บทเพลงพื้นบ้านกล่อมเด็กของย่า


บทเพลงพื้นบ้านกล่อมเด็กของย่า

บทเพลงพื้นบ้านกล่อมเด็กของย่า

(ภาษาถิ่นเจ๊ะเห)

กือแ้ฉ้ง กือแฉ้ง

คางคาวป๊ากแหว่ง

อุ้มโล๋กไป๋ดู๋

ซือดุดขี้หมูล่อมลงป๋ากแต๊ก

ซือดุดหญ้าแพรกแตกเสียทำเนาไม่ใช่การเราการพ่อกือเพรา

 คำแปล

กือแ้ฉ้ง หมายถึง คงเป็นคำสร้อย

คางคาว หมายถึง ค้าวคาว

ป๊ากแหว่ง หมายถีง ปากแหว่ง คงสร้างเรื่องว่าเป็นอุบัติเหตุ

โล๋ก หมายถึง ลูก

ไป๋ดู๋ หมายถีง ไปดู

ซือดุด หมาบถึง สะดุด แสดงว่า จณะนั้นคงเลี้ยงสัตว์แบบไม่ใช้คอดปล่อยให้เกินทั่วไป จึงมีมูลสัตว์เรี่ยราด

ล่อมลง หมายถึง ล้มลง

ป๋ากแต๊ก หมายถึง ปากแตก

ไม่ใช่การเรา หมายถีง ไม่ใช่เรื่องของเรา

คติสอนใจ

เรื่องของคนอื่นที่เป็นส่วนตัว เราไม่ควรเข้าไปยุางเพราะมีแต่จะเจ็บตัว

(สรุปโดยผู้เขียนเองค่ะ)

ย่า...จะร้องเพลงนี้ให้หลานๆฟังช่องเย็น ตอนที่พ่อแม่กำลังยุ่งในการเตรียมข้าวปลาอาหาร เพื่อช่วยลูกให้สามารถทำงานอื่นๆได้ โดยย่าจะเป็นฝ่ายดูแลหลานเอง

...พร้อมกับชี้ชวนให้หลานๆเงยหน้ามองขึ้นไปบนฟ้า ดูนก และค้างคาวที่กำลังบินกลับร้งเป็นฝูงๆ..

..ภูมิปัญญาไทยในช่วงหัวคำ่ที่ไม่มี โทรทัศน์ดู แต่มีธรรมชาติและความรักของบุพการี..เติมเต็ม..

เสียงร้องเพลงกล่อมเด็กของย่า ได้รับการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยทักษิณ และวันนี้เสียงของย่ายังปรากฎอยู่ที่สถาบันคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 498600เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เข้าใจว่าอยู่ที่เกาะยอใช่ไหมครับ
  • ตอนอยู่ใต้มีเพื่อนพูดภาษาเจ๊เหได้หลายคน

สวัสดีอาจารย์ เจ๊ะเห เคยไปเยือนมาสองสามครั้ง ไปนั่งแต่งกลอนสมัยหนุ่มๆ ไปนอนพรุโต๊ะแดง

บันทึกอาจารย์ ทำให้"พรวนความคิด"ถึงอดีต เอาเพลงพื้นบ้าน สำนวนพัทลุงมาฝาก

09 สิงหาคม 2555 18:12

2681349

อ่าเอ้อไกเถือนเหอ ขันเล่นเดือนเย่*

เดือนสิบเส* บอกแม่มาให้ ผัวไปไหน ผัวไปทำงาน

ไม่ให้เราโร้* ไม่ให้เราเห็น เช้าเช้าเย็นเย็น ขอหมากสักคำ

ขอพลูสักใบ ไปสงเจ้าเย่ เจ้าเย่เหอ มาเขหัวช้าง

นกบินหล้าง เกาะช้างเกาะผี นกอินทรีย์ เข้าอยู่ใต้ห้อง

พี่เรียกน้อง อี้หวักอี้แหวง นุ่งผ้าชายพก เก็บตกชายแพง

มาแยงทอหูก ทอหูกเหอมาอยู่ใต้ทะ พี่ร้องว่าน้ำผึ้งกับกล้วย

ส่งไปด้วยเหอส่งไปจักคัก ชักให้นั่งตักชักให้น่งนอน

อี้หลอนชุมโพ่ชุมโพ่พาหนี ผักเสี้ยนผีชักลงทั้งช่อ

ผีเคาะเหลาะ*ผีเข้ายอดม่วง ผีข้าหลวงหักคอเชาะไป

ยืมไซร*ยืมไซรตัดผม ไซรไม่คมด่าแม่ช่างเหล็ก

ช่างเหล็กเหอยืมไซรน้องมา แม่เซ่อ*ตุกตาให้น้องเราเล่น

แม่เซ่อ*ยายเต้นให้น้องเปาไป แม่เซ่อยายใจให้น้องใยตุกตา

ตุกตาเหอมาแล่นโหยงหยางเข้าปาหญ้าคาแล้วเหว้ย....เนื้อความอาจเพี้ยนไปบ้างบางประโยคผู้เขียนก็ยังหาความหมายไม่ได้ ( นำมาเสนอด้วยจิตรคาระยาย)

*เดืนเย่ = เดือนยี่คือเดืนทีสอง

*เดือนสิบเส = เดือนสิบสี่(ไม่ทราบเดือน)

ไม่ให้เราโร้ =ไม่ให้เรารู้ *มาเขหัวช้าง = มาขี่หัวช้าง

*ผีเคาะเหลาะ = ผีตีเกราะ

*ยืมไซร = ยืมกรรไกร

แม่เซ่อ =แม่สื่อ ลบ

เรียนอาจารย์วอญ่า-ผู้เฒ่าและอาจารยืขจิต ฝอยทอง สถาบันทักษิณคดีศึกษาอยู่ที่เกาะยอ จ สงจลาค่ะ

เห็นวิธีโพสต์ของอาจารย์ทำให้ได้แล้วทำให้ได้แนวทางหลายอย่าง ขออนุยาตโพสต์เพิ่มค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท