(e-Trust) ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ? ลุ้นรับ iPod Touch


เนื่องจากในปัจจุบันการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อาทิ Internet Banking, e-Payment, e-Commerce เป็นต้น อีกทั้งในหลายประเทศหน่วยงานภาครัฐได้มีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชน เช่น การชำระภาษีแบบออนไลน์ (e-Tax) การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Invoice) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ การออกใบสั่งยาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Prescription) การจดสิทธิบัตรแบบออนไลน์ (e-Patent) เป็นต้น ซึ่งในอนาคตบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากยิ่งขึ้น

ร่วมบอกเล่าประสบการณ์ตรง หรือ บอกเล่าแนวคิดที่อยากให้เกิดขึ้นได้จริงๆ ในหัวข้อ

(e-Trust) ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ?

เช่น สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชม. มีการตรวจสอบผู้เข้าใช้บริการว่าเป็นบุคคลดังกล่าวจริง มีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นความลับ ธุรกรรมที่ทำไม่สามารถถูกปลอมแปลงได้ เป็นต้น

ใส่คำสำคัญบันทึก คือ e-Trust หมดเขต 15 กย. นี้

ครั้งนี้ สรอ. ขอตอบแทนความรู้ที่ทุกท่านได้ให้มาด้วย iPod Touch 8GB จำนวน 1 เครื่อง จากการสุ่มจับรางวัลผู้ร่วมบันทึกเรื่องนี้ตามกติกาด้วยการบันทึกลงในบล็อก (สมุด) ของท่านเองค่ะ แล้วระบบจะดึงบันทึกของท่านมารวบรวมอัตโนมัติด้วยคำสำคัญ "e-Trust"

 

 

ผู้สนับสนุน

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สรอ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบการบริหารงานจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ของประเทศไทย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สรอ. ได้ที่ www.ega.or.th

 
 
 
หมายเลขบันทึก: 499416เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

น่าเขียนนะครับอาจารย์....ประเด็นเรื่องความเชื่อมั่น...ต้องกลับไปคิดก่อนครับ...ที่คล้ายๆ คือ....เมื่อถอนเงิน..ผมกล้าถอนจากตู้ ATM....แต่ตอนฝาก (ถ้ามี) ไม่กล้าฝากเงินผ่านตู้...กลัวตู้รับเงินไปแล้วไม่คายคืนครับ

จริงใจ เข้าถึง ร่วมเรียนรู้และพัฒนา อย่างจริงจัง

การศึกษาในรูปแบบ E-book เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ครับผม

e-Trust ตามความคิดของดิฉันคิดว่า ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรมีใบยืนยันการทำงาน เช่น ใบเสร็จ ใบตอบรับ และหมายเลขของเอกสารนั้น เพื่อใหตรวจสอบทวนซ้ำได้ เช่น เมื่อ จ่ายเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว มีใบตอบรับสามารถพิมพ์ออกมาได้เป็นหลักฐาน แล้วมีหมายเลขเอกสารนั้น เพื่อโทรไปตรวจสอบทวนซ้ำกับบริษัทเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ก็จะทำใหมั่นใจในการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ส่วนธนาคารที่ใช้สำหรับชำระเงินต่างๆ ต้องเปิดใหม่เฉพาะกิจกรรมการจ่ายเงินเท่านั้น คือไม่ใส่จำนวนเงินมากเกินไป หากมีปัญหาการถูกขโมยข้อมูล จะจำกัดวงเงินที่จะสูญเสียได้

เบื้องต้นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะต้องเข้าถึงระบบอินเทอร์เนตเสียก่อน และเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศใช้บริการอินเทอร์เนตกันเป็นแล้วนั่นแหละ รัฐจึงจะมาออกฎ ระเบียบ มารองรับและรับรองค้มครองการใช้บริการทางอิเลคทรอนิกส์ เมื่อนั้นประชาชนก็จะเกิดความมั่นใจ ในบริการออนไลน์ของภาครัฐ

วิธีการให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในระบบรัฐ

1. ทางด้านเทคนิค

กระบวนการทางด้านเทคนิคต้องสอดคล้องกับวิธีการทำงานที่สามารถทำให้จริ

งซึ่งลงไปถึง hareware และ software

2. ง่าย เข้าใจง่าย

เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างสมเหตุสมผลจะต้องมีการออกแบบกระบวนการให้ง่าย เช่น มีการใช้ infografic หรือแผนภาพมาแสดง

3. สามารถแสดงผลได้ทันที

เช่นระบบตอบรับ หรือ ให้รับทราบว่ามีการส่งเข้าแล้ว

4. เทคโนโลยี

ใช้เทคโนโลยีปัจจุบัน เช่น app ในโทรศัพท์มือถือ หรือ webapp ที่รวดเร็ว

สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ทันเทคโนโลยี

รบกวนเขียนบันทึกลงในบล็อก (สมุด) ของท่านเองได้เลยค่ะ แล้วระบบจะดึงบันทึกของท่านมารวบรวมอัตโนมัติด้วยคำสำคัญ "e-Trust" ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

e-Trust ในความคิดเห็นนะค่ะสามารถทำได้ หากผู้ใช้งานมีความเข้าใจว่าระบบที่นำมาใช้มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรก่อนการใช้งาน เมื่อผู้ใช้งานรู้แล้ว ระบบก็ต้องมีคำเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่า การเข้าถึงสามารถเข้าถึงได้ในระดับไหน ใครควรเห็นหรือไม่ และอาจมีข้อกำหนดในการใช้งานให้ผู้ใช้ทราบด้วย อีกทั้งการใช้งานต้องง่าย และสามารถใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ง่ายต่อการเข้าถึง หรือรองรับ 24 ชม รวมถึงหากเกิดมีปัญหาในการใช้งานก็ต้องสามารถมีเจ้าหน้าที่หรือเครื่องมือทีจะทำให้สามารถแก้ไขเกี่ยวกับการใช้งานในเบื้องต้นได้เพราะบ่อยครั้งเครื่องมือที่ใช้ก็มีปัญหาและผู้ใช้ก็ไม่ทราบว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร จะปรึกษาใครทำให้หลายคนก็เลิกใช้งานไปก็มี ความปลอดภัยในการใช้งานนั้นก็ต้องแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัย การรักษาความลับของผู้ที่ใช้งานได้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความมั่่นใจในการบริการต่อไป

นายบูรณ์เชน สุขคุ้ม

วิธีการให้เชื่อมั่นใน e-Trust ต้องให้ประชาชนรู้สึกว่าเชื่อถือได้ มีระบบป้องกันความผิดพลาด เมื่อมีความผิดพลาดก็มีมาตรการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ เมื่อประชาชนเขามั่นใจในระบบแล้วทุกอย่างก็ง่าย เพราะโลกมันผ่านยุคอนาล๊อคแล้ว เราต้องเชื่อในประชาชนของเรา อยู่ที่ว่าระบบน่าเชื่อถือไหม ถ้าระบบดี คนก็เชื่อมั่น แน่อนนหากระบบแย่ ต่อให้โฆษณาดีแค่ไหน ก็เปล่าประโยชน์ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคความเชื่อ แต่เป็นยุคเหตุผลพิสูจน์ได้ จึงยอมรับครับ

1.รัฐต้องสร้างระบบดารบริการทางออนไลน์ให้ประชาชนเชื่อถือได้เพราะที่ผ่านมาเกิดปัญหาความผิดพลาดขึ้นหลายอย่าง และเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาก็ทำการกูข้อมูลช้ามาก ซึ่งไม่เหมือนในต่างประเทศ เขาทำงานได้เร็วและมีประสิทธภาพ ประเทศไทยน่าจะเอาอย่างเขาบ้าง 2.ระบบ โซเชียลเน็ตเวิร์ค ต้องให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ ในปี 2558 นี้ก็ไทยเราก็จะเข้าสู่ AEC แล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องพัฒนาการให้บริการบริการออนไลน์ มากขึ้น โดย พนักงานรัฐจำเป็นต้องมีความจริงใจต่อประชาชน มีจรรยาบรรณในการทำงาน ทำให้ประชาชนประจักว่ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการให้บริการออนไลน์อย่างจริงจัง และเจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่หลอกลวงประชาชนตาดำๆ
3.รัฐต้องสนับสนุนให้ทุกพื้นที่ในประเทศมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างครอบคลุม มิใช่กระจุกเป็นที่เหมือนในปัจจุบันเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนให้ดียิ่งๆขึ้นไป 4.เมือให้บริการประชนแล้วภาครัฐต้องรักษาความลับของพี่น้องประชาชนให้มากที่สุด อย่าปล่อยเหมือนแบบปัจจุบันนี้รัฐต้องแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยในการใช้ระบบออนไลน์ และรัฐต้องแสดงความรับผิดชอบหากเกดความผิดพลาดขึ้นกับพี่น้องประชาชน หากรัฐสามาปฏิบัติได้ตามที่ว้านี้ประชาชนคงจะใช้ระบบออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิมอย่าแน่นอนครับ

                 ผมคิดว่าหน่วยงานภาครัฐ ที่รับผิดชอบด้านโลกของออนไลน์ ต้องให้ความสำคัญมากกว่านี้ ปัจจุบัน และ ใน       อนาคต คนส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นๆเจ้าหน้าที่ต้องใช้กฎหมายที่หนัก มากกว่าปัจจุบัน ทุกวันนี้ไม่ใช่คนไทยหลอกคนไทย แต่ เป็นต่างชาติมากขึ้น มีผลกระทบ ต่อเศรฐกิจมากขึ้น ต้องช่วยกันครับ

e-trust การสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนที่ดี การสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนที่ดีก็มีปัจจัยหลายอย่าง

 เรื่องของความเชื่อว่าระบบการทำงานแบบนี้ปลอดภัยจริงๆทำอย่างไรที่ทำแล้วเหมาะสม เช่น การทำธุระกรรมของธนาคารซึ่งมีประสบการณ์มากๆเคยมีข้อบกพร่องไหม เกิดจากอะไร แก้ไขอย่าง ในการทำธุระกรรมทุกครั้งมีหลักฐานสามารถที่จะติดต่อแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ในระยะเวลาอันสั้น
         ต้องมีการวางระบบที่ดีและเหมาะสมในการทำงานนั้น มีบุคคลที่เป็นที่ยอมรับในการทำงาน ปราศจากผู้ไม่รู้เข้ามาเกี่ยวข้องในระบบงาน
เรื่องของความมั่นใจ อันนี้อาจจะสร้างยากหน่อยคือต้องตั้งระบบการับคำร้อง ข้อติชมนั้นๆ ถ้าพบปัญหาต้องรีบแก้ไขทันที แล้วติดต่อกลับกับผู้แจ้งปัญหา เพื่อแจ้งให้ทราบวิธีการแก้ไข ระยะเวลาในการดำเนิน ในทั้งนี้ทุกอย่างต้องเร็วที่สุด และถูกต้องแม่นยำ
         ต้องมีทีมงานที่คอยดูแล แก้ไข ปรับปรุงพิจารณาการทำงานอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ

เรื่องที่สำคัญคือการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ ในการทำงานหรือการใช้งานต้องให้ความรู้และการอธิบายโดยบุคคลที่จะอธิบายต้องเข้าใจ เข้าถึงวิธีอธิบายว่าอธิบายให้ใคร มีความรู้แค่ไหน เข้าใจหรือไม่ อีกทั้งยังต้องมีการทวนสอบความเข้าใจนั้นด้วยว่า เข้าใจจริงๆหรือไม่

         ต้องคัดสรรบุคคลที่เข้าใจในกลุ่มคนแต่ละกลุ่มเพื่ออธิบายให้เกิดการใช้งานที่ถูกต้อง และปลอดภัย

(e-Trust)จะให้ประชาชนเชื่อมั่นในการใช้งานง่ายมาก ขั้นตอนแรกก็ให้บุคลากรของภาครัฐเริ่มใช้งานก่อน และให้ใช้แบบ100% ในช่วง1ปีมีสิ่งใดที่ต้องปรับเปลี่ยนก็ทำการปรับเปลี่ยนปรับปรุง ลองคิดดูถ้าคนของภาครัฐใช้งานได้ดี สะดวก ปลอดภัย แล้วเริ่มนำออกให้ประชาชนใช้โดยให้ผู้ที่เคยใช้ก็คือคนของรัฐเป็นผู้แนะนำ ก็เท่านั้นเอง

(e-Trust) จากการนำร่องของบุคลากรของภาครัฐ การใช้งานคล่อง ใช้ครบทั้ง 100% ในองค์กร ทุกระดับ ตลอดจนให้มีการ ตรวจสอบ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพมากขึ้น เรื่อย ๆ หากบุคลากรภาครัฐใช้งานได้ดี สะดวก ปลอดภัย แล้วเริ่มนำออกให้ประชาชนใช้งาน โดยคนของรัฐเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ เท่านี้ก็น่าจะง่ายขึ้น

ถ้า เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ร่วมกันใช้ Social Network ด้วยปัญญา จะน่าเชื่อถือได้ครับ

ส่วนตัวนะคะ ต้องเข้าว่า ประชาชน ในที่นี้น่าจะรวมทั้งหมดทุกกลุ่มนะคะ แม้แต่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราแล้ว ไม่มีเวลาแม้กระทั่งวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หากจะให้มีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ นั้น ต้อง ไม่มีเสาร์ - อาทิตย์ ไม่มีวันหยุดราชการ สามารถบริการได้อย่างคล่องตัว เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะดำเนินการทุกอย่างได้คล่อง และสะดวก ก็คือวันหยุดนี่แหละ อีกอย่างระบบ เครือข่าย ต้องไม่มีปัญหา หากรัฐสามารถดูแลระบบได้อย่างดี ถึงดีเลิศ ประชาชนไว้วางใจแน่นอน ค่ะ

รัฐต้องเข้าถึงผู้ใช้อินเทอร์เนต โดยการให้ความรู้ระยะสั้นเช่นการจัดบู้ท,จัดนิทรรศการตามงาน,จัดการอบรมให้ความรู้ทุกอำเภอทั่วไทย ดีกว่าที่จะให้ทุกคนขวนขวาย ความรู้เอง คือต้องเดลิเวอรี่ จริง ๆ

(e-Trust) ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ?
นอกจากการมีความรู้เรื่องวิธีที่จะทำให้เกิด e-Trust แล้ว
คำแนะนำอย่างละเอียดและเต็มใจแบบไม่มีข้อแม้ ต้องมีในจิตใจของผู้ให้บริการทุก ๆ คนด้วย e-Trust จะช่วยลดปริมาณงานภาครัฐลงได้มากทีเดียว และยังทำให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วทันใจด้วย ฉะนั้น จะรออะไรเล่า ต้องรีบให้ความเข้าใจอย่างเป็นกันเองด้วยความบริสุทธิ์ใจ และไม่หงุดหงิดได้แล้ว

(e-Trust) ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ? เชื่อมั่นในระบบบริการออนไลน์ เพราะ ความสะดวก รวดเร็ว เมื่อมีทางเลือกทั้งแบบเดิมคือไปด้วยตนเอง และแบบออนไลน์ หากแบบออนไลน์มีข้อมูลอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ระบบใช้งานได้สะดวก คำอธิบายใช้ภาษาที่เข้าใจได้ และมั่นใจว่าข้อมูลส่วนตัวของเราจะเป็นความลับแน่นอน จะขอเลือกใช้บริการออนไลน์ค่ะ


E-trust....วัดจากอะไร?...ถึงจะแม้นตรงนะคะ

 

 

E-Trust ของภาครัฐน่าจะให้ความไว้วางใจแก่ประชาชนได้มากพอสมควร แต่หากต้องใช้บริการเข้าจริง ๆ ก็ต้องเลือกใช้เป็นบางอย่าง บางบริการ เช่น มั่นใจมากในเรื่องการบริการภาษีอากร การให้ข่าวสารออนไลน์ ความสะดวกรวดเร็ว ความประหยัดเวลาและงบประมาณ แต่ก็ยังมีประชาชนบางกลุ่มที่ยังขาดทักษะการใช้บริการเช่นนี้อยู่ คงต้องให้รายละเอียด และขยายความรู้ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

ในยุคนี้ทุกๆอย่างต้องขึ้นต้นด้วย E แล้วจะมีคนมาสนใจ

สวัสดีครับท่านอาจารย์จันท์ ผมเป็นแฟนรายการเสมอๆครับ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ร่วมสนุกด้วยแม้จะต้องการเขียน เพราะผมต้องเอาเวลาไปเขียนสารนิพนธ์ให้เสร็จภายในวันที่ ๑๕ เช่นกัน งานที่อยากเขียนกับงานที่ถูกบังคับให้เขียนนี่ มันกระตุ้นในการเขียนได้แตกต่างกันทีเดียว

เรื่องนี้จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย มันขึ้นอยู่กับว่า "ประชาชน" ที่ว่านี่คือกลุ่มไหน ถ้ากลุ่มผู้ใหญ่ตอนปลาย(40UP) คงมีทัศนคติเดิมๆเกี่ยวกับความปลอดภัย กลัวคำว่า "แฮ็ก" มากกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น(25-40) ช่วงนี้เริ่มใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หลายๆอย่างเป็นแล้ว รับรู้เรื่องของความปลอดภัยมากขึ้น เริ่มหาวิธีทำธุรกรรมหลายๆอย่างที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มนี้เริ่มเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆมาตั้งแต่เด็ก ไม่กลัว กล้าลอง แต่ไม่ค่อยชอบคอยอะไรนานๆ

กลุ่มเป้าหมายหลักน่าจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น (ตอนปลายคงมีจำนวนน้อยที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่อง) กลุ่มนี้เป็นวัยทำงาน และใช้เทคโนโลยีเป็นประจำ ถ้าคิดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิก น่าจะลองทำกับกลุ่มนี้ก่อน คนกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยยื่นภาษีผ่านระบบของกรมสรรพากร คนกลุ่มเริ่มใช้บริการ e-banking ของธนาคาร รัฐต้องลองพัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ขึ้นมาทีละนิด เริ่มต้นจากระบบอะไรที่ความเป็นจริง ต้องเดินทาง ต้องคอยคิวนานๆ เอาระบบนั้นก่อน เอามาให้ลองใช้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่...ประสบการณ์การใช้ครั้งแรกสำคัญมาก หากช้า...หากมีเออเร่อ หรือประมวลผลผิด...ผู้ใช้ก็จะเบินหน้าหนี และกว่าจะกลับมาก็จะเป็นเรื่องยาก

สรุปคือ พัฒนาระบบที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน(25-40) ก่อน เลือกระบบที่ถ้าไม่ทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ทำระบบให้ง่าย ให้เร็ว และลดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด

ลองดูครับ

e-Trust เรื่องนี้จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย มันขึ้นอยู่กับว่า "ประชาชน" ที่ว่านี่คือกลุ่มไหน ถ้ากลุ่มผู้ใหญ่ตอนปลาย(40UP) คงมีทัศนคติเดิมๆเกี่ยวกับความปลอดภัย กลัวคำว่า "แฮ็ก" มากกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น(25-40) ช่วงนี้เริ่มใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หลายๆอย่างเป็นแล้ว รับรู้เรื่องของความปลอดภัยมากขึ้น เริ่มหาวิธีทำธุรกรรมหลายๆอย่างที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มนี้เริ่มเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆมาตั้งแต่เด็ก ไม่กลัว กล้าลอง แต่ไม่ค่อยชอบคอยอะไรนานๆ

กลุ่มเป้าหมายหลักน่าจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น (ตอนปลายคงมีจำนวนน้อยที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่อง) กลุ่มนี้เป็นวัยทำงาน และใช้เทคโนโลยีเป็นประจำ ถ้าคิดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิก น่าจะลองทำกับกลุ่มนี้ก่อน คนกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยยื่นภาษีผ่านระบบของกรมสรรพากร คนกลุ่มเริ่มใช้บริการ e-banking ของธนาคาร รัฐต้องลองพัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ขึ้นมาทีละนิด เริ่มต้นจากระบบอะไรที่ความเป็นจริง ต้องเดินทาง ต้องคอยคิวนานๆ เอาระบบนั้นก่อน เอามาให้ลองใช้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่...ประสบการณ์การใช้ครั้งแรกสำคัญมาก หากช้า...หากมีเออเร่อ หรือประมวลผลผิด...ผู้ใช้ก็จะเบินหน้าหนี และกว่าจะกลับมาก็จะเป็นเรื่องยาก

สรุปคือ พัฒนาระบบที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน(25-40) ก่อน เลือกระบบที่ถ้าไม่ทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ทำระบบให้ง่าย ให้เร็ว และลดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด

ลองดูครับ

e-Trust เรื่องนี้จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย มันขึ้นอยู่กับว่า "ประชาชน" ที่ว่านี่คือกลุ่มไหน ถ้ากลุ่มผู้ใหญ่ตอนปลาย(40UP) คงมีทัศนคติเดิมๆเกี่ยวกับความปลอดภัย กลัวคำว่า "แฮ็ก" มากกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น(25-40) ช่วงนี้เริ่มใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หลายๆอย่างเป็นแล้ว รับรู้เรื่องของความปลอดภัยมากขึ้น เริ่มหาวิธีทำธุรกรรมหลายๆอย่างที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มนี้เริ่มเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆมาตั้งแต่เด็ก ไม่กลัว กล้าลอง แต่ไม่ค่อยชอบคอยอะไรนานๆ

กลุ่มเป้าหมายหลักน่าจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น (ตอนปลายคงมีจำนวนน้อยที่ใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่อง) กลุ่มนี้เป็นวัยทำงาน และใช้เทคโนโลยีเป็นประจำ ถ้าคิดว่าจะสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิก น่าจะลองทำกับกลุ่มนี้ก่อน คนกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยยื่นภาษีผ่านระบบของกรมสรรพากร คนกลุ่มเริ่มใช้บริการ e-banking ของธนาคาร รัฐต้องลองพัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ขึ้นมาทีละนิด เริ่มต้นจากระบบอะไรที่ความเป็นจริง ต้องเดินทาง ต้องคอยคิวนานๆ เอาระบบนั้นก่อน เอามาให้ลองใช้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่...ประสบการณ์การใช้ครั้งแรกสำคัญมาก หากช้า...หากมีเออเร่อ หรือประมวลผลผิด...ผู้ใช้ก็จะเบินหน้าหนี และกว่าจะกลับมาก็จะเป็นเรื่องยาก

สรุปคือ พัฒนาระบบที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน(25-40) ก่อน เลือกระบบที่ถ้าไม่ทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ทำระบบให้ง่าย ให้เร็ว และลดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด

ลองดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท