วัคซีน (Vaccine)


Vaccine is a biological preparation that improves immunity to a particular disease.

ประวัติศาสตร์การพัฒนาวัคซีนของโลก

               มนุษย์เริมรู้จักการสร้างภูมีต้านทานมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เช่น กษัตริย์มิธริดาทีแห่งปอนทุส ป้องกันตนเองจากการถูกวางยาพิษด้วยการดื่มเลยที่เคยได้รับพิษในปริมาณน้อยๆมากก่อน หรือกว่า 2000 ปีที่ชาวจีนโบราณรู้จักการป้องกันไข้ทรพิษ โดยนำเข็มสะกิดตุ่มหนองของผู้ป่วย แล้วไปสะกิดผิวหนังของผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ การกระทำเช่นนี้เรียกว่า Variolation ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ทางการแพทย์สมัยปัจจุบัน กล่าวคือหากโรคใดถ้าเราสามารถเปลี่ยนวิธีการติดโรคใหม่ (mode of infection) ให้ผิดแปลกไปจากการติดโรคตามธรรมชาติ โรคที่เกิดมักจะมีระยะฟักตัวที่สั้น อาการ และดำเนินโรคมักจะอ่อนกว่าโรคที่เกิดเองตามธรรมชาติ และความรู้นี้ได้แพร่หลายออกไป

               ในปัจจุบัน โรคที่ใช้วัคซีนป้องกันมีหลักๆ 12 โรค ได้แก่ ไข้ทรพิษ คอตีบ บาดทะยัก ไข้เหลือง ไอกรน หัด คางทูม หัดเยอรมัน ไข้ไทฟอยด์ (ไข้รากสาดน้อย) โปลิโอ พิษสุนัขบ้า และโรคติดเชื้อจาก Haemophilus influenzae type b

การพัฒนาวัคซีนในช่วงแรก   

               ในปี พ.ศ.2239 Edward Jenner พบว่าคนเลี้ยงวัวเมื่อติดโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษจากสัตว์แล้วจะไม่เป็นไข้ทรพิษอีก เขาจึงนำเอาหนองจากวัวไปสะกิดผิวหนังคนปกติ และเรียกหนองฝีวัวนั้นว่า Vaccine ที่มาจากคำว่า Vacca ที่แปลวัว ซึ่งต่อมาการปลูกฝีก็ได้เอาหนองฝีจากคนที่ปลูกฝีขึ้นไปปลูกให้ผู้อื่นต่อ แต่มีผลเสียเนื่องไม่มีวิธีการเก็บเชื้อไม่ให้เสื่อมคุณภาพ ทำให้เชื้อฝีดาษเป็นพันธุ์ที่คุ้นเคยกับคน ต่อมา Louis Plasteur ค้นพบวิธีการทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ และ Joseph Lister เป็นบุคคลแรกที่นำ Antiseptic มาใช้ซึ่งนำไปสู่การผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย ทำให้มีการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายของโรคหลายชนิดในเวลาต่อมา เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ไข้ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค กาฬโรคและวัณโรค

ภาพที่ 1 Edward Jenner.(The Johns Hopkins University, Baltimore, MD.)

               เป้าหมายสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการพัฒนาวัคซีนในช่วงต้นคือ การป้องกันโรคคอตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เชื้อเป็นพิษสูง ทำให้เกิดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางลัดและการทำลายพิษของ toxin โดยใช้ formalin กลายเป็น toxoid ที่ใช้ป้องกันทั้งโรคคอตีบและบาดทะยักอย่างมีประสิทธิภาพ

                เมื่อปีพ.ศ. 2474 Ernest William Goodpasture ศาสตราจารย์พยาธิวิทยาที่มหาวิทยาลัยแวนเตอร์บิลท์ พบว่าไข่ไก่ฟักเอาไว้ระยะเวลาต่างๆกันนั้นอาจนำมาใช้เป็นเซลล์ที่จะเลี้ยงเชื้อไวรัสได้หลายชนิด และปี พ.ศ. 2493 Frank Macfarlane Burnet แห่งนครเมลเบอร์น ได้ดัดแปลงวิธีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “Chick embryo technique” โดยมีข้อที่ดีคือ ไข่ไก่ฟักหาง่าย ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ราคาถูกและไม่มีเชื้อโรคอื่นแฝงอยู่ ทำให้เกิดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง คางทูม และไข้รากสาดใหญ่

 การพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 ความรุดหน้าจากการใช้เซลล์เพาะ

                เหตุการณ์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งก็คือ ในปี พ.ศ. 2483 การที่ John Franklin Enders และคณะในสหรัฐอเมริกา ได้เพาะเลี้ยงไวรัสได้เป็นผลสำเร็จในเซลล์เพาะ (Cell culture) โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสโปลิโอในเซลล์เนื้อไตลิงที่เพาะไว้ในหลอดทดลอง เป็นการใช้เซลล์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่เซลล์ประสาทมาเลี้ยงไวรัสโปลิโอ เป็นแนวทางนำไปสู่การผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่สำคัญ

 

 ภาพที่ 2 John Franklin Enders

                การใช้เซลล์เพาะทำให้ประสบความสำเร็จในการแยกเชื้อไวรัสหลายชนิดในเวลาต่อมา เช่น ไวรัสหัด (2493), Adenovirus (2496), ไวรัสหัดเยอรมัน (2505), ไวรัสโรต้า (2516)

 การพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 3 วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ

ได้แก่ วัคซีนจากโปรตีนและจากโพลีแซคคาไรด์ ของแบคทีเรีย วัคซีนรีคอมบิแนนท์ที่พัฒนาโดยกรรมวิธีพันธุวิศวกรรม อาทิเช่น

                - วัคซีนป้องกันโรคไอกรน ที่ใช้เฉพาะส่วนที่เป็นแอนติเจนที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรคได้รับการจดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2524 แล้ว ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศได้ใช้วัคซีนชนิดนี้แทนชนิดเดิม
                -  ระหว่างปี พ.ศ. 2513-2523 ได้มีการพัฒนาวัคซีนจาก Polypeptide สำหรับการป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียอันได้แก่ เชื้อมินนิงโกคอคคัส นิวโมคอคคัส และฮิบ และเพื่อให้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นจึงใช้กรรมวิธีรวมหรือคอนจูเกต Prepeptide เข้ากับโปรตีนหลายชนิด เช่น Tetanus toxoid เป็นต้น

                และปี พ.ศ. 2520 มีแนวคิดที่จะรวมวัคซีนชนิดต่างๆไว้ในเข็มเดียวกันเพื่อความสะดวก เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-โปลิโอ(ชนิดฉีด), คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบเอ, คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-HIV-โปลิโอ เป็นต้น

บรรณานุกรม

_______. มปป. วัคซีนและซีรั่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย.

_______. ตำราวิทยาวัคซีนว่าด้วยวัคซีนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ประเสริฐ ทองเจริญ. 2519. ประวัติการคิดค้นวัคซีน.ใน: ประเสริฐ ทองเจริญ, บรรณาธิการ. วัคซีนและซีรั่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย.

ประเสริฐ ทองเจริญ. 2528. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากอดีตจนถึงปัจจุบัน.ใน: ประเสริฐ ทองเจริญ,

ประเสริฐ ทองเจริญ. 2546. มหันตภัยอาวุธชีวภาพและอาวุธเคมี. กรุงเทพฯ: บจก. วิทยพัฒน์

ประวรรณ สุนทรสมัย. 2546. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัคซีน. ใน: พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร,

พรรณพิศ สุวรรณกูล และคณะ. 2547. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในประเทศไทย: ปัจจุบันสู่อนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก. บี.บี.การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์.

วีระชัย วัฒนวีรเดช และคณะ. 2555. คู่มือวัคซีน 2012-2013 และปัญหาที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.

วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ และคณะ. 2548. วัคซีนและโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน ChangeFusion. 2549, 30 มิถุนายน. ประวัติศาสตร์วัคซีนที่สำคัญที่สำเร็จแล้ว. เข้าถึงได้จาก :http://www.doctor.or.th/clinic/detail/8261 (วันที่ค้นข้อมูล : 13 สิงหาคม 2555)

อุษา ทิสยากร. 2553. คุณค่าของวัคซีน.ใน : ชุษณา สวนกระต่าย, กมลวรรณ จุติวรกุล, บรรณาธิการ.

โอฬาร พรหมาลิขิต และคณะ. 2554. วัคซีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บจก. นพชัยการพิมพ์

_______. Leadership in Medicine 2010. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Stanley A. Plotkin, MD, Walter A. Orenstein, MD and Paul A. Offit, MD, Vaccines 5th edition, Saunders, An Imprint of Elsevier, 2008

คณะผู้จัดทำ

553070017-2 นศ.พ. ชนวิทู แผ่ไพลิน

553070049-9 นศ.พ. ปิติพงศ์ คงทวีศักดิ์

553070087-1 นศ.พ. นภัส ศรีฟ้า

553070020-3 นศ.พ. ชวลี ศรีหาญ

553070051-2 นศ.พ. ปิยะพร บ่อคำเกิด

553070077-4 นศ.พ. สิรภัทร ธนทรัพย์อำไพ

553070117-8 นศ.พ .ชยามรรค เสรีบวรธนศักดิ์

553070190-8 นศ.พ. รัตนาภา เกษรสมบัติ

553070177-0 นศ.พ. พิชามญชุ์ ตันสกุล

553070226-3 นศ.พ. อิสริยา เหมธุวนนท์

553070129-1 นศ.พ. ณัฐภัทร อุทัยวัฒนานนท์

553070170-4 นศ.พ. พรรณประกาย วิไธสง

553070109-7 นศ.พ. จักรเพชร อันทะเกต

553070213-2 นศ.พ. สุริยะ ชราศรี

553070120-9 นศ.พ. ฐิติพงศ์ ชัยเกษมสกุล

553070224-7 นศ.พ. อักษราภัค บรรจงปรุ

553070220-5 นศ.พ. อภินัทธ์ หาแก้ว

553070257-2 นศ.พ. ปัณณ์พัฒน์ เจริญจิรนาถ

553070231-0 นศ.พ. ต้องบุญ สถิตย์วัฒนวงศ์

553070242-5 นศ.พ. ปฏิภาณ ตรัสขจรมงคล

หมายเลขบันทึก: 499149เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ

วัคซีนมีที่มาอย่างนี้นี่เอง

กินยาพิษทีละน้อยๆ -[]- จุดกำเนิดของวัคซีน!

วัคซีนมีส่วนสำคัญในวงการแพทย์ ถ้าขาดวิ่งเหล่านี้ไปคงเกิดโรคระบาด และหาทางรักษาได้ยาก โชคดีจริงๆที่เรามีนักวิทยาศาสตร์เก่งๆหลายท่านมาช่วยแก้ปัญหา : D

ขอบคุณมากค่ะ ได้รู้ประวัติของบุคคลที่ทำประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์ ;D

กว่าจะเป็นวัคซีน นี่ต้องพยายามกันมากเลยทีเดียว สุดยอด

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ โชคดีจริงๆที่มีคนคิดค้นวัคซีนขึ้นมา ทำให้ทุกวันนี้โรคอะไรๆก็รักษาได้ง่ายขึ้น

ที่มาของวัคซีนนี่สุดยอดอะ

โอ้โห สุดยอด ลึกซึ้ง เป็นมาอย่างนี้นี่เอง

ขอบคุณผู้คิดค้นวัคซีนให้เราจริงๆ และคนทำให้ทราบข้อมูลดีแบบนี้ด้วย ดูจากแหล่งข้อมูลแล้ว ทุ่มเทมากค่ะ

ขอบคุณนะคะที่คิดสิ่งดีๆไว้ให้พวกเรา

ขอบคุนมากนะ กำััลังสงสัยเรื่องนี้อยุพอดีเลย

การฉีดวัคซีนถือว่าเป็นวิธีการป้องกันโรคได้ดีเลย :)

ถ้าไม่มีวัคซีน ลำบากแย่เลย ^^

อ่านแล้ว น่า ไปฉีดวัคซีนจิงๆ

วัคซีนนี่สำคัญมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท