ForensicStatistics5: การคำนวณค่าทางสถิติ กรณีดีเอ็นเอผสม (lecture ศ.นพ.ธานินทร์ ภู่พัฒน์


     บันทึกนี้เป็นการนำบันทึกการสอน เรื่อง Mixed profile analysis บรรยายโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ธานินทร์  ภู่พัฒน์  ซึ่งบรรยายไว้ในการอบรมเครือข่ายนิติพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย "Forensic Genetic Examination Workshop" ที่อาคารสัจธรรม สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2554 มาเผยแพร่ครับ

     ท่านสามารถ download เอกสารบันทึกการสอนนี้ได้จาก ที่นี่ครับ

 


 

การอบรมเครือข่ายนิติพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย

 “Forensic Genetic Examination Workshop”

วันที่ 15-16 กันยายน 2554          อาคารสัจธรรม ชั้น 3 สถาบันนิติเวชวิทยา  โรงพยาบาลตำรวจ

เรื่อง “Mixed profile analysis”                       ศ.นพ. ธานินทร์   ภู่พัฒน์



           การแปลผลดีเอ็นเอที่มีลักษณะผสมกันมีได้หลายทางเลือก ขึ้นกับคำถามและเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ เช่น

                 - กรณี victim และ suspect

                 - กรณี suspect และ unknown

                 - กรณี two suspect

                 - กรณี victim และ/หรือ suspect

     ข้อกำหนด ที่ต้องตกลงกัน เพื่อใช้กำหนดขอบเขตและหลีกเลี่ยงรายละเอียดปลีกย่อยที่อาจมีผลต่อการวิเคราะห์

                - กลุ่มประชากรไม่มี subpopulation หรือไม่มีประชากรกลุ่มย่อยในประชากรกลุ่มใหญ่ หรือประชากรมีลักษณะเป็นกลุ่ม หรือกระจุก ไม่มีการกระจายตัวอย่างทั่วถึง

                - เชื่อว่าทุกคนอยู่ในกลุ่มประชากรเดียวกัน และไม่มีความสัมพันธ์เป็นญาติกัน

                - การเกิด allele dropout ไม่มีผลกระทบต่อการแปลผล หรือเชื่อว่าไม่มี allele dropout

                - การแปลผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ไม่มีความคลาดเคลื่อนจากวิธีการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน

       1.      กรณี Victim และ suspect

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 4 อัลลีล  

ตัวอย่าง เช่น ผลการตรวจ vaginal swab จากช่องคลอดผู้เสียหาย ตรวจพบ sperm และมีรูปแบบดีเอ็นเอผสม โดยมี 2 แถบ ตรงกับผู้เสียหาย และอีก 2 แถบตรงกับ ผู้ต้องสงสัย

 

Victim

Suspect

Sample

 

A1

A1

 

A2

A2

A3

 

A3

A4

 

A4

กรณีนี้ การคำนวณ LR เหมือนแบบปกติ ที่ไม่เป็นดีเอ็นเอผสม

ตั้งสมมติฐาน

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A3/A4) และ Suspect (A1/A2)

       โอกาสที่เกิดขึ้น = 1

H0 : DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A3/A4)  ปนกับ unknow (A1/A2)  

      โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P1P2

                        Likelihood ratio (LR)                =          H1/H0

                                                                   =          1/(2P1P2)

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 3 อัลลีล  แบบที่ 1

Victim

Suspect

Sample

 

A1

A1

 

A2

A2

A3

 

A3

กรณีนี้ การคำนวณ LR เหมือนแบบปกติ ที่ไม่เป็นดีเอ็นเอผสม

ตั้งสมมติฐาน

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A3/A3) และ Suspect (A1/A2)

      โอกาสที่เกิดขึ้น = 1

H0 : DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A3/A3)  ปนกับ unknown (A1/A2)  

      โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P1P2

                        Likelihood ratio (LR)               =          H1/H0

                                                                   =          1/(2P1P2)

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 3 อัลลีล  แบบที่ 2

Victim

Suspect

Sample

 

A1

A1

A2

 

A2

A3

 

A3

ให้พิจารณาในตัวอย่างซึ่งเป็นดีเอ็นเอผสมว่า ถ้าตัด Suspect (A1/A1) ออกไปแล้ว เอาดีเอ็นเอของ Victim ไปรวมกับดีเอ็นเอรูปแบบใดบ้างที่ยังคงให้ผลออกมาเป็น 3 แถบ (A1/A2/A3) เหมือนเดิม ในที่นี้ เป็นไปได้ 3 รูปแบบ คือ A1/A1, A1/A2 และ A1/A3

ตั้งสมมติฐาน

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A2/A3) และ Suspect (A1/A1)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 1

H0 : DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A2/A3)  ปนกับ unknown ซึ่งอาจเป็นไปได้ 3 รูปแบบ ได้แก่  A1/A1, A1/A2 และ A1/A3

     โอกาสที่เกิดขึ้น =            P1P1 + 2P1P2 + 2P1P3

                        Likelihood ratio (LR)         =          H1/H0

                                                             =          1/( P1P1 + 2P1P2 + 2P1P3)

ตัวอย่าง ให้หาค่า LR ในกรณีต่อไปนี้

Victim

Suspect

Sample

Unknown

LR

A1A1

A1A1

A1A1

A1A1

1/(P1P1)

A1A2

A1A2

A1A2

A1A1

A1A2

A2A2

1/(P1P1 + 2P1P2 +P2P2)

A1A1

A1A2

A1A2

A1A2

A2A2

1/(2P1P2 + P2P2)

A1A2

A1A1

A1A2

A1A1

A1A2

A2A2

1/(P1P1 + 2P1P2 +P2P2)

A1A1

A2A2

A1A2

A1A2

A2A2

1/(2P1P2 + P2P2)

หมายเหตุ ในช่อง Unknown ให้พิจารณาว่าหากตัด Suspect ออก แล้วเอา Victim ไปรวมกับดีเอ็นเอรูปแบบไหนบ้างที่ยังให้ผลเหมือนเดิม

     2.      กรณี Suspect และ Unknown

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 4 อัลลีล  : มาจากการผสมของ 2 คน

Suspect

Sample

A1

A1

A2

A2

 

A3

 

A4

ตั้งสมมติฐาน

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect (A1/A2) และ คนอื่น (A3/A4)

(บังคับว่าต้องเป็น A3/A4 รูปแบบเดียว เพราะ suspect เป็น A1A2 แล้ว ต้องไปรวมกับ unknown ที่เป็น A3/A4 เท่านั้นจึงจะได้รูปแบบดีเอ็นเอออกมา 4 แถบเหมือนในตัวอย่างตรวจ)

      โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P3P4

H0 : DNA ในตัวอย่าง เป็นของ unknown 2 คน ซึ่งเป็นไปได้หลากหลายรูปแบบที่นำมารวมกันแล้วได้ดีเอ็นเอผสมเป็น 4 แถบ (A1/A2/A3/A4) เหมือนในตัวอย่างตรวจ

            กรณีนี้ไม่มี Victim ให้พิจารณาว่ามีดีเอ็นเอรูปแบบใดบ้างจาก 2 คน ที่ผสมกันแล้วให้รูปแบบออกมาเหมือนกับในตัวอย่างตรวจ ในที่นี้ได้แก่รูปแบบการผสมดังตารางข้างล่าง

Unknown1

Unknown2

Probability

A1A2

A3A4

2P1P2 x 2P3P4

A1A3

A2A4

2P1P3 x 2P2P4

A1A4

A2A3

2P1P4 x 2P2P3

A2A3

A1A4

2P2P3 x 2P1P4

A2A4

A1A3

2P2P4 x 2P1P3

A3A4

A1A2

2P3P4 x 2P1P2

 

 

24P1P2P3P4

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 24P1P2P3P4

                        Likelihood ratio (LR)         =          H1/H0

                                                             =          2P3P4/(24P1P2P3P4)

                                                             =          1/(12P1P2)

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 3 อัลลีล  : มาจากการผสมของ 2 คน

Suspect

Sample

A1

A1

A2

A2

 

A3

ตั้งสมมติฐาน

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect (A1/A2) และ คนอื่น ซึ่งอาจเป็นไปได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ A1A3  A2/A3 และ A3/A3

(ให้พิจารณาว่าเอา Suspect (A1/A2) ไปรวมกับดีเอ็นเอรูปแบบไหนบ้างที่ยังให้รูปแบบดีเอ็นเอเป็น 3 แถบ (A1/A2/A3) เหมือนในตัวอย่างตรวจ)

      โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P1P3 + 2P2P3 + P3P3

 

H0 : DNA ในตัวอย่าง เป็นของ unknown 2 คน ซึ่งเป็นไปได้หลากหลายรูปแบบที่นำมารวมกันแล้วได้ดีเอ็นเอผสมเป็น 3 แถบ (A1/A2/A3) เหมือนในตัวอย่างตรวจ

Unknown1

Unknown2

Probability

A1A2

A1A3

2P1P2 x 2P1P3

A1A2

A2A3

2P1P2 x 2P2P3

A1A2

A3A3

2P1P2 x P3P3

A1A3

A1A2

2P1P3 x 2P1P2

A1A3

A2A3

2P1P3 x 2P2P3

A1A3

A2A2

2P1P3 x P2P2

A2A3

A1A2

2P2P3 x 2P1P2

A2A3

A1A1

2P2P3 x P1P1

A2A3

A1A3

2P2P3 x 2P1P3

A1A1

A2A3

P1P1 x 2P2P3

A2A2

A1A3

P2P2 x 2P1P3

A3A3

A1A2

P3P3 x 2P1P2

 

 

12P1P2P3(P1+P2+P3)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 12P1P2P3(P1+P2+P3)

          Likelihood ratio (LR)          =          H1/H0

                                                =      (2P1P3 + 2P2P3 + P3P3)/( 12P1P2P3(P1+P2+P3))

                                                =          (2P1+2P2+P3)/(12P1P2(P1+P2+P3))

            ตัวอย่าง ให้คำนวณหาค่า LR จากตัวอย่างที่เก็บได้จากที่เกิดเหตุ เป็นดีเอ็นเอผสมของผู้ต้องสงสัยกับ unknown ดังนี้

Suspect

Sample

 

A1

A2

A2

 

A3

ตั้งสมมติฐาน

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect (A2/A2) และ คนอื่น ซึ่งอาจเป็นไปได้เพียงรูปแบบเดียว คือ  A1A3 

(ให้พิจารณาว่าเอา Suspect (A2/A2) ไปรวมกับดีเอ็นเอรูปแบบไหนบ้างที่ให้รูปแบบดีเอ็นเอเป็น 3 แถบ (A1/A2/A3) เหมือนในตัวอย่างตรวจ)

      โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P1P3

 

H0 : DNA ในตัวอย่าง เป็นของ unknown 2 คน ซึ่งเป็นไปได้หลากหลายรูปแบบที่นำมารวมกันแล้วได้ดีเอ็นเอผสมเป็น 3 แถบ (A1/A2/A3) เหมือนในตัวอย่างตรวจ ดังแสดงในตารางดีเอ็นเอผสม 3 แถบ ข้างต้น

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 12P1P2P3(P1+P2+P3)

          Likelihood ratio (LR)          =          H1/H0

                                                =          (2P1P3)/( 12P1P2P3(P1+P2+P3))

                                                =          1/(6P2.(P1+P2+P3))

     3.      กรณี Two suspects

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 4 อัลลีล  : มาจากการผสมของ 2 คน

Suspect1

Suspect2

Sample

A1

 

A1

A2

 

A2

 

A3

A3

 

A4

A4

 

ตั้งสมมติฐาน กรณี two suspects

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect1 (A1/A2) ร่วมกับ Suspect2 (A3/A4)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 1

H01: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect1 (A1/A2) ร่วมกับ Unknown (A3/A4)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P3P4

H02: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect2 (A3/A4) ร่วมกับ Unknown (A1/A2)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P1P2

H03: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Unknown 2 คน ผสมกันแล้วทำให้เกิดแถบดีเอ็นเอผสม 4 แถบ (ดูจากตารางข้างบน รูปแบบดีเอ็นเอผสมจาก 2 คนที่ทำให้เกิดรูปแบบดีเอ็นเอผสม 4 แถบ

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 24P1P2P3P4

Posterior Prob             =          โอกาสที่จะเกิดขึ้น / โอกาสทั้งหมด

                                 =          1/(1+2P3P4+2P1P2+24P1P2P3P4)

กรณีนี้ เนื่องจากสามารถตั้งสมมติฐานได้หลายอย่าง ขึ้นกับคำถามว่าต้องการเปรียบเทียบระหว่างใคร เทียบกับใคร เช่น

เทียบ H1 กับ H01 หมายถึง เป็นดีเอ็นผสมของ suspect ทั้งสองคน เทียบกับเป็นของ suspect1 กับบุคคลอื่นอีก 1 คน

เทียบ H01 กับ H03 หมายถึง เป็นดีเอ็นเอผสมของ suspect  1 กับบุคคลอื่นอีก 1 คน เทียบกับเป็นของบุคคลทั่วไป 2 คน

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้เป็นตารางค่า LR ในกรณี two suspects ของตัวอย่างนี้ได้ดังนี้

 

H1

H01

H02

H01

1/(2P3P4)

 

 

H02

1/(2P1P2)

P3P4/P1P2

 

H03

1/(24P1P2P3P4)

1/12P1P2

1/12P3P4

      

      4.      กรณี Victim และ/หรือ Suspect

กรณีที่เป็นดีเอ็นเอผสม มี 4 อัลลีล  : มาจากการผสมของ 2 คน

เช่น คราบที่เปื้อนบนผ้าปูที่นอน ตรวจได้เป็นดีเอ็นเอผสมของ Victim กับผู้ต้องสงสัย

Victim

Suspect

Sample

A1

 

A1

A2

 

A2

 

A3

A3

 

A4

A4

 

ตั้งสมมติฐาน กรณี two suspects

H1: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A1/A2) ร่วมกับ Suspect (A3/A4)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 1

H01: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Victim (A1/A2) ร่วมกับ unknown (A3/A4)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P3P4

H02: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Suspect (A3/A4) ร่วมกับ unknown (A1/A2)

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 2P1P2

H03: DNA ในตัวอย่าง เป็นของ Unknown 2 คน ผสมกันแล้วทำให้เกิดแถบดีเอ็นเอผสม 4 แถบ (ดูจากตารางข้างบน รูปแบบดีเอ็นเอผสมจาก 2 คนที่ทำให้เกิดรูปแบบดีเอ็นเอผสม 4 แถบ

     โอกาสที่เกิดขึ้น = 24P1P2P3P4

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้เป็นตารางค่า LR ในกรณี two suspects ของตัวอย่างนี้ได้ดังนี้

 

H1

H01

H02

H01

1/(2P3P4)

 

 

H02

1/(2P1P2)

P3P4/P1P2

 

H03

1/(24P1P2P3P4)

1/12P1P2

1/12P3P4

 

ทั้งนี้ การคำนวณหาค่า LR ขึ้นกับคำถามว่าสงสัยประเด็นใด หรือต้องการเปรียบเทียบระหว่างกรณีใด

 

 

บันทึกโดย.........สุคนธ์   ประดุจกาญจนา    วันที่ 16 กันยายน 2554

หมายเลขบันทึก: 499389เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท