JJ2012V8_15 MASKII เครื่องมือจัดเก็บ Critical Knowledge


KM Tool และ Critical Knowledge

 เก็บบางส่วนจาก KT (Knowledge Transfer) จากทีมงาน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในงาน เสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๒๒ เหตุเกิดที่ ราชาคีรีรีสอร์ท ท่าขนอน เมืองนคร

 

 นำเสนอโดย สถาบันที่ปรึกษาด้านการจัดการความรู้ และ นวตกรรม จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยากร คือ รศ.ดร.วินเซ็นต์ ริเบียร่า และ ผศ.ดร.ลักคณา วรศิลป์ http://www.se-ed.com

 เครื่องมือทาง KM โดย อาจารย์ ดร.วินเซ็นต์ เริ่มจากงานวิจัยเครื่องมือการจัดการความรู้ ของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชื่อ MASK II

 Methodology เริ่มที่เครื่องมือมีมากไปไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญอะไรก่อนหลัง

 ประเด็นสำคัญ คือ การระบุว่าองค์กรมีความรู้ด้านใดบ้าง เช่น เรารู้ว่าเรารู้อะไรบ้าง บางครั้งเรารู้ว่าเราไม่รู้อะไรเราเรียนรู้ได้ ล่างซ้ายเราไม่รู้ว่าเรารู้อะไร ที่แย่สุดคือเราไม่รู้อะไรทั้งสิ้น

 MASKII (Method for Analysing and Structuring Knowledge) คือ การหา critical knowledge domain ในองค์กร และ การวางแผนกลยุทธ์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ของสถาบัน

 รูปแบบ คือ การระบุกลยุทธ์ของสถาบัน และ ดูความรู้ที่จะทำให้ความรู้โอนถ่ายไปสู่บุคลากรคนอื่น จะเป็น implicit k and explicit k ไม่รวม tacit k เพราะอยู่ใต้จิตสำนึก

 โดยทั่วไปบริษัททั่วไปไม่ได้วิเคราะห์ว่าทำไมต้องใช้ KM

 โดยปกติจะใช้ middle top down approach โดยครั้งแรกต้องดูในสถาบันมีองค์ความรู้อะไรบ้างมีความรู้ที่จำเป็น ต่อมาจึงวิเคราะห์ และ วางแผลกลยุทธ์ และนำมา map ในเชิง matrix

 การระบุความรู้จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือ หัวหน้างาน

 Critical K มี ๔ แบบ ตั้งแต่หายากไม่มีในองค์กร สองคือ การใช้ประโยชน์ สาม คือ ได้มายาก และ สุดท้าย คือ ใช้งานยาก ต้องมาดูว่าความรู้ไหน วิกฤติ

 มีคำถาม ๒๐ คำถามไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ว่าประเด็นไหนวิกฤติ

 เมื่อสัมภาษณ์เสร็จจะนำไปสร้างRadar Diagram และ นำไปวิเคราะห์ว่าการไปดูแต่ละหัวข้ออะไรยากง่ายกว่ากัน ประเด็น คือ การหาช่องว่างระหว่าง Knowledge Gap and Strategic Gap โดยต้องมีองค์ความรู้เพิ่มเติม หากจะก้าวไปจะต้องหาอะไรมาเพิ่มเติม

 การดู strategic capability ซึ่งต้องมาดู know how competency และ การจัดลำดับความสำคัญ ต้องไปดูประเด็นการจัดความสำคัญ

 ประเด็นที่สอง เป็นประสบการณ์จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล่าสู่กันฟัง โดย ผศ.ดร.ลักคณา KM ที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มปี ๕๒ เป็นศิษย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ของ สคส โดยที่ ม.กรุงเทพ วันไหนว่างจะทำ KM จนปี ๕๓ ไปพบ ดร.วินเซ็นต์ ที่ George Washington U เนื่องจากอาจารย์หนึ่งคนทำหลายอย่างจึงปรับเป็น ระดับกลยุทธ์ เพราะ output จาก km ไม่ชัดเจน และ กลายเป็นภาระ และ มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ต่างๆของภาคการศึกษา ของ สกอ สมศ Edpex การแข่งขันทั้งระดับชาติและระดับสากล

 จุดเปลี่ยน คือ การลดงานที่ไม่จำเป็น และ การให้งานไม่ซ้ำซ้อน จัดแล้วปรับให้ดี โดยมีเครื่องมือมากมาย ปัจจุบัน เลือก KM ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพของ สกอ และ สมศ โดยเน้น ๗.๒ โดย IKI-SEA จะเป็นที่ปรึกษา

 ตัวอย่างบางเครื่องมือ เช่น AAR Best Practice ตัวหลัก คือ การกำหนดประเด็นความรู้และแผนกลยุทธ์ที่ต้องไปในทิศทางเดียวกัน เติมกลยุทธ์ทางด้าน KM ที่ต้องสอดรับกับแผนระดับมหาวิทยาลัย ใน คณะวิชา เน้น องค์ความรู้ด้านวิจัย การเรียนการสอน และ บริการวิชาการ โดยหาว่าใครถือ องค์ความรู้เหล่านี้ เช่น ใครมีความรู้เรื่อวิจัย มีการทำ k map ทำให้บางท่านขาดไม่ได้ มีการนับว่าใครขาดไม่ได้ สาขาอะไรต้องเพิ่มเติม เช่น เวลาส่งคนไปเรียนต้องเรียนสาขานั้น ที่เป็นปัญหา คือ การเฝ้าระวังว่าจะสูญเสียตัวอาจารย์ที่มีองค์ความรู้นั้นๆไป คณบดีต้องคอยดูแลไม่ให้สูญเสีย หนึ่งองค์ความรู้ต้องมีคนรู้มากกว่าหนึ่งคน

 KPI 7.2 กำหนดบุคลากรเป้าหมาย เพราะ เกี่ยวเนื่องกับการจัดสรร งบประมาณ ดังนั้นทุกคนจะมี knowledge profile เป็นข้อมูลส่วนบุคคลว่า รู้อะไร สอนอะไร ตีพิมพ์เรื่องอะไร อะไร คือ ความเชี่ยวชาญที่คนนั้นมี

 KPI 7.2 ข้อที่ 3 มีการตั้ง CoP โดยการตั้งชุมชนธรรมชาติ เกิดความเบื่อหน่าย ไม่ได้องค์ความรู้อะไร เลยหนีไปทำงานวิจัย มีการไม่เข้าร่วมเพราะ ไม่ถูกกัน เลยมีการปรับเป็นระดับมหาวิทยาลัย ดร.วินเซ็นต์ มีการวิเคราะห์ เครือข่ายทางสังคม ใครเป็นที่พึ่งความรู้จริงในหน่วยงาน โดยการออกแบบสอบถาม เช่น อยากจะปรึกษาด้านวิจัย การสอน หรือ นวัตกรรม ใหม่ๆอยากจะไปหาใคร มีการใส่รหัสอาจารย์ วงกลมใหญ่ คือ คนมาพึ่งมาก มหาวิทยาลัยจะดูแลดีมาก

 KPI 7.2 ข้อ 4 โดยการใช้ AAR สำคัญมาก

 KPI 7.2 ข้อ 5 Best Practice นำมา share กันในระดับ คณบดี มี http://www.se.-edmag.com 

 มี I club เน้น international and innovation

JJ2012

หมายเลขบันทึก: 499844เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน อ.จิตเจริญ ที่เคารพ

เรียนรู้ยามเช้า ขอบคุณครับ

มา รับอาหารสมอง KM. ยามเช้าด้วยคนค่ะ^____^


สรุปดีจัง กำลังคิดหาวิธีช่วยน้องพยาบาล ที่จะนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานค่ะ อ่านแล้วตรงใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท