ทำน้ำด่างล้างใบทำลายเชื้อรา


หนึ่งในละอองที่มองไม่เห็นยังมีเมล็ดเล็กๆของกลุ่มเชื้อราทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายในโลกโดยเฉพาะพืชซึ่งอ่อนไหวแปรปรวนได้ง่ายเพราะอยู่นิ่งกับที่ไม่มีมือเท้าหลบหลีกปัดเป่าให้ทุเลาเบาบางได้เหมือนมนุษย์และสัตว์
ในสภาวะอากาศที่พื้นดินแยกแตกระแหงเพราะขาดน้ำความชื้น เจือไปด้วยผงฝุ่งแห้งแดงระเรื่ออยู่เหนือผิวดินพบเห็นได้ในท้องทุ่งหรือถนนหนทางทั้งถนนดิน ถนนลูกรังที่ห่างไกลความเจริญทุรกันดาร สายน้ำในแม่น้ำลำคลองแห้งขอดเผยเห็นสิ่งของปฏิกูลต่างๆที่มนุษย์เป็นผู้กระทำท้ิงขว้างลงไปส่วนใหญ่ก็เป็นพลาสติก โลหะและก็โฟมเกลื่อนกลาดอยู่ด้านล่าง บรรยากาศที่ทั้งแห้งและแล้ง นำพาเศษผงฝุ่นละอองจากธรรมชาติปลิวคละเคล้ากระจายไปทั่วทุกแห่งแหน ดอกหญ้า ดอกรักแตกฝักเผยให้เห็นปุยสำลีหลุดร่วงระลิ่วปลิวไปตามสายลมที่สุดแท้แต่ลมจะพัดพาให้ไปตก ณ แห่งหนใดก็ตาม รอคอยวันที่ฟ้าฝนเป็นใจให้ความชุ่มฉ่ำก็พร้อมที่จะงอกผลิแย้มแจมออกมาแพร่ขยายสายพันธุ์สืบสานพันธุ์เผ่าของตนให้ดำรงคงอยู่ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น 

หนึ่งในละอองที่มองไม่เห็นยังมีเมล็ดเล็กๆของกลุ่มเชื้อราทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายในโลกโดยเฉพาะพืชซึ่งอ่อนไหวแปรปรวนได้ง่ายเพราะอยู่นิ่งกับที่ไม่มีมือเท้าหลบหลีกปัดเป่าให้ทุเลาเบาบางได้เหมือนมนุษย์และสัตว์ เมล็ดของเชื้อราโรคพืชที่เล็กมากจนไม่สามารถอาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เพราะเล็กมากเพียง 2-4ไมครอน (2-4/1,000 มิลลิเมตร) นักชำนาญการส่วนใหญ่จึงเรียกชื่อเมล็ดน้อยๆเหล่านี้ให้มีชื่อว่าสปอร์ ด้วยความที่เล็กและเปรียวจึงทำให้เลี้ยวลัดเลาะเกาะไปกับสายลมได้ทุกๆที่ ยิ่งมีภาวะร้อนแล้งยาวนานก็ยิ่งสะสมปริมาณละอองสปอร์ของเชื้อโรคมากขึ้นเท่านั้นรอวันที่ฟ้าฝนคราคร่ำฉ่ำเย็นเป็นใจโปรยปรายให้ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นหน่วงเน้นเฟ้นรัดให้สปอร์มีความหนักหน่วงร่วงหล่นไปตกตามที่ต่างๆกระทั่งไปสู่ที่ใบของพืชไร่ไม้ผลของคนทำเกษตรกรรม

สปอร์ของเชื้อราเมื่อได้รับความชื้นจากสายฝนโดยเฉพาะฝนแรกจะมีความเข้มข้นของจำนวนสปอร์อยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ฟ้าหลังฝนที่ปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อราโรคพืชสร้างความเสียหายทำลายใบพืชของพี่น้องเกษตรกรทั้งไร่ข่า นาเผือก เรือกสวนจนเสียหายเกิดเป็นโรคตากบตาเสือ ใบด่าง ไบดำคล้ำไหม้ทั้งข้าว อ้อย ปาล์ม ยางพาราและมันสำปะหลัง การแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้ด้วยการล้างใบทำลายสปอร์จากน้ำด่างที่ทำง่ายด้วยการใช้ขี้เถ้าหัวหงอก (ขี้เถ้าเตาถ่าน ไม้ฟืนที่มีสีขาวออกเทา) โดยนำขี้เถ้ามาเพียงสองถึงสามกำมือกวนละลายในน้ำ 20 ลิตรถ้ามีเศษผงและตะกอนอยู่มากก็ให้ใบ้ผ้าขาวบางนำมากรองออกเอาเฉพาะส่วนที่ใสนำไปฉีดพ่นบนใบพืชหลังฝนตกใหม่ๆจะช่วยล้างใบทำลายสปอร์ป้องกันและรักษาการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี และจะได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับสารสกัดจากเปลือกมังคุด (ชื่อการค้าแซนโธไนท์) ในอัตรา 2 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นไปพร้อมๆกัน สำหรับผู้ที่ต้องการผลิตใช้เองก็ใช้เปลือกมังคุดที่ผึ่งลมจนแห้งแล้วนำมาสับบดตำจนละเอียดหมักกับแอลกอฮอร์ล้างแผลหรือเหล้าขาวในอัตรา 200 กรัมต่อแอลกอฮอร์ 500 ซี.ซี.หมักทิ้งไว้ 7 วันแล้วคั้นเอากากออกก็จะได้สารสกัดจากเปลือกมังคุดไว้ใช้ประจำไร่นาต่อไป

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 499846เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท