lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

การฝึกงานอาทิตย์แรก


"จิตเภท" หรือ "Schizophrenia"

ตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมาเป็นการเริ่มต้นฝึกงานทางจิตเวชครั้งแรกของข้าพเจ้า มีความรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะทราบมาว่าการฝึกงานทางจิตต่างจากการฝึกในโรงพยาบาลทั่วไป อีกทั้งเมื่อพูดขึ้นมาว่าผู้ป่วยทางจิตเป็นใคร ใครก็รู้สึกกลัวไปครึ่งหนึ่งแล้ว

วันแรกของการฝึกงานตั้งใจเพื่อเข้ามาเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ถึงแม้ว่าตนเองจะมีแนวทางที่มุ่งเป้าในการทำงานแล้ว แต่ก็ไม่คิดจะปิดใจที่จะเรียนรู้ในผู้ป่วยจิตเวช การฝึกงานที่ผ่านมาข้าพเจ้ามีโอกาสได้เรียนรู้บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น "จิตเภท" หรือ "Schizophrenia"

โรคจิตเภทนั้นเป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางความคิด ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ กลุ่มที่มีอาการทางบวก กับกลุ่มที่มีอาการทางลบ 

ในกลุ่มอาการทางบวกนั้นจะพบอาการดังนี้

อาการที่มีเพิ่มมากกว่าคนปกติทั่วไป ได้แก่

- ประสาทหลอน เช่น ได้ยินเสียงคนพูดคุย ได้ยินเสียงคนพูดตำหนิ พูดโต้ตอบเสียงนั้นเพียงคนเดียว
- อาการหลงผิด เช่นคิดว่ามีเทพวิญญาณอยู่ในร่างกาย คอยบอกให้ทำสิ่งต่างๆ
- ความคิดผิดปกติ เช่นพูดไม่เป็นเรื่องเป็นราว พูดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องพูด
  โดยไม่มีเหตุผล
- พฤติกรรมผิดปกติ เช่นอยู่ในท่าแปลกๆ หัวเราะหรือร้องไห้ สลับกันเป็นพักๆ

ในกลุ่มอาการทางลบนั้นจะพบอาการดังนี้

อาการที่ขาดหรือบกพร่องไปจากคนปกติทั่วๆไป ได้แก่
- สีหน้าอารมณ์ฌฉยเมย ชีวิตไม่มีจุดหมาย ไม่มีสัมพันธภาพกับใคร ไม่พูด 
  ไม่มีอาการยินดียินร้าย

     ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น บกพร่องความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่น การดูแลตนเอง ความสามารถในการรับรู้ความเข้าใจต่อตนเองและผู้อื่น

     ในขณะที่ข้าพเจ้าสัมภาษณ์หรือพูดคุยในขณะทำกิจกรรมนั้นจะสังเกตเห็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา เช่น

- ผู้ป่วยมักพูดสับสนในการสนทนา บางรายตอบไม่ตรงคำถาม หรือไม่เข้าใจคำถามง่ายๆ บางรายพูดมาก แต่ไม่เข้าประเด็น

- ผู้ป่วยบางรายแยกตัวออกจากสังคม ไม่สนทนากับใครก่อน ไม่สามารถเริ่มต้นการมีปฏิสัมพันธ์ หรือสานต่อปฏิสัมพันธ์ได้

- ไม่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต หรือเป้าหมายในอนาคต ชอบอยู่เฉยๆ ไม่ชอบทำกิจกรรมอะไรเลย

- ไม่สามารถบอกความต้องการ หรือ ความสนใจ หรือความชอบของตนเองได้ หรือบอกได้แต่ไม่สามารถบอกเหตุผลส่วนบุคคลได้ อธิบายไม่ได้

- บางรายมักเคลื่อนไหวตัวตลอดเวลา เช่น นั่งโยกตัว , ตาหลุกหลิก, ก้มเงยศีรษะ , อมน้ำลายตนเอง

 

ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียนรู้เพื่อไปทำประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก 

1. หน่วยงานสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน รพ.ศรีธัญญา ติวานนท์ นนทบุรี
2. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

คำสำคัญ (Tags): #schizophrenia#จิตเภท
หมายเลขบันทึก: 499150เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท