ตัวอย่างที่ดีของการจัดการงานวิจัยพื้นฐาน


การวิจัยพื้นฐานในปัจจุบันคือพลังขับเคลื่อนการค้นพบหรือนวัตกรรมในอนาคต

ตัวอย่างที่ดีของการจัดการงานวิจัยพื้นฐาน

บทบรรณาธิการในวารสาร Science ฉบับวันที่ ๓ ส.ค. ๕๕ เรื่อง NIH Basics เขียนโดย ผอ. ของ NIH คือ Francis Collins ให้ความรู้แก่ผมในเรื่องวิธีคิด และวิธีจัดการงานวิจัยพื้นฐาน   จึงนำมา ลปรร.

เขาบอกว่า เวลานี้ประมาณร้อยละ ๕๓ - ๕๗ ของ งปม. ของ NIH ใช้สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานด้านชีวการแพทย์ (biomedical)    วิธีคิดของเขาคือต้องได้สมดุลระหว่างการวิจัยพื้นฐานกับการวิจัยประยุกต์

เขาบอกว่า เมื่อดูที่รายการ Top breakthroughs 2011 ของวารสาร Science ในส่วนที่เป็นด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ๖ รายการ    เป็นรายการที่ NIH สนับสนุนหรือดำเนินการเอง ๔ รายการ    ในจำนวนนี้ ๓ รายการเป็นการวิจัยพื้นฐาน (cell senescence, human microbiome, archaic human DNA)    และ ๑ รายการเป็นการวิจัยทางคลินิกที่มีฐานของการวิจัยพื้นฐานแข็งแรงมาก (การรักษาในฐานะการป้องกัน HIV)

มีผู้ได้รับรางวัลโนเบล ๑๓๕ คน ได้รับการสนับสนุนจาก NIH   และทั้งหมดเป็นการวิจัยพื้นฐาน 

เขาชี้ให้เห็นว่า การสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานต้องไม่ใช่สนับสนุนแบบเปะปะ   ต้องมีจุดเน้นหรือทิศทางที่ถูกต้อง    เขาบอกว่าทุกประเด็นใน Science’s Area of Watch 2012 ด้านชีวการแพทย์กำลังได้รับการสนับสนุนจาก NIH   ได้แก่ การศึกษา metabolic pathways ใน stem cells, whole-genome sequencing เพื่อใช้ในงานระบาดวิทยา, และ พัฒนาโมเดลใหม่ในการศึกษา developmental brain disorders

นอกจากนั้น สถาบันวิจัยในสังกัด NIH ยังทำงานวิจัยพื้นฐานเพื่อเปิดขอบฟ้าใหม่ในความรับผิดชอบของแต่ละสถาบัน    ได้แก่ บทบาทของ microRNAs แข่งกับ endogenous RNA ในการควบคุม ยีน, โครงการ modENCODE ศึกษา functional elements ของ Drosophila และ Carnorhabditis elegans ไว้เป็น model organism, โครงการ trans-NIH เพื่อทำแผนที่ high resolution brain wiring

NIH Common Fund ทำหน้าที่ตั้งคำถามเพื่อทำความเข้าใจประเด็นพื้นฐานที่สุดในชีววิทยา เช่น extracellular RNA communication, single-cell analysis เป็นต้น

ใน Common Fund มีโปรแกรมให้ทุนวิจัยชื่อ High-Risk/High-Reward Program ขยายตัวอย่างมาก   จากใช้เงินปีละ $7.3 ล้านในปี ค.ศ. 2004   เป็น $191.8 ล้าน ในปี ต.ศ. 2011    และเขาจะเพิ่มจำนวน Pioneer and New Innovator award    ซึ่งหมายถึงการสนับสนุนนักวิจัยใหม่ที่ creative จริงๆ  

ผมชอบคำกล่าวว่า ในยามยากที่งบประมาณต้องลดลง    คนอเมริกันต้องตระหนักว่า การวิจัยพื้นฐานในปัจจุบันคือพลังขับเคลื่อนการค้นพบหรือนวัตกรรมในอนาคต

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ส.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 499967เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2012 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เคยเห็นงานวิจัยหลายชิ้นในประเทศไทยที่ได้งบประมาณมาก ได้แต่คิดในใจตามประสาคนรู้น้อยว่า ใช้ยังไงหมดนี่ ผู้ให้งบคงพิจารณารอบคอบแล้วละค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท