KM รูปแบบการให้บริการคลินิก Health care สุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ตอนที่ 2


การทบทวนก่อนการจัดการความรู้ครั้งที่ 2

            มาถึงตอนที่ 2 แล้วนะครับ สำหรับการจัดการความรู้

KM รูปแบบการให้บริการคลินิก Health care สุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก  ของงานส่งเสริมสุขภาพ (แพทย์แผนไทย) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับตอนที่ 2 นี้ เป็นการนำกิจกรรม ทบทวนก่อนการจัดการความรู้ ช่วงต่อจากครั้งที่แล้ว ครั้งที่แล้วเราได้แผนและการจัดตั้งทีมงาน พอมาถึงครั้งนี้ เรานัดประสานทีมงาน เพื่อมาพูดคุยตามแผน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่จะพัฒนากัน โดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้

1.นายศิวพล สุวรรณบัณฑิต นักการแพทย์แผนไทย ทำหน้าที่เป็น Fa

2.นางปราณี จรไกร พยาบาลวิชาชีพ ทำหน้าที่เป็น Note Taker

และมีสมาชิกผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้

3.นายเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ นักโภชนาการ

4.นางวิราวรรณ์ โพธิ์งาม พยาบาลวิชาชีพ

5.นางณฐอร เชื่อมชิต พยาบาลวิชาชีพ

6.นางจันทิรา สุโพธิ์ พยาบาลวิชาชีพ

7.นางญดา เฉลิมพงษ์ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย

 

ในครั้งนี้ประเด็นที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันคือ Mine Map แผนกิจกรรม ที่เราได้ทบทวนครั้งที่ 1 ให้สมาชิกทุกคนได้ลงความเห็นและเสนอความคิดเห็นว่าควรจะมีกิจกรรมใดเพิ่มเติม หรือควรตัดกิจกรรมใดลดลง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประยุกต์ แผนยุทธศาสตร์การแพทย์แผนไทย 8 อ . เข้ากับแผนยุทธศาสตร์กรมอนามัย คนไทยไร้พุง เข้าด้วยกัน และให้เลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดที่จะนำมาจัดการความรู้ก่อน ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. การประยุกต์หลักยุทธศาสตร์ 8อ และ 3อ  มีผังความสัมพันธ์ดังนี้

2.คัดเลือกองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะนำมาจัดการความรู้เป็นลำดับแรก

 

 

สิ่งที่ได้จากการทบทวน ครั้งที่ 2 คือ องค์ความรู้ที่จะไปจัดการความรู้ โดยคัดเลือกจากการนำแนวทางที่ตั้งไว้ มาร่วมพิจารณาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงข้อดีข้อเสีย แล้วสรุปคัดเลือก 1 องค์ความรู้ที่ได้คือ การพัฒนารูปแบบการให้บริการ โดยใช้แหล่งความรู้จากที่ต่างๆ เป็นความรู้ทั้ง Tacit และ Explicit โดยเน้นที่ Tacit เป็นส่วนใหญ่

DAR ครั้งหน้าควรนำสมาชิกที่จะเข้าร่วมเป็นแกนนำทั้งหมดมาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อที่คัดเลือกด้วยเพื่อวางบทบาทหน้าที่และสกัดองค์ความรู้เพื่อจัดเป็นรูปแบบโปรแกรมขึ้นมา

จบตอนที่ 2  แล้วนะครับ  แล้วจะรีบมาต่อ  ตอนที่ 3  อย่างรวดเร็ว.....รอติดตามชมกันนะครับ   สามารถแสดงความคิดเห็น  ได้นะครับ  เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบโปรแกรม  อย่างน้อยคุณอาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการคิดโปรแกรมขึ้นมาครับ

 

___________________________หมอตั๋ง_________________________

หมายเลขบันทึก: 500764เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ต้องขยายความสักหน่อยนะ ว่าอาจิณคืออะไร อุเบกขาเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไร มันอยู่ในอารมณ์ทั้งหมดหรือไม่

การปฎิบัตนในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดการเสียสมดุลของธาตุทั้ง ๔ ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ซ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการสร้างเสริมสุขภาพดีด้วยหลัก ๘อ.ดังนี้

อ.ที่๑ อิริยาบถ

   การปรับอิริยาบถ เพื่อสร้างสมดุลโครงสร้างร่างกาย ด้วยการบริหารแบบไทย โดยใช้ท่าฤาษ๊ดัดตน หลีกเลี่ยงการฝืนอิริยาบถ

อ.ที่๒ อาหาร

   รับประทานอาหารที่สะอาดปลอดภัย และมีคุณภาพ เพื่อสร้างสมดุลธาตุ

อ.ที่๓ อากาศ

  ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ดูแลสิ่งแวดล้อม และที่อยู่อาศัยให้สะอาด

อ.ที่๔ อาโรคยา

  ไม่เอาแต่เพลิดเพลิน รู้จักเลือกเฟ้นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่อดข้าว อดน้ำ อดนอน อดอาหาร  และรู้เรื่องสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วย

อ.ที่๕ อาจิณ

   ใส่ใจ ดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่กลั้นอุจจาระ ไม่กลั้นปัสสาวะ

อ.ที่๖ อุเบกขา

   ควบคุมอารมณ์ ไม่โศกเศร้าเสียใจ และไม่ดีใจจนเกินไป มีความสุข ภูมิใจในตนเอง และพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่

อ.ที่๗ อุดมปัญญา

   ไม่มีโทสะ รู้เท่าทัน ข้อมูลข่าวสาร/องค์ความรู้ คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น 

อ.ที่๘ อาชีพ

   ทำงานสุจริต ไม่ทำงานมากเกินไป ไม่มีกิจกรรมทางเพศมากไป มีวินัยในการดำรงชีวิต

(แหล่งข้อมูล กลุ่มวิชาการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข)

จะเห็นได้ว่า ตัวที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ ได้แก่ อุดมปัญญา อุเบกขา อาจิณ อาชีพ และอากาศ

ตัวอย่าง อุดมปัญญา คือ ไม่มีโทสะ รู้เท่าทัน ถ้าเกิดว่า มีโทสะขึ้นมา อารมณ์ก็ไม่ดี ส่งผลบต่อสุขภาพด้วย

            อุเบกขา      สามารถเชื่อต่อกับ  อารมณ์  ของยุทธศาสตร์คนไทยไร้พุงได้โดยตรง  คือ  สะกด สะกัด  สะกิด   ตามความหมายของอุเบกขาแล้ว  คือก็วางเฉย  นิ่งเฉย   มีอารมณ์ที่จะ  สะกด  ในทุกๆ เรื่องที่ไม่ดีต่อสุขภาพ  เช่น  วางเฉยต่ออาหารที่ มันๆ  ไม่อยาก  ควบคุมอารมณ์ หรือมีอุเบกขาให้ได้
           อาจิณ  คือ  ด้านการขับถ่าย   ถ้าอารมณ์ไม่ดี  บางครั้งขับถ่ายไม่ออก  อย่างบางคนบอกเครียดลงท้อง ลงกระเพาะก็มี   หรือ  บางครั้ง  ถ่ายไม่ออก  อารมณ์ก็เสีย
          อาชีพ   บางอาชีพ  มีผลกดดันต่ออารมณ์  เช่น  ทำงานในที่ที่มีการแข่งขันสูง  หรือการแก่งแย่ง  หรืองานที่ต้องเจอเสียงดัง แสงจ้า  ก็จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ได้
          และอากาศ   ร้อนจัด  หนาวจัด   หอม  เหม็น   มีผลต่ออารมณ์  ด้วยครับ  

จะเห็นได้ว่าทุกตัวมีความเกี่ยวข้องกัน แต่เราพยายามหากิจกรรมที่เสริมสร้างทางด้าน 8 อ ขึ้นมา เพื่อให้ผู้รับบริการมีสุขภาพที่ดีครับ

การสร้างสุขภาพ ย่อมดีกว่า การซ่อมสุขภาพ นะคะอจ.หมอ

ขอบคุณมากค่ะ

การสร้างสุขภาพ ย่อมดีกว่า การซ่อมสุขภาพ นะคะอจ.หมอ

ขอบคุณมากค่ะ

เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ อาจารย์ ดร.สมศรี เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้ามีข้อแนะนำหรือข้อเสนอแนะ สามารถบอกได้เลยนะครับ ยินดีรับไปพัฒนางานครับ

  • อ.1 พี่กำลังใช้โยคะช่วยอยู่
  • อ.2 ต้องไปหาหมอตั๋งแล้วล่ะว่าธาตุแบบไหน จะได้ปรับสมดุลได้
  • อ.3 อากาศก็โอเคนะ
  • อ.4 รู้สาเหตุแล้วล่ะว่าป่วยเพราะอะไร ก็ไม่ปล่อยตัวไปตามภาวะโรค
  • อ.5 ข้อนี้ต้องฝึก บางทีชอบทำงานเพลินแล้วขออีกนิดๆๆๆ จนลืมไปเลย
  • อ.6 พยายามฝึกสมาธิอยู่
  • อ.7 หาอ่านจากน้องๆนี้ล่ะ
  • อ.8 ผ่านอยู่แล้ว หุหุหุ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท