่แปลกแยกแต่ชอบ ผสมผสาน  หมายถึง การผสมผสาน หลอมรวม ถักทอ  ไม่คลุมเครือ คมชัดในประเด็น ไม่ลำเอียง แต่วางตัวเป็นกลาง  ไม่ยุ่งเหยิง ชอบระบบระเบียบ  ไม่ท้อถอยชอบมานะพากเพียร  ไม่คิดแยกส่วนชอบคิด สิบมิติ หากเราสามารถฝึกฝนตามขั้นเหล่านี้ได้ เราก็จะเป็นนักคิดเชิงสังเคราะห์ได้เป็นอย่างดี และสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีงานต่อตนเองและสังคมต่อไป

 

อ้างอิง : การคิดเชิงสังเคราะห์ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 

หมายเลขบันทึก: 500903เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท